​Pim Cake รูปภาพกินได้ ความแปลกใหม่บนเบเกอรี่และเครื่องดื่ม





 

     เมื่อความหลากหลายและสีสันของอาหารเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ใช้ในการดึงดูดผู้บริโภค Pim Cake แบรนด์น้องใหม่จึงก้าวเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกผ่านการหยิบเอานวัตกรรมมาเป็นโซลูชั่นที่ให้เครื่องพิมพ์สามารถใช้งานร่วมกับสีผสมอาหารในการสร้างสรรค์ศิลปะลงบนขนม เบเกอรี่และเครื่องดื่ม เพิ่มลูกเล่นและความแปลกตาให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี




     สำหรับเรื่องนี้ด้าน พันธ์ภูวดล จารุโชติรัตนสกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท International Connected Trade Co., Ltd และเจ้าของแบรนด์ Pim Cake กล่าวว่า จากความถนัดและมีประสบการณ์ของการเป็นศูนย์บริการเติมหมึก ซ่อมและจำหน่ายปริ้นเตอร์อยู่แล้ว ทำให้เห็นช่องว่างและโอกาสของตลาดที่สามารถนำสิ่งที่เรามีมาต่อยอดและสร้างความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นได้





     “ตัวแบรนด์ Pim Cake นั้นทำมาได้ประมาณ 2 ปี เกิดจากการแตกไลน์ทางธุรกิจให้มีความเหมาะสมกับตลาดและกลุ่มของผู้บริโภคที่เราเข้ามาจับอย่างขนม เบเกอรี่และเครื่องดื่ม หากยังใช้ชื่อของบริษัทเดิมที่เน้นด้านไอทีนั้นก็ดูไม่เหมาะสมและไม่เข้ากันกับเรื่องของอาหาร นอกจากนี้เรายังอยากจะขยายตลาดจากสิ่งที่เราถนัดอยู่แล้วคือการพิมพ์ให้สามารถตอบโจทย์ได้มากขึ้น ดังนั้นจึงมีการคิดค้นสีผสมอาหารให้สามารถนำมาใช้หรือใส่ลงบนเครื่องพิมพ์ได้โดยผู้ใช้สามารถนำไปตกแต่งลงบนขนมและเครื่องดื่มตามที่ต้องการ แทนที่เราจะพิมพ์บนกระดาษอย่างที่เราถนัดเช่นบนนามบัตร ตลาดพวกนั้นมันก็เริ่มแคบลงเรื่อยๆ ดังนั้นพอเรามาอยู่ในโซนของอาหาร โปรดักต์แบบนี้จะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงมุมมองของกลุ่มลูกค้ารวมไปถึงเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับองค์กรได้อีกด้วย”





     ปัจจุบันสีผสมอาหารของแบรนด์มีอยู่ 4 สีด้วยกันได้แก่ ดำ แดง เหลืองและน้ำเงินมาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ที่สามารถนำไปใช้งานและเพิ่มศิลปะลงบนกาแฟ หน้าเค้ก เบเกอรรี่หรือมาการองได้อย่างง่ายๆเพียงแค่นำรูปภาพจากมือถือหรือจากกล้องถ่ายรูปเข้ามาที่โปรแกรม Photo Cake Designer Pro แล้วทำการออกแบบผ่านตัวโปรแกรมและตกแต่งด้วย Clip Art ที่มีให้เลือกกว่า 1,000 รูป ทำการพิมพ์ภาพด้วยสีผสมอาหารของแบรนด์ลงบนขนม เบเกอรี่ กาแฟหรือแผ่นไอซิ่งและนำไปวางบนหน้าเค้ก





     “การแตกไลน์ธุรกิจให้ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่งที่เราพยายามทำให้มีโปรดักต์ไลน์มากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ตลาดกว้างขึ้น โดยลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักคือเจ้าของร้านเบเกอรี่และร้านกาแฟ และจากการทำแบรนด์มาได้สักระยะทำให้ภาพของแบรนด์มีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆและลูกค้าให้การยอมรับไม่ว่าจะเป็นออแกไนเซอร์ โรงแรมและคนทำเคเทอริ่ง” 





     สำหรับวิธีการจำหน่ายนั้น ทางแบรนด์จะทำการขายเป็นเซ็ตโซลูชั่นคือขายพร้อมกันทั้งเครื่องและสีให้ลูกค้าเอาไปใช้ในร้านของตัวเองเพื่อให้พวกเขานำไปเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโดยใช้เป็นลูกเล่นทำการตกแต่งขนม เบเกอรี่หรือเครื่องดื่มที่สร้างความรู้สึกสนุกกับการกินให้แก่ผู้บริโภคได้





     มาถึงตรงนี้ พันธ์ภูวดล กล่าวเสริมอีกว่า เทรนด์ของอาหาร เครื่องดื่มและเบเกอรี่มีการเติบโตและกำลังไปได้ด้วยดี อีกทั้งยังมีผู้เล่นอื่นๆอีกมากในตลาด เพราะฉะนั้นคนทำแบรนด์ต้องอาศัยเรื่องของนวัตกรรมเข้ามาช่วยในตลาดที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น





     “สินค้าของเรานับว่าเป็นการนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้ ถ้าเราขายเบเกอรี่หรือสีผสมอาหารแบบเดิมๆก็ไม่มีความแตกต่างและไม่ฉีกจากคนอื่น และด้วยการเติบโตของตลาดที่ยังมีอีกมากทำให้เราเห็นช่องทางของการเพิ่มบริการด้านการเป็นเคเทอริ่งเซอร์วิสในอนาคตอีกด้วย เราคาดว่าจะเพิ่มบริการเข้ามาภายในปีนี้เพื่อให้บริการเป็นแบบสำเร็จโดยทางเราจะรับทำรูปหรือพิมพ์ชื่อบริษัท โลโก้งานหรือชื่องานสัมมนาลงบนขนมหรือเบเกอรี่ให้กับทางลูกค้า ถือเป็นการต่อยอดธุรกิจให้กับทางแบรนด์อีกรูปแบบหนึ่ง” 
 
 
 

 ​www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน