ถ้าไม่ใช้ 'พลาสติก' จะใช้อะไร? ส่องไอเดียบรรจุภัณฑ์ยุคใหม่ใส่ใจต่อโลก




Main Idea
 
 
  • ทั่วโลกกำลังประสบปัญหาขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ ออกมาตรการลดและยกเลิกการใช้พลาสติกลง ในขณะที่ภาคเอกชนก็ตื่นตัวและหันมาใส่ใจเรื่องนี้เช่นกัน เพราะเมื่อแบรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคก็เป็นมิตรกับแบรนด์มากขึ้นด้วย
 
  • พลาสติกชีวภาพหรือ BioPlastic กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ของโลก มีไอเดียและนวัตกรรมพลาสติกทดแทนมากมายที่หลายคนอาจคาดไม่ถึง ซึ่งนอกจากจะช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมได้แล้ว บางครั้งยังช่วยลดต้นทุนไปพร้อมกันด้วย
 



     รู้หรือไม่ว่า จนถึงวันนี้ประชากรบนโลกสร้างขยะพลาสติกมากถึง 8,300,000,000 ตัน หากจะบอกว่าพลาสติกล้นโลก ก็คงจะไม่ใช้เรื่องเกินจริงเลย แต่โชคดีที่ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชนต่างตระหนักในเรื่องนี้และร่วมกันมองหาทางแก้ปัญหา หรืออย่างน้อยก็สร้างทางเลือกที่จะช่วยลดการใช้พลาสติกลงได้
               

     ในปีนี้องค์กรและแบรนด์ต่างๆ ได้ประกาศยกเลิกการใช้พลาสติกแล้วหันมาใช้วัสดุชนิดใหม่ทดแทน โดยต้องมีคุณสมบัติไม่ต่างจากเดิม ในขณะเดียวกันก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะเมื่อแบรนด์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภคก็เป็นมิตรกับแบรนด์มากขึ้นด้วยเช่นกัน
               

     มาดูกันว่าในวันที่ต้องลดการใช้พลาสติก แล้วเราจะใช้อะไร?
 




Ooho หยดน้ำดื่มได้


     ปกติแล้วในงานวิ่งมาราธอนจะมีการแจกน้ำดื่มให้กับผู้เข้าแข่งขันได้ดื่มแก้กระหายระหว่างทาง คิดดูว่าแต่ละปีงาน London Marathon มีผู้เข้าร่วมหลายหมื่นคนต้องเตรียมน้ำดื่มเยอะแค่ไหน แต่การแข่งขันในปีนี้ผู้จัดงานคาดหวังจะลดขยะขวดพลาสติกจึงเปลี่ยนเป็นแจก ‘หยดน้ำดื่มได้’ แทน
               

     นวัตกรรมหยดน้ำกินได้นี้มีชื่อว่า Ooho เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถกินได้ทั้งชิ้น ผลิตโดยบริษัท Skipping Rock โดยใช้หลักการเดียวกับไข่แดงที่มีเยื่อบางๆ ห่อหุ้มของเหลวเอาไว้ โดยเยื่อดังกล่าวทำขึ้นจากสาหร่ายและแคลเซียมคลอไรด์ เมื่อกัดลงไปก็จะแตกในปาก น้ำที่บรรจุอยู่ภายในก็จะสะอาด ปลอดภัย ที่สำคัญเจ้าหยดน้ำนี้มีราคาถูกกว่าขวดพลาสติกด้วย
 




‘I AM NOT PLASTIC’ ถุงมันสำปะหลังละลายในน้ำไม่ละลายในมือ



     นี่ไม่ใช่พลาสติกและไม่ใช่ M&M ด้วย แต่เป็นนวัตกรรมถุงกินได้จากบริษัท Avani Eco ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกสัญชาติอินเดีย โดยผลิตจากมันสำปะหลังที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รีไซเคิล และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ที่สำคัญคือละลายได้ในน้ำ คุณสมบัติหลักที่ผู้ผลิตตั้งใจคิดค้นเลยทีเดียว เพราะจุดประสงค์หลักคือต้องการแก้ปัญหาขยะในลำคลองในอินโดนีเซียที่ท่วมล้นจนต้องระดมพลเข้าไปขุดลอกกันบ่อยครั้ง ในขณะเดียวกันถุงของ Evani Eco ยังเป็นมิตรกับสัตว์อย่างนกและปลาที่มักกินพลาสติกเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นอาหาร คราวนี้ก็กินได้จริง ไม่เป็นปัญหาต่อร่างกายสิ่งมีชีวิตอีกต่อไป




 
BioFase พลาสติกจากอะโวคาโดเหลือทิ้งในเม็กซิโก


     คนไทยคุ้นเคยกับการทำไบโอพลาสติกหรือพลาสติกย่อยสลายได้จากพืชรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด อ้อย ซึ่งทางฝั่งเม็กซิโกก็ไม่น้อยหน้า คว้าพืชใกล้ตัวอย่างอะโวคาโดมาผลิตพลาสติกซะเลย เพราะเป็นประเทศที่มีการปลูกและส่งออกอะโวคาโดมากที่สุดในโลก บอกได้ว่า 50 เปอร์เซ็นต์ของอะโวคาโดที่เราบริโภคกันในตลาดโลกมาจากเม็กซิโกนี่เอง ซึ่งในแต่ละวันก็มีขยะเหลือทิ้งจากพืชชนิดนี้มากมายและจบลงด้วยการนำไปฝังกลบนอกเมือง


     หลังจากที่แบรนด์ BioFase พบว่าข้าวโพดสามารถนำไปผลิตพลาสติกได้เมล็ดอะโวคาโดก็น่าจะทำได้เหมือนกัน โดยเริ่มจากเครื่องใช้ง่ายๆ อย่าง ช้อน ส้อม มีด และหลอด กำจัดเมล็ดอะโวคาโดได้ถึงวันละ 15,000 ตัน นอกจากจะช่วยลดขยะในเม็กซิโกแต่ยังมีการนำเข้าจากสหรัฐฯ อีกด้วย ซึ่งหากไม่ได้ใช้สามารถเก็บไว้ได้ 1 ปี หลังจากนั้นมันจะทำลายตัวเอง ย่อยสลายตามธรรมชาติได้แบบ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากใช้แล้วทิ้งลงดินจะย่อยสลายภายใน 8 เดือนเท่านั้น
 




พลาสติกจากเปลือกล็อบสเตอร์


     คงเคยเห็นและได้ยินข่าววาฬและสัตว์น้ำในท้องทะเลเสียชีวิตจากการกินพลาสติกเข้าไป เมื่อมันเป็นปัญหากับสัตว์ทะเลก็ใช้เพื่อนพ้องของมันแก้ปัญหาซะเลย บริษัท Shellworks ในอังกฤษจึงคิดใช้เปลือกของกุ้งล็อบสเตอร์มาทำเป็นพลาสติกชีวภาพ เพราะบนเปลือกนั้นมีไบโอพอลิเมอร์ที่เรียกว่า ‘ไคติน’ อยู่แล้ว โดยจะนำเอาเปลือกล็อบสเตอร์มาปั่นให้เป็นผงที่เรียกว่า ไคโตซาน แล้วนำมาผสมกับน้ำส้มสายชูกลายเป็นสารละลายพลาสติกชีวภาพ ซึ่งนำมาผลิตเป็นถุงพลาสติกได้ในที่สุดแถมด้วยคุณสมบัติพิเศษที่สามารถต้านทานเชื้อราและแบคทีเรียได้ จึงเป็นทางเลือกสุดเจ๋งสำหรับการนำไปบรรจุอาหารทีเดียว เมื่อใช้เสร็จแล้วก็โยนลงดินให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ยได้เลย
 




แพ็กเกจจิ้งเครื่องสำอางจากแบคทีเรีย


     อีกหนึ่งวัสดุทดแทนพลาสติกสุดล้ำ ล่าสุดมีคนนำแบคทีเรียมาทำเป็นแพ็กเกจจิ้งกันแล้ว เธอผู้นั้นมีชื่อว่า Elena Amato ดีไซเนอร์ชาวกัวเตมาลาที่ได้ทดลองเอา SCOBY ซึ่งเป็นแบคทีเรียดีและยีสต์ที่หลงเหลือจากการทำ Kombucha มาใช้ในการทำแพ็กเกจจิ้ง กระบวนการทำก็คือนำน้ำ, SCOBY และใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สาหร่าย ผงถ่าน ผสมทุกอย่างเข้าด้วยกันจากนั้นเทใส่แม่พิมพ์จนได้ที่ ก็จะได้แผ่น SCOBY ที่มีลักษณะคล้ายกระดาษและพลาสติก สามารถนำไปใช้ในการห่อหุ้มโปรดักต์จำพวกเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่างๆ ที่สำคัญย่อยสลายง่าย ดีต่อโลกด้วย
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน