ถอดรหัสค้าปลีกภูธร ต้องสตรอง! เบอร์ไหน ยักษ์ใหญ่ถึงโค่นไม่ล้ม

Text : กองบรรณาธิการ
Photo : สรรค์ภพ จิรวรรณธร
 




Main Idea

 
  • มวยวัดอย่างค้าปลีกภูธร ที่ดูเป็นรองค้าปลีกขนาดใหญ่แทบทุกประตู แต่ในสังเวียนต่างถิ่น มีค้าปลีกขนาดใหญ่ลงไปแข่งถึงที่ แต่กลับไม่สามารถโค่นเจ้าถิ่นลงได้ แถมหลายรายยังอยู่แบบสตรอง สร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี 
 




 
     นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2550 เป็นต้นมา ค้าปลีกภูธรเริ่มฟื้นตัว หลายรายเติบโตขยายกิจการมากขึ้น อย่างเช่น ซีเจ เอ็กซ์เพรส ที่วันนี้มีถึงประมาณ 300 สาขา ซุปเปอร์ชีป จากภูเก็ตก็ขยายไปแถวกระบี่ พังงา รวมเป็นกว่า 60 สาขา แม้แต่ธนพิริยะ จากเชียงราย ไม่เพียงขยายสาขาไปลำพูน ลำปาง ปัจจุบันเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อย





     ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ค้าปลีกไทย นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องค้าปลีก ฉายภาพ อุตสาหกรรมค้าปลีกในไทยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ค้าปลีกแถวแรก หรือกลุ่มค้าปลีกสมัยใหม่ ที่มีส่วนแบ่งตลาด 30 เปอร์เซ็นต์ แถว 2 คือ ค้าปลีกภูธร มีส่วนแบ่งประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และแถว 3 คือ ร้านโชห่วยเล็กๆ มีส่วนแบ่งประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์


     “กลุ่มค้าปลีกภูธร มีผู้เล่นอยู่ประมาณ 400-500 ราย กินส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ พวกนี้มีการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ในอีก 5-10 ข้างหน้าค้าปลีกเมืองไทยจะโตด้วยแถว 2 ในขณะที่ทิศทางต่อไปของแถว 1 คือ การโตออกไปต่างประเทศ ซึ่งวันนี้ก็เริ่มเห็นหลายรายที่ขยายไปต่างประเทศแล้ว”
 

ความยืดหยุ่น กลุ่มทายาท อาวุธลับของค้าปลีก


     ความน่าสนใจของค้าปลีกภูธรวันนี้ไม่เพียงยังอยู่ได้อย่างสตรอง แต่หลายรายสร้างรายได้ต่อปีหลายพันล้านบาท แม้ที่ผ่านมาจะมีค้าปลีกขนาดใหญ่ลงไปแข่งขันในพื้นที่แต่ก็ไม่สามารถโค่นเจ้าถิ่นอย่างพวกเขาลงได้


     “ผมเคยไปคุยกับผู้ประกอบการค้าปลีกรายหนึ่งในกระบี่ เขาบอกเลยว่าไม่กลัว เทสโก้ บิ๊กซี หรือห้างใหญ่ๆ ที่ลงไปแข่ง แต่กลัวซุปปอร์ชีป ค้าปลีกภูธรด้วยกันมากกว่า เพราะรู้สึกว่าเชนค้าปลีกสมัยใหม่จะมีรูปแบบในการเล่น จึงพอรู้ว่าจะรับมืออย่างไร แต่กับกลุ่มแถว 2 บางทีก็เป็นมวยวัด กะเกณฑ์อะไรไม่ได้ว่าจะมารูปแบบไหน แบบนี้น่ากลัวมากกว่า





     จุดแข็งข้อหนึ่งที่ทำให้ค้าปลีกภูธรสามารถปรับตัวได้อย่างแข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา คือ การมีทายาทรุ่น 2 เข้ามารับช่วงต่อธุรกิจมากขึ้น ซึ่งทายาทรุ่น 2 เหล่านี้ล้วนไม่ธรรมดา หลายคนจบการศึกษาจากเมืองนอก ส่วนในแง่การเปลี่ยนแปลงธุรกิจของแถว 2 สามารถทำได้รวดเร็ว ขณะที่กลุ่มแถว 1 มีรูปแบบบริหารจัดการที่ไม่ค่อยยืดหยุ่น ส่วนใหญ่นโยบายจะกำหนดมาจากส่วนกลาง ฉะนั้นพอไปแข่งขันในต่างจังหวัดก็ไม่สามารถสู้กับคนที่อยู่ในท้องถิ่น ที่ยืดหยุ่นกว่าและรู้สนามมากกว่าได้


     “อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้การปรับตัวของค้าปลีกภูธรได้เปรียบคือ มันเหมือนลมพัดจากกรุงเทพฯ กว่าจะไปถึงพวกเขาก็ใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี ดังนั้น เขาจะเห็นภาพอนาคตจากในกรุงเทพฯ ก่อนว่าเปลี่ยนไปอย่างไร นี่คือความโชคดีทำให้เขาปรับตัวได้ทันความเปลี่ยนแปลง”
 




สร้างคน เน้นทำงานแบบเครือข่าย


     อย่างไรก็ตาม ดร.ฉัตรชัย บอกว่า หัวใจของการทำธุรกิจค้าปลีกวันนี้จึงไม่ได้อยู่ที่แค่เงินทุน แต่อยู่ที่โนว์ฮาว (Know-How) และแพสชั่น (Passion) ที่อยากจะเติบโต และการปรับตัวให้ทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี


     “สิ่งที่เทคโนโลยียังทำไม่ได้คือ กิจกรรมข้างใน และการบริการ เหล่านี้ยังต้องใช้คนอยู่ ฉะนั้นต้องพัฒนาคนเพื่อมาใช้เทคโนโลยีให้เป็น ต่อไปไม่ควรทำธุรกิจตัวคนเดียว แต่ควรทำแบบเครือข่าย (Network) เพราะว่า SME คงไม่สามารถไปลงทุนทำพวก Big Data ได้เอง ฉะนั้นเราต้องไปขอเชื่อมกับคนอื่น ส่วนการบริหารจัดการในองค์กรก็ต้องทำงานเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายไม่ใช่รูปแบบการสั่งการเหมือนในอดีต วันนี้พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน แต่ผมว่ายังไม่น่าตกใจเท่าพฤติกรรมเราไม่เปลี่ยน เพราะถ้าเรายังคิดแบบเดิม ไปไม่รอดแน่ ฉะนั้น SME ต้องปรับวิธีคิดจากตัวเองก่อน”
 

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี   
           

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน