กสอ.ปรับตัวเป็นโค้ช ติวเข้ม SME ปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล







     ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีความสนิทสนมใกล้ชิดผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างดี สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ กสอ. กับภารกิจหลักที่คอยส่งเสริม SME ไทยให้สามารถแข่งขันและแข็งแกร่งอยู่ในเวทีโลกได้ อันจะส่งผลย้อนกลับมายังเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งสำหรับแผนยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในปีหน้าที่กำลังจะถึงนี้ได้วางนโยบายไว้ภายใต้คอนเซปต์ “From Local to Global” by Marketing and Innovation เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยจากภูมิภาค สู่ระดับโลกมากขึ้น โดยผ่าน 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การตลาดและนวัตกรรม พร้อมปรับรูปแบบให้บริการเข้มข้นเป็น 4 โค้ชเทรน SME สู่ยุค 4.0
 




     กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าในปีงบประมาณ 2562 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ กว่า 800 ล้านบาท โดยมี 80 โครงการ เพื่อใช้ในการช่วยเหลือและพัฒนา SMEs ประมาณ 5,000 กิจการ พัฒนาผู้ประกอบการ/บุคลากรอุตสาหกรรม ประมาณกว่า 25,000 คน พัฒนาวิสาหกิจชุมชนกว่า 2,000 ราย ยกระดับผลิตภัณฑ์และการบริการอีกประมาณกว่า 2,000 รายการ คาดว่าการส่งเสริมทั้งหมดจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท
สำหรับแผนการพัฒนาผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SME ในปีหน้าที่จะถึงนี้ทางกรมฯ ได้วางแนวทางการทำงานไว้ 2 รูปแบบหลัก คือ





     1.การตลาดนำการส่งเสริม
เป็นแนวคิดเชิงบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างปริมาณสินค้าที่ผลิตออกมาและความต้องการสินค้าของผู้บริโภคเกิดความสอดคล้องกัน เพื่อลดปัญหาสินค้าล้นตลาด ราคาสินค้าตกต่ำ โดยจะมุ่งเน้นเปลี่ยนแนวคิดการผลิตเดิมของผู้ประกอบการที่มุ่งหวังผลผลิตสูงสุด คือ กำไรสูงสุด มาเป็นการทำน้อยแต่ได้มากแทน โดยมุ่งเน้นผลักดัน SME ให้เข้าสู่ช่องทางออนไลน์ ทั้งด้านการขายและการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการพยายามให้ข้อมูลเรื่องเทรนด์ หรือกระแสความเปลี่ยนแปลงของตลาดทั้ง micro moment หรือพฤติกรรมรายวัน รายเดือน รายหกเดือน ฯลฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น





     2.นวัตกรรมนำการส่งเสริม
การเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการ ด้วยการนำผลงานวิจัยหรือกระบวนการใหม่ๆ มาใช้รังสรรค์ผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ การนำงานวิจัยไปต่อยอดสินค้า การนำแพลตฟอร์มต่างๆ มาใช้ อาทิ แอปพลิเคชั่นเพื่อการจัดทำบัญชี แอปพลิเคชั่นท่องเที่ยวหมู่บ้าน CIV





     นอกจากนี้จากแผนนโยบายที่วางไว้ในปี 2562 ทางกสอ.ยังจะได้ปรับวิธีการทำงานใหม่ โดยมุ่งเน้นให้มีลักษณะเหมือน “โค้ช” ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ชี้แนวทางปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับ SME โดยได้วางไว้ 4 กลุ่มได้แก่





     1.โค้ชเตรียมความพร้อมสู่ยุค 4.0 โดยจะใช้ผู้เชี่ยวชาญ บริการและเครื่องมือที่ทันสมัยพัฒนาให้ SME รู้จักกระบวนการทางธุรกิจที่ก้าวหน้ามากกว่าองค์ความรู้เดิมๆ โดยเฉพาะด้านนวัตกรรม การแปรรูป และการออกแบบ เช่น ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (BSC) รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคตระดับจังหวัด (Mini ITC) ที่จะให้ความช่วยเหลือและต่อยอดธุรกิจผู้ประกอบการได้ครบทุกพื้นที่





     2.โค้ชการค้า การขาย และช่องทางจำหน่ายในตลาด ซึ่งจะมุ่งเน้นการให้ความรู้ผ่านการฝึกอบรมต่างๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น หลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มยอดขายการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและบริษัททั่วโลก เพื่อผลักดัน SME ให้สามารถเข้าสู่ช่องทางใหม่ๆ เพื่อรองรับการจัดจำหน่ายได้จริง เช่น J-Goodtech, Lazada  และAlibaba





     3.โค้ชสนับสนุนด้านสินเชื่อและเงินทุน
โดยให้คำปรึกษาและฝึกปฏิบัติด้านการเขียนแผนธุรกิจ เพื่อให้ SME สามารถขอขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน รวมถึงขอรับทุนจากสถาบันต่างๆ เพื่อนำมาเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจ เพิ่มมูลค่าสินค้าและการบริการในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างกสอ.เองก็มีสินเชื่อเพื่อให้บริการกับผู้ประกอบการทั่วประเทศ ได้แก่ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินคนตัวใหญ่ คงเหลือ 750 ล้านบาท และคนตัวเล็ก คงเหลือ 3,100 ล้านบาท ส่วนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีจำนวน 100 ล้านบาท โดยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6 % ในปี 2560 ได้มีการปรับลดลงเหลือเพียง 4 % รวมถึงเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการในหลากหลายรูปแบบธุรกิจมากขึ้น เช่น ฟู้ดส์ทรัค นอกจากนี้ยังมีการบันทึกความร่วมมือ MOU กับธนาคารอีกหลายแห่ง เพื่อสร้างทางเลือกในการให้สินเชื่อมากขึ้นแก่ผู้ประกอบการ SME ที่เข้ามาปรึกษา ร่วมโครงการกับเรา





     4.โค้ชเชื่อมโยง SME สู่ระดับ Global
บ่มเพาะและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการที่มีศัยภาพ ตั้งแต่ส่วนกลางไปจนถึงส่วนภูมิภาคให้ก้าวสู่ตลาดโลก ซึ่งมีกิจกรรมสนับสนุน เช่น โครงการเตรียมความพร้อม SME เพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ, การจับคู่กับธุรกิจต่างชาติเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการผลิต การแบ่งปันองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่สามารถปรับใช้ได้ในกระบวนการต่างๆ ฯลฯ นอกจากนี้ยังจะมีการดึงต้นแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อเรียนรู้เทคนิคในการก้าวสู่ตลาดต่างชาติ พร้อมนำไปเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้จริงในการดำเนินธุรกิจ

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน