TINT Bicycle ...City Bike ออกแบบได้ตามสไตล์คุณ





 

     หากอยากจะหาจักรยานสักคันไว้ปั่นเล่น หลายครั้งเราจะพบว่าจักรยานสำเร็จรูปที่วางจำหน่ายในตลาดมีขนาดหรือสีสันไม่ถูกใจสักเท่าไร และถ้าจะหันไปหาจักรยาน Custom Made ที่ออกแบบตามใจคนปั่นย่อมตามมาด้วยตัวเลขราคาที่สูงลิ่วตามไปด้วยไม่คุ้มกับการใช้งานในชีวิตประจำวันแน่ๆ ถ้าอย่างนั้นลองแวะมาดูที่ร้าน TINT Bicycle หน่อยเป็นไง ที่นี่มีจักรยานให้เลือกทั้งรูปทรง ขนาด (S, M, L) ออปชันและสีสันที่เฟรมจักรยานมากกว่า 22 สี วงล้อ ยางนอก รวมถึงสติกเกอร์หลากสไตล์ให้ตกแต่ง แล้วประกอบร่างออกมาเป็นจักรยานที่มีคันเดียวในโลก
 

     รวิภาส เวชชาภินันท์ 1 ใน 3 หุ้นส่วนร้าน TINT Bicycle บอกเราว่า การออกแบบจักรยานได้เองเป็นจุดขายที่สร้างความต่างให้กับธุรกิจนี้ โดยแนวคิดของเขามาจากร้านจักรยานมือสองของหนึ่งในหุ้นส่วนที่ต้องใช้ทั้งอะไหล่เก่าและอะไหล่ใหม่ปนกันไปแล้วนำมาโมดิฟายกลายเป็นคันใหม่ เอามาพลิกเป็นไอเดียว่าน่าจะทำแบรนด์เอง ออกแบบเอง แล้วสั่งอะไหล่ใหม่ทั้งหมดเข้ามาเพื่อทำจักรยาน และประกอบ 1 คันต่อ 1 ออร์เดอร์ ใช้เวลาประกอบจักรยานประมาณ 3-5 วัน สูงสุดไม่เกิน 1 สัปดาห์
 




     “เรามีอะไหล่พร้อมประกอบให้อยู่แล้วแต่สีต้องทำใหม่ทั้งหมด เพระตอนแรกเฟรมจะเป็นเฟรมเปล่าแล้วเราก็นำมาทำสีแล้วประกอบขึ้นมาเป็นคัน กระบวนการที่ใช้เวลาทำนานที่สุดคือ ทำสี เพราะส่วนหนึ่งเราผสมเองเพื่อให้ได้สีที่ลูกค้าต้องการ คือเป็นสีผงพอเอาไปพ่นแล้วเอาไปอบแล้วจะละลาย มีผิวสัมผัสที่จะดูรู้ว่าเป็นสีผสม”
 

     จักรยานของ TINT เป็น City Bike ทรงญี่ปุ่น แต่อะไหล่ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากไต้หวันเพราะคุณภาพดีกว่าของจีน เป็นข้อสรุปหลังจากศึกษาลองผิดลองถูกประมาณ 1 ปี จากการเดินหาซัพพลายเออร์ที่มีสินค้าตามสเปก และเทียบราคาที่ไม่แพงจนเกินไปเพื่อนำมาบริหารราคาขายที่จับต้องได้ กลายเป็นจักรยานราคากลางๆ แต่คุณภาพดี โดยเฉพาะการเลือกสรรวัสดุที่นำมาทำเฟรม สุดท้ายก็จบลงที่เหล็กคุณภาพดี มีความแข็งแรง คงทน และอะลูมิเนียมอัลลอยที่มีน้ำหนักเบากว่าเหล็กและไม่ขึ้นสนิม
 




     “เราไม่ได้ตั้งราคาสูงกว่าจักรยานสำเร็จรูปทั่วไปมากด้วยความที่เราไม่ได้อยากขายของแพง งาน Customize ส่วนใหญ่แล้วราคาสูงประมาณ 20,000-30,000 บาท แต่ของเราสเกลจะเล็กลงมาหน่อย เราอยากให้คนเข้าถึงง่ายเพราะลูกค้าเป็นกลุ่มคนใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน เน้นหน้าตาไม่ได้เน้นเพอร์ฟอร์แมนซ์หนักๆ”
 

     ลูกค้าส่วนใหญ่ของ TINT Bicycle เป็นคนอายุ 20-30 ปี จึงเน้นการสื่อสารผ่านทางออนไลน์ซึ่งกลุ่มลูกค้าที่ซื้อจักรยานซิตี้ไบค์คือ คนเมืองที่มักเล่นโซเชียลเป็นประจำ

 



     “คนที่ต้องการจักรยานจริงๆ ไม่ได้อยู่ดีๆ เดินมาที่ร้านแล้วซื้อเลย เขาจะเซิร์ชกูเกิลเพื่อหาข้อมูล เราก็ต้องมีคีย์เวิร์ด เช่น จักรยานสวยๆ หรือจักรยานปั่นในสวนสาธารณะ มีบทความที่ทำให้เขาเห็นแบรนด์เราเวลาเขาเซิร์ชคำพวกนี้ คนส่วนใหญ่เล่นโซเชียลเราก็ไปทางนั้น ช่วงแรกเราก็มีโปรโมชัน เมื่อลูกค้าซื้อไปเราก็ลงรูปให้เกิดการไลค์การแชร์ให้คนรู้จักมากขึ้น”
 




     เว็บไซต์คือหน้าด่านสำคัญที่ปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งในระยะเวลากว่า 3 ปีนับตั้งแต่เปิดร้าน จากตอนแรกที่มีเพียงรูปภาพให้คลิกดู ต่อมาลูกค้าสามารถกดเลือกทุกอย่างได้ตามใจ เลือกของตกแต่งเพิ่มเติมได้ง่ายขึ้นและแสดงราคาทันทีที่เลือกแต่ละออปชัน
 

    “ตอนเราเปิดร้านแรกๆ ยังไม่มีเว็บไซต์ มีแต่เฟซบุ๊ก ลูกค้ามาใช้เวลา 2 ชั่วโมงในการเลือกว่าจะเอาสีอะไร เซฟรูปในเว็บไซต์เพื่อมาสั่งในเฟซบุ๊กก็มี ตอนนี้เว็บไซต์เราสมบูรณ์แล้วเขาก็ไม่ต้องคุยกับคนก็ได้สามารถเลือกแล้วรอรับจักรยานอยู่ที่บ้านได้เลย สมัยก่อนยังไงก็ต้องคุยกับแอดมินในเฟซบุ๊กก่อนถึงจะสั่งได้ แม้แต่ทุกวันนี้ก็ยังคุยกันอยู่เพราะคนไทยมักจะมั่นใจมากกว่าถ้าได้คุยกับคนก่อนสั่งของ
 




     “โดยสิ่งที่ทำให้ลูกค้าประทับใจเราส่วนใหญ่เป็นเรื่องการบริการที่เขาสามารถเลือกได้ และเราให้คำแนะนำเพราะเขาต้องการความมั่นใจว่าเลือกแล้วจะสวยจริงไหม ประสบการณ์ในการซื้อจะต่างออกไป เขาจะมีความรู้สึกว่าได้มีส่วนร่วมในการออกแบบจักรยาน 1 คันด้วย”
 

     นับได้ว่า TINT Bicycle สามารถตอบสนองรสนิยมการใช้ชีวิตของคนยุคนี้ที่มีความเป็นตัวของตัวเองสูงและกำลังมองหาสิ่งที่เหมาะกับตัวเองที่สุดนั่นเอง






www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน