​Top Secret เทคนิคลับที่รู้กันเฉพาะผู้ประกอบการ ลูกค้าห้ามรู้!





               

     ในฤดูกาลท่องเที่ยวไฮซีซั่น โดยเฉพาะช่วงส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ที่เพิ่งจะผ่านพ้นมาได้ไม่นาน เหล่าบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งหลายคงกอบโกยรับทรัพย์กันไปถ้วนหน้า แต่ขณะเดียวกันก็เหนื่อยจนแทบขาดใจเช่นกัน แต่ทำยังไงได้ ก็นานทีปีหน ก็ต้องสู้กันหน่อยละ แต่เคยคิดสงสัยไหมว่าช่วง work hard ไฮซีซั่นนี้ บรรดาผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME รายไม่ใหญ่ เขามิวิธีตั้งรับอย่างไรกับปริมาณลูกค้าที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ


     โดยในที่นี่จะขอเอ่ยถึงเฉพาะธุรกิจที่พักและร้านอาหารขนาดเล็ก ซึ่งต้องบอกก่อนว่าข้อมูลที่กำลังจะเล่าให้ฟังต่อไปนี้เป็นเรื่องราวจากผู้ประกอบการตัวจริง เสียงจริง ซึ่งบังเอิญได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนทัศนคติกัน แต่ด้วยจรรยาบรรณจึงมิอาจเปิดเผยข้อมูลของแหล่งข่าวได้ จึงขอจำลองเป็นบทสนทนาและใช้นามสมติแทน แต่รับรองว่าเป็นข้อมูลแบบเอ็กคลูซีฟสุดๆ ที่คุณไม่เคยได้รู้จากที่ไหนมาก่อน เรียกว่าเป็นเทคนิคลับ เทคนิคเฉพาะตัว ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยให้ลูกค้าล่วงรู้ได้ และเชื่อว่าธุรกิจไหนๆ ก็ต้องเทคนิคลับของตัวเองเช่นกัน


...ว่าแล้วลองไปติดตามกัน อุ๊ปส์! ว่าแต่คุณคงไม่ใช่ลูกค้าใช่ไหม!


     บนโต๊ะไม้ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ผู้ประกอบการสองนาย - คนหนึ่งเจ้าของธุรกิจที่พักเล็กๆ คนหนึ่งเป็นเจ้าของร้านอาหาร กำลังพูดคุยกันถึงแผนการตั้งรับปริมาณนักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลเข้ามามากจนบางครั้งแทบรับไม่ไหว
               

     ผู้ประกอบการ 1 : ช่วงนี้เป็นยังไงบ้างพี่ ลูกค้าเยอะไหม
               

     ผู้ประกอบการ 2 : ได้วันละหลายโต๊ะอยู่นะ แต่เหนื่อยทำกันไม่ทัน มีแค่สองคน ลงครัวเอง เสิร์ฟเอง เด็กหายากมาทำไม่กี่วันก็ออก ตัดปัญหาทำเองเลย
               

     ผู้ประกอบการ 1: แล้วพี่ทำยังไงละ ของผมนี่ก็หนักเหมือนกัน ลูกค้าเข้าทุกวันเลย เปลี่ยนผ้าปู ผ้าเช็ดตัว แห้งแทบไม่ทัน ยังดีที่ศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ที่คนพักเยอะ จะตั้งรับไว้ 2 คืนก่อนถึงจะจองได้ ถ้าถามคืนเดียว ก็บอกเต็มไว้ก่อน ไม่งั้นแย่แน่ๆ ทำห้องกันทุกวัน ต้องเซฟแรงเอาไว้ให้ได้ตลอดหน้าไฮฯ แต่ถ้าใกล้วันแล้วยังไม่เต็ม ก็ค่อยปล่อยคืนเดียว
               

     ผู้ประกอบการ 2: ก็ดีนะ ของที่ร้านก็พยายามรับลูกค้ารายย่อยเอาโต๊ะละ 2 -4 คนเหมือนกัน มาเป็นกลุ่มใหญ่ไม่อยากรับ ไม่ใช่ว่าไม่อยากได้เงินนะ แต่เหนื่อยทำไม่ไหว สั่งทีเป็นสิบๆ จาน กว่าจะทำให้ได้เสร็จ โต๊ะที่เหลือก็ต้องรอนาน แถมกดดันเราด้วย สู้โต๊ะเล็กไม่ได้ สบายใจกว่าเยอะ เพราะท้ายที่สุดก็ขายก็ได้เท่ากันอยู่ดี
               

     ผู้ประกอบการ 1: อ้าว! แล้วพี่ทำยังไงละ โทรมาถามล่วงหน้า ยังพอเข้าใจบอกว่าโต๊ะเต็มได้ แต่ถ้าจู่ๆ เดินเข้ามาดุ่มๆ เลย จะปฏิเสธยังไง
               

     ผู้ประกอบการ 2: ไม่เห็นยาก ก็แค่ติดป้ายจองเอาไว้ก่อน โต๊ะนี้จอง..จอง...จอง ถ้าเข้ามากลุ่มใหญ่ก็แค่บอกว่ามีคนจองแล้ว แต่ถ้ามากลุ่มเล็ก ก็แค่เอาป้ายจองออกแค่นั้น หรือถ้าวันนี้เหนื่อยแล้ว ไม่ไหวแล้ว ก็ติดเอาไว้ ไม่ต้องเอาออก รับแค่ที่ทำไหวเท่านั้นพอ
               

     ผู้ประกอบการ 1: โอ้โห! สุดยอด ใช้หลักการเดียวกันเลย บอกว่าเต็มไว้ก่อน ใครเข้าแก๊ปค่อยรับ
               

     ผู้ประกอบการ 2: ใช่
               

     ผู้ประกอบการ 1: แต่ก็มีคนไม่เข้าใจเหมือนกันนะ ผมเคยบอกไปตรงๆ ว่าขอรับ 2 คืน เพราะทำห้องให้ไม่ไหว แต่เขาไม่เข้าใจก็มาต่อว่าหน้าเพจว่าจำกัดสิทธิบ้างละ หยิ่งบ้างละ หลังๆ เลยบอกไปสั้นๆ ว่า เต็ม จะได้ไม่ต้องอธิบายมาก


      ผู้ประกอบการ 2 : ก็นะ ถ้าไม่ทำแบบนี้ เราเองก็ไม่ไหว ไม่ใช่ไม่อยากบริการ แต่เราทำกันอยู่ไม่กี่คนเอง ก็ต้องแบบนี้แหละ เลือกรับที่เรารับได้ เขารับได้ เป็นการดีกับทุกฝ่าย ลูกค้าแฮปปี้ เราก็แฮปปี้ ดีกว่ารับทุกคน และทำออกมาไม่ดี จะเสียกันไปหมด ชั่วโมงนี้ก็ต้องแบบนี้แหละ เลือกได้ ก็ต้องเลือกไว้ก่อน...


     เวลาผ่านไปราวครึ่งชั่วโมง บทสนทนาลับของสองหนุ่มผู้ประกอบการเล็กๆ ก็จบลง เปลี่ยนเป็นเรื่องราวสัพเพเหระอื่นที่เคล้าด้วยเสียงพูดคุยปนหัวเราะกับเครื่องดื่มสีเหลืองอำพันเย็นๆ ในมือ...
 

สรุปท้ายเรื่อง


     เรื่องราวของสองผู้ประกอบการหนุ่มที่พักและร้านอาหาร อาจเป็นเพียงเทคนิคเฉพาะตัวสำหรับบางคนหรือบางธุรกิจ เพื่อเอาตัวรอด ซึ่งบางครั้งความจำเป็นทางธุรกิจ อาจสวนทางกับความต้องการของลูกค้าบ้าง สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีศิลปะในการสื่อสารและรู้จักพลิกแพลง ทำอย่างไรบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น วิธีไหนที่จะละมุ่นละมอมที่สุดกับทั้งสองฝ่าย อีกข้อคิดที่ได้จากบทสนทนานี้ คือ การทำธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องทำให้ได้มากเสมอไป การทำให้พอดีกับกำลังที่มี ไม่มากไป น้อยไป สิ่งนั้นจะก่อให้เกิดรายได้และความสุขอย่างมีคุณภาพ


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน