​พอกิน พอใช้ พอใจ พอเพียง…ทำธุรกิจในแบบ “ธรรมธุรกิจ”






 
    การเปลี่ยนจากการทำธุรกิจรูปแบบเดิมๆ ในฐานะพ่อค้าข้าว ที่แก้ปัญหาชาวนาในวิถีแบบคนรวยและรัฐบาล โดยเน้นการให้เงินช่วยเหลือ มาเป็นการใช้นวัตกรรมทางความคิดเปลี่ยนสู่ธุรกิจเพื่อสังคม ก่อผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์กับทั้งคนปลูก คนกิน และคนกลาง
 




     “ธรรมธุรกิจ” มีจุดเริ่มต้นจาก พิเชษฐ โตนิติวงศ์ เจ้าของโรงสีข้าวศิริภิญโญ ผู้มีความปรารถนาอยากช่วยเหลือชาวนาให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน จนเขาได้พบกับ อาจารย์ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้ทำงานขับเคลื่อนศาสตร์พระราชา และ โจน จันได กูรูด้านบ้านดินและเมล็ดพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเกิดเป็นธรรมธุรกิจตัวกลางในการรวบรวมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้สารเคมีในการเพาะปลูก มาขายในราคาที่เป็นธรรมกับทั้งคนปลูก คนกิน และคนกลาง โดยไม่มีกลโกงและการเอาเปรียบ ยืนหยัดอยู่ภายใต้หลัก 4 พอ นั่นคือ พอกิน พอใช้ พอใจ และพอเพียง ธรรมธุรกิจเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ.2556 จากชาวนา 16 คน พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 20 ไร่ ปัจจุบันมีสมาชิก 38 ครอบครัว บนพื้นที่กว่า 800 ไร่ และมีผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องมหัศจรรย์วางจำหน่ายในท้องตลาด
    

       

     ธรรมธุรกิจ นำองค์ความรู้ด้านศาสตร์พระราชา และภูมิปัญญาท้องถิ่น มาช่วยให้ชาวนาอยู่ได้อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน โดยเริ่มจากนำชาวนามาฝึกอบรมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติตามศาสตร์พระราชา เรียนรู้การทำนาแบบไม่ใช้สารเคมี ตามทฤษฎีบันได 9 ขั้นสู่ความพอเพียง ช่วยแก้ปัญหาชาวนาในฐานะคนปลูกให้สุขภาพดี มีผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพ และสร้างรายรับที่มั่งคั่งและยั่งยืน เวลาเดียวกันก็เป็นตัวกลางนำผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากชาวนาไปสู่คนกิน ทั้งข้าว ไข่ และพืชผักต่างๆ จำหน่ายในราคาที่เป็นธรรม เพื่อให้ผู้บริโภคมีสุขภาพที่ดี สามารถเข้าถึงสินค้าเกษตรที่ไม่ใช้สารเคมีในราคาที่เข้าถึงได้ โดยมีธรรมธุรกิจทำหน้าที่เชื่อมโยงคนปลูกและคนกินโดยใช้หลักคุณธรรมในการทำธุรกิจ




     

     ปัจจุบันธรรมธุรกิจช่วยให้ชาวนา 38 ครอบครัวในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่เปลี่ยนแนวคิดและการทำงานตามศาสตร์พระราชา มามีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืนขึ้น ผลิตอาหารจากธรรมชาติบนพื้นที่กว่า 800 ไร่ ปริมาณผลผลิตประมาณ 1 ตันต่อไร่ ป้อนให้กับผู้บริโภคคนเมือง ขณะที่ผู้บริโภคเองก็เริ่มมีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและให้การสนับสนุนสินค้าของพวกเขามากขึ้น เริ่มมีกลุ่มเกษตรกรรุ่นใหม่ที่เป็นคนเมืองและรักในอาชีพชาวนาซึ่งพวกเขาเรียกว่า กสิกรธรรมชาติ ไปฝึกอบรมเพื่อเรียนรู้การทำนาแบบไม่ใช่สารเคมี จึงเป็นการแก้ปัญหาได้ทั้งระบบ และขยายผลออกไปไม่สิ้นสุด ด้วยเหตุนี้ ทำให้ธรรมธุรกิจ ได้รับรางวัลโดดเด่นด้านธุรกิจเพื่อสังคม จากการประกวดโครงการ SME Thailand Inno Awards 2018 ไปครองอีกด้วย


         

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน