โชว์แพ็กเกจ Groom Grant Growth หนุนปั้นธุรกิจนวัตกรรม รับทุนสนับสนุนสูงสุด 5 ล้าน




     เมื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพเป็นกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งช่วยสร้างและพัฒนารูปแบบบริการและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ศักยภาพทางการแข่งขันที่ยั่งยืนในอนาคต
 

Groom Grant Growth คืออะไร?

     สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้มีการปรับโฉมการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพไทยผ่านแพคเกจใหม่ที่เรียกว่า “Groom Grant Growth” ตั้งเป้ายกระดับศักยภาพผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพไทยทั้งในธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเดินหน้าเร่งสร้างศักยภาพเอสเอ็มอีและสตาร์ทอัพไทยผ่านการบ่มเพาะ เงินทุนอุดหนุน และโอกาสการต่อยอดทางธุรกิจนวัตกรรม เตรียมต่อยอดขยายโปรแกรมอบรมผ่านออนไลน์ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงการสนับสนุนโดยสามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://mis.nia.or.th



     

     ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแหงชาติ (องค์การมหาชน)
เปิดเผยว่า สำหรับการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ โดยผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพที่จะเข้ามาขอรับการสนับสนุนนี้ จะต้องผ่านการอบรมบ่มเพาะ (Groom) ในโปรแกรมนวัตกรรมสำหรับผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพ เพื่อติวเข้มเรียนรู้และเข้าใจมุมมองด้านนวัตกรรมพร้อมเทคนิคแนวทางการเขียนข้อเสนอโครงการนวัตกรรมเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านเงินทุน (Grant) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
 

     1.ธุรกิจนวัตกรรมมุ่งเป้าในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ผ่าน 6 สาขา ได้แก่ ธุรกิจนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ ธุรกิจนวัตกรรมอาหารออกแบบสำหรับโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ธุรกิจนวัตกรรมสมุนไพรเพื่อกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ธุรกิจนวัตกรรมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคงและกิจการพลเรือน ธุรกิจนวัตกรรมท่องเที่ยว และธุรกิจนวัตกรรม Smart Logistic/อุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยี IoT ซึ่งกำลังเปิดรับข้อเสนอโครงการตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 มีนาคม 2562
 




     2. ธุรกิจนวัตกรรมแบบเปิด ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ผ่าน 3 สาขา ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจการผลิตและการหมุนเวียน และเศรษฐกิจบริการและแบ่งปัน โดยมุ่งพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมในพื้นที่ส่วนกลางและระดับภูมิภาค ตั้งแต่พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน ทั้งผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจนวัตกรรม และสตาร์ทอัพ เน้นการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมที่สอดรับกับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายในด้านเทคโนโลยีและการเงิน
 
 
     สำหรับผู้ประกอบการหรือสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพในการขยายผลจะส่งต่อผ่านการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมผ่านเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ (Growth) เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจเริ่มต้นสู่การลงทุน การพัฒนาความร่วมมือด้านนวัตกรรมกับหน่วยงานต่างประเทศ โครงการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับวิสาหกิจ (GPT) และกลไกการสนับสนุนด้านการเสริมสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรม (Mind Credit)
 


     

     ในส่วนของการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคม จะมีการดำเนินการสนับสนุนในลักษณะเดียวกับการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจ แต่จะมีการอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการผ่านเครือข่ายที่เรียกว่า “หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม (Social Innovation Driving Unit)” ที่กระจายอยู่ใน 5 ภูมิภาค ทั้งภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ กลาง ตะวันออก และใต้ เพื่อส่งต่อมายังส่วนการสนับสนุนด้านเงินทุน
 

     โดยแบ่งเป็น 1) ธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมแบบมุ่งเป้า ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาท จะเน้นการแก้ปัญหาด้านสังคมปัญหาใดปัญหาหนึ่ง โดยนำนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ที่มีการพัฒนาต้นแบบหรือโมเดลที่สำเร็จแล้วให้สามารถกระจายสู่ชุมชน หรือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มุ่งเน้นให้เกิดการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในจังหวัดยากจนของประเทศ หรือพื้นที่เป้าหมายนำร่อง ซึ่งองค์กรที่ได้รับคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนเพื่อนำไปดำเนินการจริงในพื้นที่ โดยมีโจทย์ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการหมู่บ้านนวัตกรรมเพื่อสังคม หรือ Social Innovation Village ที่มุ่งแก้ไขปัญหา 3 พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ชุมชนเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน ชุมชนอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และชุมชนหนองมะโมง อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท








     นอกจากนี้ ยังมีการเปิดรับข้อเสนอโครงการนวัตกรรมสำหรับเมืองและชุมชนตั้งแต่วันนี้ถึง 30 เมษายน 2562 ในหัวข้อนวัตกรรมการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติ นวัตกรรมบริการสาธารณะ และการยกระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มเปราะบาง ซึ่งนับว่าเป็นการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเพื่อสังคมแบบมุ่งเป้าอีกรูปแบบหนึ่งที่เน้นแก้ปัญหาสังคมเมืองและชุมชนในหัวข้อที่เป็นประเด็นสำคัญในแต่ละปี


     และ 2) ธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมแบบเปิด ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 1.5 ล้านบาท ผ่าน 9 ด้าน ได้แก่ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านความเชื่อมโยงระหว่าง อาหาร น้ำ และพลังงาน ด้านภาครัฐและการศึกษา ด้านการเงิน การจ้างงาน และสวัสดิการสังคม ด้านเกษตรกรรมยั่งยืน ด้านความเป็นเมือง ด้านสุขภาพ ด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และ ด้านการจัดการภัยพิบัติ ส่วนธุรกิจ


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน