Main Idea
- ในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแทบจะตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากก็คือ การนำ “ระบบอัจฉริยะ” (Smart) เข้ามาเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ก้าวไปสู่ Smart Industry หรือ โรงงานอัจฉริยะ
- หนึ่งในประเทศต้นแบบที่ดีคือ ญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการนำระบบ IoT หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการดำเนินงานหลายๆ ประเภท มาทำความรู้จัก 4 ความอัจฉริยะแบบญี่ปุ่นที่จะยกระดับ SME ไทยให้ก้าวนำโลกกัน
การเปลี่ยนแปลงของโลกกำลังส่งมอบความท้าทายให้กับธุรกิจไทยในวันนี้ ซึ่งในช่วงเวลาที่อุตสาหกรรมกำลังมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาแทบจะตลอดเวลา สิ่งหนึ่งที่ถูกพูดถึงอย่างมากก็คือ การนำ “ระบบอัจฉริยะ” (Smart) เข้ามาเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้ก้าวไปสู่ Smart Industry หรือ โรงงานอัจฉริยะ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตที่มีความทันสมัย การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการทำงานให้สะดวก ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งในเรื่องของการประหยัดพลังงานและการใส่ใจสิ่งแวดล้อม โดยระบบสมาร์ทเหล่านี้นับเป็นสิ่งที่หลายๆ สถานประกอบการควรหันมาใช้และให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยสร้างทั้งภาพลักษณ์ การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้รับมือได้ทันกับบริบทโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง
หนึ่งในประเทศต้นแบบที่ดีคือ ญี่ปุ่น ซึ่งจะเห็นได้จากการนำระบบ IoT (Internet of Things) หุ่นยนต์ เทคโนโลยีเพื่อความปลอดภัย และระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการดำเนินงานหลายๆ ประเภท โดยระบบสมาร์ทต่างๆ ของญี่ปุ่นยังถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมของหลายๆ ประเทศ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรมในไทยด้วย ทั้งนี้จากความใส่ใจในกระบวนการดังกล่าว จึงทำให้วันนี้ประเทศญี่ปุ่นยังคงไว้ซึ่งสถานะความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมระดับแถวหน้าของโลกไว้ได้อย่างไร้ข้อกังขา
ทาดาชิ โยชิดะ ประธานสมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA กล่าวว่า Smart Industry จะไม่ใช่แนวคิดในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอีกต่อไป หากแต่จะเป็นพัฒนาการและการปฏิวัติรูปแบบโรงงานแบบใหม่ ที่หลายๆระบบจะต้องมีความเป็นอัจฉริยะ มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่ชาญฉลาด และมีเครื่องจักร หรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในการก้าวไปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะนั้น สถานประกอบการต่างๆ จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติของความเป็น “SMART” 4 ประเภท ได้แก่
-
Smart People
- Smart Technology & Innovation
โดยเป็นการนำระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ในทุกกระบวนการทางอุตสาหกรรม เพื่อให้ผลลัพธ์ในกระบวนการผลิตและการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุดและลดผลเสียให้น้อยลงที่สุด ซึ่งเทคโนโลยีที่มีความจำเป็นสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมในยุคใหม่คือ IoT (Internet of Things) เป็นการนำระบบอินเทอร์เน็ตมาเชื่อมโยงกับระบบต่างๆ ภายในสถานประกอบการ เพื่อให้การสั่งการทำงานง่าย รวดเร็ว และสามารถกระทำได้ในทุกที่ทุกเวลา ส่วนต่อมาคือ Big Data ซึ่งจะเป็นระบบที่วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อทำนายพฤติกรรม การเตือนภัย แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงช่วยในการตัดสินใจให้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามด้วย หุ่นยนต์ ซึ่งจะมีหน้าที่ในการทำงานทดแทนส่วนที่มนุษย์ไม่สามารถกระทำได้ เช่น การทำงานในพื้นที่หรือบรรยากาศที่มีความเสี่ยง การผลิตที่มีความต่อเนื่องหรือระยะเวลาที่ยาวนาน Blockchain ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ความลับของบริษัท การเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และสุดท้ายคือระบบ AI ซึ่งเป็นระบบที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์คุณภาพของสินค้า การคำนวณ การตรวจจับความผิดพลาดจากการดำเนินงาน เป็นต้น
- Smart Maintenance
ระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาด ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างวิศวกรรมการซ่อมบำรุงรักษา ระบบการบริหารจัดการการผลิต ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต Cloud Computing และ Big Data พร้อมนำข้อมูลสารสนเทศ ต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์และทำนายล่วงหน้าว่าเครื่องจักรหรือสายการผลิตใดมีแนวโน้มที่จะมีปัญหา โดยในการยกระดับ Smart Maintenance ดังกล่าว จะช่วยให้ทราบถึงข้อมูลสภาพการทำงานของเครื่องจักรและเหตุการณ์ผิดปกติที่เกิดขึ้น ทำให้ดำเนินการแก้ไขป้องกันปัญหาได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การมีระบบบำรุงรักษาอย่างชาญฉลาดยังช่วยให้โรงงานอุตสาหกรรมลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยยังถือว่ายังมีค่าใช้จ่ายในด้านนี้ปีละไม่ต่ำกว่าหลักแสนล้านบาท
- Smart Environment & Community
ซึ่งเป็นการจัดการบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการทำงาน เช่น พื้นที่ที่สามารถแลกเปลี่ยนแนวความคิดเพื่อการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เช่น นวัตกรรม เทคโนโลยีให้เกิดขึ้นในองค์กร รวมทั้งให้ความสำคัญในการบริหารจัดการ หรือมีโซลูชั่นที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีในการกำจัดมลพิษ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ นวัตกรรมการนำกลับมาใช้ใหม่ การกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมและกากขยะอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการอยู่อาศัยเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมกับชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างเติบโตและยั่งยืน
ที่มา : สมาคมบริหารจัดการประเทศญี่ปุ่น หรือ JMA ผู้จัดงาน Maintenance & Resilience Asia 2019 หรือ MRA 2019
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี