​อองกา อาทฟูล ไลท์ สร้างความต่างให้ธุรกิจ ด้วยนวัตกรรมแสง






 
     จากความมุ่งมั่นของ ดรรชนี องอาจสิริ ซึ่งหลงใหลสนใจงานออกแบบแสง จึงเดินทางไปเข้าคอร์สเรียนการใช้แสงเพื่อพัฒนาเมืองในต่างประเทศหลายคอร์ส และนำไปสู่แรงบันดาลใจที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมแสงเหล่านี้ โดยการตั้งบริษัท อองกา อาทฟูล ไลท์ จำกัด ขึ้นเมื่อ 15 ปีก่อน ในปัจจุบันบริษัทดำเนินธุรกิจออกแบบแสง แบบ One Stop Service ออกแบบ-จำหน่าย-ติดตั้ง-รื้อถอน มีทั้งแบบให้เช่าไฟประดับสำหรับงานชั่วคราวและงานออกแบบแสงสำหรับอาคารสถาปัตยกรรม พื้นที่สาธารณะ ออกแบบโคมไฟขนาดใหญ่ (Chandelier) เสาไฟที่ต้องการเน้นงานดีไซน์ งานออกแบบแสงน้ำพุเต้นระบำ งานฉายภาพ 3 มิติบนอาคารขนาดใหญ่ (3D Mapping) งาน Interactive Light Installation, Hologram Video รวมทั้งงานจิตรกรรมแสงที่ทำจากเส้นใยแก้วนำแสง เป็นต้น     



Cr : อองกา อาทฟูล ไลท์


     โดยหนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่โดดเด่นนั่นคือ The Sunflowers  ซึ่งสามารถคว้ารางวัลจากการประกวดในโครงการ SME Thailand Inno Awards 2018 สาขาโดดเด่นด้านผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมไปครอง โดย ดรรชนี องอาจสิริ Vice President บริษัท อองกา อาทฟูล ไลท์ จำกัด บอกว่า The Sunflowers  นับเป็นงานประติมากรรมแสงที่ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีของแสงกับนวัตกรรมเข้าด้วยกัน โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากการอนุรักษ์พลังงาน กล่าวคือ The Sunflowers เป็นดอกทานตะวันที่สูงถึง 4.5 เมตร ซึ่งจะมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ในส่วนของกลีบดอกไม้เพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงเวลากลางวันไว้ในแบตเตอรี่ที่ฝั่งตัวอยู่ในเกสรดอกไม้ และนำมาใช้ในการทำให้ไฟ LED ในกลีบดอกไม้ ลำต้น รวมทั้งใบไม้ สว่างในตอนกลางคืน โดยสามารถให้พลังงานได้นานประมาณ 5-6 ชั่วโมง นอกจากนี้ ในส่วนของก้านดอกทานตะวัน จะติดตั้งหุ่นยนต์ เพื่อตั้งเวลาให้ก้านของดอกทานตะวันสามารถขยับโน้มก้านลงมาเพื่อทักทายผู้คนได้อีกด้วย   





     ประติมากรรมนวัตกรรมแสง The Sunflowers นี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้ในหลายอย่าง เช่น จัดทำเป็นแลนด์มาร์กในตอนกลางคืน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสถานที่ได้ โดยอาจจะมีการออกแบบเพิ่มเติม เช่น จัดให้มีเก้าอี้นั่งรอบๆ หรือพัฒนาต่อด้วยการติดตั้งเครื่องวัดค่ามลพิษ หรือทำที่ชาร์จแบตมือถือ เพื่อเป็นอีกหนึ่งสถานที่พักผ่อน เป็นต้น



Cr : อองกา อาทฟูล ไลท์


     ไฟที่ให้แสงสว่างก็เช่นเดียวกับอาคารสถานที่ที่ต้องมีการออกแบบให้สวยงาม เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นแลนด์มาร์กได้ ซึ่งประเทศไทยแม้จะให้ความสำคัญกับแสงสว่าง แต่ก็ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องความงามของแสงสว่าง ทั้งๆ ที่ความงามแสงสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม กระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวา แสดงอัตลักษณ์ของเมือง กระชับความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคมได้ การที่บริษัทลงทุนสร้างสรรค์นวัตกรรมแสงสว่าง อาจวัดเป็นมูลค่าทางตัวเงินไม่ได้ แต่ก็คุ้มค่าตรงที่ว่าแม้ในวันนี้ไม่ได้ใช้ แต่เชื่อว่าวันหน้าอาจจะได้ใช้ ที่สำคัญเป็นการพัฒนาฝึกฝนคนรุ่นใหม่ให้ได้คิดสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ออกมา ขณะเดียวกันในแง่บริษัทการเน้นงานออกแบบ พัฒนานวัตกรรมพลังงาน ก็เป็นการสร้างความแตกต่าง ดึงดูดความสนใจให้กับบริษัทได้เป็นอย่างมาก









www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน