​วิกฤต Lay off พนักงาน สะท้อน 3 บทเรียนที่ธุรกิจต้องรับมือ!






 
     ในรอบปีที่ผ่านมาหลายคนคงได้ยินข่าวองค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งเริ่มปรับโครงสร้างด้วยการลดพนักงาน เป็นการสะท้อนภาพให้เห็นชัดเจนว่า วันนี้โลกของธุรกิจไม่ได้ง่ายอีกต่อไป ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะองค์กรขนาดใหญ่ยักษ์ หรือแม้แต่ SME เล็กๆ ไม่มีสิ่งไหนการันตีได้เลยว่า คุณจะอยู่รอดและประสบความสำเร็จไปตลอด ถ้าธุรกิจของคุณไม่รู้จักที่จะปรับตัว และจากกรณีการ Lay off พนักงานที่เกิดขึ้น รู้ไหมว่า เหตุการณ์เหล่านี้กำลังบอกอะไรคุณบ้าง?
 

1.ถ้าธุรกิจไม่ Disrupt ตัวเองก็ต้องรอวันล่มสลาย
     

     ธุรกิจขนาดใหญ่ขยับตัวทีก็ยากลำบาก แต่หากไม่ทำอะไรในยุคที่ทุกอย่างต้องเปลี่ยนแปลงก็อาจทำให้คุณพบเจอกับสิ่งที่โหดร้ายที่สุดนั่นคือการล้มละลายของบริษัท ทุกวันนี้การทำธุรกิจจะต้องเจอกับปัญหามากมาย ทั้งคู่แข่งที่เกิดใหม่ทุกวัน การเข้ามาของเทคโนโลยี พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เรื่องของเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย
หากคุณยังทำธุรกิจแบบเดิมๆ ก็อาจจะทำให้ก้าวตามโลกไม่ทัน ยอดขายไม่ขึ้น กำไรลดหดหาย ท้ายที่สุดก็ขาดทุนแถมยังต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล การลดต้นทุนรวมถึงปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจให้เข้ากับยุคสมัย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ส่วน SME ขนาดเล็กนับว่ามีความได้เปรียบในเรื่องของการขยับตัวมากกว่า เปลี่ยนแปลงอะไรง่ายกว่า แบกรับต้นทุนพนักงานไม่เยอะเท่าองค์กรใหญ่ จึงอาจจะไม่จำเป็นต้องลดคน แต่มองหาวิธีการลดต้นทุนในด้านอื่นๆ ก็จะช่วยให้ฝ่าวิกฤตไปได้โดยที่ไม่ต้องเสียพนักงานไป
 




2.เทคโนโลยีกำลังเข้ามาแทนแรงงานคนมากขึ้น

     ด้วยความที่เทคโนโลยีมีความทันสมัยมากขึ้น การใช้ AI หรือ Business Solution ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายๆ องค์กรในการลดต้นทุนได้แบบระยะยาว ทำให้องค์กรเหล่านี้หันมาลงทุนกับเทคโนโลยีมากขึ้นและลดการใช้แรงงานคนลง จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมองค์กรหลายแห่งจึงมีการปรับลดพนักงานลง โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่สามารถใช้เทคโนโลยีแทนที่ได้ ด้วยเหตุนี้ พนักงานจำเป็นต้องพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น เพราะไม่อย่างนั้นเทคโนโลยีก็จะเข้ามาแทนที่ ลองมองหาสกิลที่มีความเฉพาะด้าน เช่น สกิลด้านการเจรจาต่อรอง สกิลด้านการขาย เรื่องของความคิดสร้างสรรค์ หากพนักงานเพิ่มสกิลเหล่านี้ให้กับตัวเอง ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกปลดออกจากงาน  
 

3.บางทีการเปลี่ยนแปลงอาจไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป
     

     การเปลี่ยนแปลงคือโอกาสหากคุณมองให้มันเป็นด้านบวก หลายองค์กรพอมีข่าวว่าต้องปลดคนออก พนักงานต่างก็ขวัญเสีย ความจริงแล้วการปลดคนออกขององค์กรหรือการปรับโครงการเป็นเหมือนการหยุดให้ตัวเองได้ตั้งหลักก่อนที่จะเริ่มต้นสู้ต่อ เช่น IKEA ที่มีการลดคน 7,500 ตำแหน่งแต่ก็มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นในส่วนที่เป็นงานสาย Digital เพื่อมุ่งเน้นการทำออนไลน์ให้มากขึ้น เนื่องจากวิกฤตของ Retail นั้นหนักหน่วงเกินกว่าที่จะสู้ไหว หรือแม้แต่บริษัทที่มีหลายสาขาตัดสินใจปรับลดสาขาลงหรือปิดสาขาที่ไม่ทำกำไร ก็เพื่อทำให้ธุรกิจอยู่ได้ เพราะเขารู้ดีว่าอะไรคือจุดอ่อนที่ต้องรีบตัด หากปล่อยไว้แบบนั้น อาจทำให้ธุรกิจทั้งหมดต้องล้มไปพร้อมกัน เมื่อถึงเวลาต้องเปลี่ยน การตัดสินใจคือเรื่องยาก แต่ถ้ามองไปที่อนาคตแล้วรีบทำในสิ่งที่จำเป็น บางครั้งการเปลี่ยนแปลงอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ยิ่งใหญ่



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน