Oggy เปิดตลาดสติกเกอร์กันยุง สบช่องเจาะกลุ่มเด็กเล็ก







     หลังจากที่ใช้เวลาเกือบครึ่งชีวิตในการทำงานเป็นพนักงานบริษัท สุดท้ายแล้วผู้ชายคนหนึ่งก็ได้ตัดสินใจลุกขึ้นเพื่อทำธุรกิจของตัวเอง ชัยสิทธิ์ สมิตชัยจุฬารักษ์ โตโต้ ผู้ที่คุ้นเคยกับการซื้อแผ่นติดกันยุงให้ลูกของเขาใช้ หลังจากที่เขาเริ่มคิดว่าทำไมในประเทศไทยจึงยังไม่มีแบรนด์ไหนที่ทำ เขาจึงได้ไอเดียที่จะทำธุรกิจนี้ขึ้นด้วยเงินเก็บที่มีจากการทำงาน หลังจากนั้นเขาก็ลาออกจากการเป็นพนักงานเพื่อทำธุรกิจเต็มตัว   


     “ที่ผมสนใจทำแผ่นติดกันยุง เริ่มมาจากการที่ผมซื้อสินค้าแบบนี้มาใช้เป็นปีเลย ให้ลูกใช้ แล้วเราก็ดูว่ามีใครบ้างที่ทำในไทย ปรากฏว่าดูแล้วไม่มีเลย มีนำเข้าจากจีนบ้าง เกาหลีบ้าง เลยเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการทำขึ้น ทีนี้พอมีไอเดียมา เราก็เริ่มมองหาโรงงานที่จะผลิตภัณฑ์แผ่นสติ๊กเกอร์ได้ ใช้เวลาอยู่พอสมควรสุดท้ายก็เจอ Supplier ที่จะผลิตให้เรา”





     แผ่นติดกันยุงของโตโต้ชื่อแบรนด์ว่า Oggy ซึ่งเป็นสติกเกอร์ที่ลอกติดตามวัสดุต่างๆ รอบๆ ตัวเด็กเพื่อใช้ในการป้องกันยุงและแมลงต่างๆ ความโดดเด่นของ Oggy คือธรรมชาติ 100% จากตะไคร้หอม ปราศจากสารเคมีและยาฆ่าแมลงที่จะทำให้ระคายเคืองผิวของเด็กน้อย นอกจากนี้ยังเป็นลายการ์ตูน 12 ราศีเพื่อให้เข้ากับความชื่นชอบของเด็กๆ อีกด้วย


     “แผ่นติดกันยุงของ Oggy ที่ขายอยู่ในปัจจุบันเป็นสินค้ารุ่นที่ 2 แล้ว เพราะว่ารุ่นแรก มันเป็นแค่สติกเกอร์ เหลืองๆ กลมๆ ไม่ดึงดูดลูกค้า เด็กๆ ก็ไม่ชอบ ผู้ปกครองก็ไม่ชอบ ทีนี้ก็มีเสียงตอบรับของผู้บริโภคบอกเราว่าลองทำแบบนี้ดูสิ เราก็เอาเสียงนั้นมาพัฒนาจนกลายเป็นรูปการ์ตูนที่มีความน่ารักขึ้น ดูภาพลักษณ์มีความเป็นสินค้าเด็กมาขึ้น”




     สำหรับใน 1 ซองของ Oggy จะมีสติกเกอร์กันยุง 12 ชิ้น 12 ราศีด้วยกัน ราคาขายอยู่ที่ 69 บาทต่อ 1 ซอง ตกชิ้นละประมาณ 5 บาท โดยโตโต้บอกว่าเขาได้ตั้งกลุ่ม Target ผู้ใช้คือกลุ่มเด็กเล็กโดยเฉพาะ เนื่องจากสินค้าประเภทนี้เหมาะสำหรับเด็กๆ ที่ยังไม่สามารถป้องกันตัวเองจากยุงได้ เมื่อเขาโฟกัสกลุ่มเป้าหมายได้ถูกจุดก็ทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น


     “ในส่วนของตัวสินค้าผมมอง Target ไว้เป็นกลุ่มตั้งแต่เด็กแรกเกิดเลย เพราะว่าสติกเกอร์นี้คุณไม่ต้องติดไว้ที่ตัวเด็กก็ได้ ติดไว้รอบๆ เด็ก ความจริงสินค้าเราก็ใช้ได้หมดทุกเพศทุกวัย แต่ที่โฟกัสเด็กโดยเฉพาะเพราะว่าผู้ใหญ่หรือเด็กโตขึ้นมาหน่อย เขาเริ่มป้องกันตัวเองจากยุงได้ ตบได้ ไล่ได้ แต่เด็กเล็กยังทำไม่ได้ ทีนี้เรามองว่าตลาดนี้ยังมีโอกาสอีกมาก ยังมีคนอีกมากมายที่ไม่รู้ว่ามีผลิตภัณฑ์แบบนี้อยู่ด้วย เวลาที่เราไปออกงานต่างๆ ก็จะมีคนเข้ามาให้ความสนใจว่ามันคืออะไร”


     ช่องทางในการขายสำหรับแบรนด์ Oggy มีอยู่ 2 ช่องทางด้วยกันคือออนไลน์ อาทิ Shopee, Lazada, 11Street ส่วนออฟไลน์ก็มีการออกงานแฟร์ต่างๆ เพื่อที่จะได้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้โดยตรง นอกจากนี้ในอนาคตโตโต้ยังได้มองถึงการขยับขยายเข้าสู่ร้านค้าสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้า เช่น โลตัสมากยิ่งขึ้น


     โดยโตโต้ได้พูดปิดท้ายถึงแนวคิดของการเป็นพนักงานเงินเดือนก่อนที่จะออกมาเพื่อตามความฝันในการทำธุรกิจว่าต้องเริ่มจากการมีเป้าหมายของตัวเอง รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร มองภาพในอนาคตของตัวเองให้ออก


     “คนส่วนใหญ่มองเขาไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไรหรือไม่รู้ว่าจะขายอะไร ผมมองว่าถ้าเขาอยากเริ่มต้นที่จะขายอะไรสักอย่าง ต้องเริ่มจากที่เขาต้องรู้ว่าลูกค้าเป็นใคร จะ Target คนกลุ่มไหน แล้วสโคปมันจะเล็กลงมา หลังจากที่คุณมีเป้าหมายแน่ชัดแล้วสิ่งที่ตามมาคือความอดทนที่จะไปให้ถึงเป้าหมายนั้น คือชีวิตที่เป็นลูกจ้างมา 10 ปี 20 ปี กว่าจะก้าวออกมาได้มันยากนะ ประสบการณ์ในการทำธุรกิจไม่มีเลย เราต้องอาศัยเวลาในการเรียนรู้ อดทนจนกว่าที่จะถึงเป้าหมาย”
 




www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน