รู้จักกฎ 20 ไมล์ บทเรียนที่จะทำให้ SME ประสบความสำเร็จได้ก่อนคู่แข่ง






                
     ก่อนที่จะไปทำความรู้จักกับกฎ 20 ไมล์หรือที่เรียกว่า The 20 Mile March เราจะพาคุณย้อนไปดูเรื่องราวก่อนที่จะมีกฎนี้ขึ้น หมุนเวลากลับไปในช่วง พ.ศ.2454 ได้มีนักสำรวจ 2 ทีมคือ Robert Falcon Scott นักสำรวจจากอังกฤษและทีมกับ Roald Amundsen นักสำรวจจากนอร์เวย์ ซึ่งแข่งขันกันว่าใครที่จะเดินทางไปถึงขั้วโลกใต้ (South Pole) โดยทั้ง 2 คนออกเดินทางในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน มีอายุและความแข็งแกร่งพอๆ กัน โดย Robert Falcon Scott นั้นดูจะได้เปรียบกว่า เนื่องจากเป็นชายชาติทหารแบบดั้งเดิม ดูเป็นมืออาชีพสุดๆ ส่วน Roald Amundsen ก็เป็นนักสำรวจทั่วไปที่อยากจะไปให้ถึงขั้วโลกใต้เป็นคนแรก
               

     แต่ในที่สุดผู้ที่เดินทางถึงขั้วโลกใต้ก่อนคือ Roald Amundsen และทีมของเขา หลังจากที่ Robert Falcon Scott เดินทางมาถึงก็เห็นธงชาติของนอร์เวย์ปักอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งหลังจากทีม Roald Amundsen ถึงขั้วโลกใต้เขาก็เดินทางกลับไปที่ Base Camp และทุกคนก็ได้รู้ถึงความสำเร็จของเขา ส่วนทีมของ Robert Falcon Scott ไม่มีใครเหลือรอดกลับมาได้เลยเนื่องจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างแย่
               

     ส่วนเหตุผลที่ทำให้ 2 คนนี้แตกต่างกันแม้ว่าจะมีเงื่อนไขอื่นๆ คล้ายกันหมด ดูสูสีกันมากนั่นคือกลยุทธ์ในการเดินทาง Robert Falcon Scott ทีมที่แพ้พ่ายในการแข่งขันนี้แถมยังไม่มีชีวิตรอดกลับไป เขาใช้วิธีการเดินทางที่มุทะลุ วันไหนที่อากาศดี เขาจะเดินทางให้ไกลที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนวันไหนสภาพอากาศเลวร้าย เขาจะนอนอยู่ในเต้นท์พร้อมเขียนบันทึกถึงความรู้สึกในตอนนั้น ทางด้านของผู้ชนะ Roald Amundsen กลยุทธ์ที่เขาใช้คือการเดินทางให้ได้ 20 ไมล์ทุกวัน ไม่ว่าจะอากาศจะเลวร้าย เขาก็จะพยายามเดินทางให้ได้ 10-20 ไมล์ หรือได้แค่ 15 ไมล์ก็ยังดี ส่วนวันไหนอากาศดีๆ เขาก็ยังเดินทางแค่ 20 ไมล์เท่านั้น จนในที่สุดเขาก็มาถึงขั้วโลกใต้ได้เป็นคนแรก
               

     กฎ 20 ไมล์ของ Roald Amundsen ได้สอนเราว่าการที่คุณจะเดินทางไปถึงเป้าหมายนั้น บางทีคุณก็ต้องเจอกับเองราวแย่ๆ หรืออุปสรรค ในบางวันก็อาจจะยากกว่าวันปกติ สิ่งที่คุณควรทำคือการเดินไปข้างหน้า วันละนิด วันละนิดโดยที่ไม่หยุดเดินทางเลยสักวัน แม้ระยะทางที่คุณก้าวมันอาจจะสั้น แต่การที่คุณก้าวไม่หยุด นั่นแหละคือหนทางสู่ความสำเร็จที่สั้นลงทุกวัน และในที่สุดคุณก็จะสามารถเดินทางไปถึงเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ได้
 




1.ตั้งความสำเร็จในแต่ละระยะ


     
หลังจากที่คุณตั้งเป้าหมายขนาดใหญ่เสร็จเรียบร้อย และรู้ว่าตัวเองจะต้องเดินทางไปทางไหน คุณควรที่จะมีเป้าหมายเล็กๆ ให้แก่ตัวเองอยู่เสมอ เช่น วันนี้ฉันจะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ วันต่อมาจะทำอะไรให้สำเร็จ ลองตั้งเป้าหมายเล็กๆ ระหว่างทางจะทำให้คุณเข้าใกล้เป้าหมายที่แท้จริงได้ง่ายขึ้น


2.อย่ากดดันตัวเองมากเกินไป


     
คนเราทุกคนมีขีดจำกัดและการไม่กดดันตัวเองเกินไปคือกฎของ 20 ไมล์ ที่จะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายโดยที่ไม่ทำให้ตัวเองบาดเจ็บ อย่างทีมของ Robert Falcon Scott ที่เขากดดันตัวเองในวันที่อากาศดี เดินทางจนเหนื่อยล้า พอวันที่อากาศเลวร้ายเขาจึงไม่มีเรี่ยวแรงจะเดินทางต่อ ทำได้แค่นอนรออากาศดีเท่านั้น


3.แผนการของคุณมันใช่


     
ก่อนที่คุณจะออกเดินทาง คุณต้องทำความรู้จักตัวเองให้ดี รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง ที่สำคัญต้องรู้ว่าทีมคุณพร้อมด้วยหรือไม่กับแผนการนี้ สิ่งสำคัญคือการปรับแต่งแผนการให้เข้ากับตัวคุณเองและทีม เพื่อให้ทีมที่มีประสิทธิภาพสูงสุด


4.มีกรอบเวลา


     
การที่คุณกดดันตัวเองเกินไปนระยะเวลาสั้นจะทำให้คุณเครียดและบาดเจ็บเกินไป ส่วนการที่คุณไม่กดดันตัวเองเลย จนปล่อยเวลาไปนานเนิ่นนานกว่าจะถึงเป้าหมายอาจจะทำให้คุณเลิกผลักดันตัวเองได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นต้องตั้งกรอบเวลาที่พอดีๆ ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป ผลักดันตัวเองอยู่เสมอ
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน