เปิดสูตรธุรกิจแซ่บ! ปั้นแบรนด์น้ำพริกให้ปัง ทำเงินได้

Text : Wattar




Main Idea
 
  • ยุคสมัยเปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมคนที่เคยตำน้ำพริกกินกันเองในบ้าน เริ่มหาซื้อจากซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อมากขึ้น จนปัจจุบันมีน้ำพริกบรรจุขวดให้เลือกซื้อเลือกกินหลากหลายแบรนด์ 
 
  • หากมีสูตรเด็ดน้ำพริกประจำบ้านอยากจะทำน้ำพริกวางขายในท้องตลาดบ้างก็ทำได้เหมือนกัน โดยเริ่มต้นได้จากห้องครัวได้บ้านนั่นเอง



     เมื่อก่อนเวลาเราจะกินน้ำพริกกันสักทีถ้าหากไม่ตำเองในบ้าน ก็คงต้องไปซื้อที่ตลาดสดเพราะติดใจรสมือแม่ค้าเจ้าประจำ แต่ตอนนี้เราสามารถหาซื้อน้ำพริกได้ง่ายกว่านั้น เพราะเพียงไปซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อใกล้บ้านก็มีหลายแบรนด์ให้เลือกลิ้ม จนเกิดเป็นคำถามว่า น้ำพริกบรรจุขวดนั้นทำได้ง่ายขนาดนั้นเลยหรือ?
แล้วถ้าหากมีสูตรเด็ดน้ำพริกประจำบ้านอยากจะแบ่งปันรสชาติทำออกขายกับเขาบ้างจะเป็นไปได้หรือไม่ ต้องเริ่มต้นอย่างไร วันนี้เรามีคำตอบให้
 




     ปรับสูตรเด็ดก้นครัวให้กลายเป็นรสชาติมาตรฐาน
               

     น้ำพริกเป็นเมนูคู่ครัวคนไทยมาทุกยุคสมัย แต่ละบ้านก็จะมีรสชาติเฉพาะตัว แม้จะมีสูตรน้ำพริกอยู่ในมือ ทำให้ใครทานก็ติดใจ แต่หากจะทำขายจริงๆ กลับเป็นเรื่องที่ต่างออกไป เพราะมักไม่มีสูตรชัดเจน ใช้เวลากะปริมาณหรือปรับรสชาติไประหว่างทำ และไม่เคยรู้เลยว่าจะเก็บน้ำพริกถ้วยนั้นให้กินได้นานๆ ได้อย่างไร ในการทำน้ำพริกเพื่อการจำหน่าย จึงต้องมีสูตรการผลิตที่มีมาตรฐาน ทั้งในแง่ปริมาณ และขั้นตอนกระบวนการทำ และอาจลองดัดแปลงเป็นสูตรใหม่ๆ ออกมาทดลองตลาดเพื่อเพิ่มความแปลกใหม่และเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจด้วยก็ได้


     เมื่อได้รสชาติที่คงที่แล้ว น้ำพริกที่สำเร็จรูปที่รับประทานได้ทันที อยู่ในกลุ่มที่ต้องมีเครื่องหมาย อย. ผู้ประกอบการจึงต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด การรับเลขสารบบอาหาร (หรือเลข อย.) แล้วยื่นคำขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารโดยยื่นใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียดอาหาร รวมถึงขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายหรือ GMP นอกจากนี้หากต้องการขยายตลาดไปยังต่างประเทศต้องขอ CODEX ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สามารถส่งออกได้อีกด้วย
               

     หรือมีอีกทางลัดหนึ่งคือจ้างโรงงานที่มีมาตรฐานเหล่านี้อยู่แล้วช่วยผลิตภายใต้แบรนด์ของเราก็ได้ โดยแยกเป็น 2 รูปแบบ คือ ใช้สูตรที่โรงงานมีอยู่แล้ว กับร่วมมือกับโรงงานคิดค้นสูตรเฉพาะของแบรนด์ แต่หากใช้วิธีนี้อย่าลืมไปจดทะเบียนสูตรด้วยตัวเอง อย่าปล่อยให้โรงงานเอาสูตรของเราไปจดทะเบียนเสียก่อน
 




     แสวงหาวัตถุดิบคุณภาพ
               

     น้ำพริกเป็นอาหารท้องถิ่นของไทย ดังนั้นวัตถุดิบจึงหาได้ง่าย นอกเหนือไปจากการหาซื้อวัตถุดิบในท้องตลาดแล้ว อาจทำสัญญารับซื้อจากเกษตรกรเพื่อป้องกันการขาดตลาดเมื่อธุรกิจขยายจนไม่เพียงพอต่อการผลิตก็เป็นได้ ยังมีอีกตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้ผู้ประกอบการหาซื้อของสดได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนเมื่อต้องซื้อเป็นจำนวนมาก นั่นก็คือซื้อจาก Freshket ตลาดสดออนไลน์สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ด้วยการจับคู่ซัพพลายเออร์กับร้านอาหารให้มาเจอกัน แล้วขนส่งวัตถุดิบจากสวนส่งตรงถึงหน้าบ้านผู้ประกอบการ โดยที่สามารถเลือกเวลาส่งของได้ตลอดทั้งวันตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 4 โมงเย็น
 




     ตำน้ำพริกขายได้ด้วยเงินหลักพัน
               

     การทำธุรกิจน้ำพริกแทบจะไม่ต้องลงทุนอุปกรณ์เพิ่มเติมนอกเหนือไปจากในครัวมากนัก เช่น ครก กระทะ ดังนั้น งบประมาณเบื้องต้นจึงอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 บาท  หลังจากนั้นต้นทุนส่วนใหญ่จึงอยู่ที่ค่าวัตถุดิบ ซึ่งอาจใช้เงินประมาณ 200-300 บาทต่อการทำน้ำพริก 1 กิโลกรัม


      ซึ่งโดยปกติธุรกิจขายน้ำพริกสามารถทำกำไรเฉลี่ยได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวหากใช้บรรจุภัณฑ์อย่างง่าย แต่ถ้าหากจะให้น้ำพริกของเราไปไกลกว่าแค่มีลูกค้าใกล้บ้าน ก็ต้องมีบรรจุภัณฑ์ที่แน่นหนากว่านั้น และไม่ลืมที่จะรักษาความสะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐาน ผ่านการผลิต บรรจุหีบห่อและการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าก่อนนำมาจำหน่าย โดยบรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดได้สนิทและสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ แต่เมื่อคำนึงถึงบรรจุภัณฑ์เพื่อทำให้สามารถเก็บไว้ได้นานขึ้นอาจต้องจ่ายแพงขึ้นตามไปด้วย บวกกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อผลประโยชน์ด้านการตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่ม
 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย