สสว. พา SME ไทย เปิดตลาดของขวัญของชำร่วยฮ่องกง







     ฮ่องกง ถือเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงสำหรับการจัดซื้อจัดหาสินค้าประเภทของขวัญของชำร่วย เนื่องจากมีความหลากหลายของสินค้าตั้งแต่สินค้าทั่วไปจนถึงสินค้าที่มีราคาแพง อย่างเครื่องประดับและอัญมณี โดยงานแสดงสินค้า Hong Kong Gifts & Premium Fair นับเป็นหนึ่งในงานแสดงสินค้าของขวัญและของชำร่วยที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับผู้ซื้อและผู้ขายจากทั่วทุกมุมโลกในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์และทดสอบตลาด


     สำหรับในปี 2018 มีผู้เข้าร่วมงาน 4,360 บริษัท จาก 35 ประเทศ โดยมี Pavilion นานาประเทศจำนวน 7 ประเทศ ได้แก่ จีนแผ่นดินใหญ่ อินเดีย อิตาลี เกาหลีใต้ มาเก๊า ไต้หวัน และประเทศไทย ซึ่งภาพรวมอุตสาหกรรมของขวัญและของชำร่วยภายในงานปีนี้ จะพบว่ามีสินค้าคอลเลชั่นใหม่ๆ จากดีไซน์เนอร์ สินค้าแฟชั่น กรอบรูป สินค้างานฝีมือ เครื่องประดับ ร่ม ของเล่นแฟนซีต่างๆ ของตกแต่งบ้าน ของเด็กเล่น เครื่องกีฬา เครื่องเขียนและกระดาษ ไลฟ์สไตล์ ปาร์ตี้เฟสติวัล นอกจากนี้ ยังมีหน่วยงาน Hong Kong Standards  and TestingCentre ที่รับทำการทดสอบสินค้าเพื่อออกใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องใช้ใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไว้ให้บริการ



     

     สำหรับผู้ประกอบการไทย ในปีนี้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้พาผู้ประกอบการ SME จำนวน 20 รายเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Hong Kong Gifts & Premium Fair 2018 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการ SME ปี 2561


     ทั้งนี้ จากการเปิดเผยของ สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ปีนี้สินค้าไทยประเภทรักษ์โลก เป็นมิตรต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ได้รับความนิยมมากเป็นพิเศษ โดยผลิตภัณฑ์ไทยหลายรายได้รับคัดเลือกลงวารสารรายวันของ HKTDC อาทิ ผลิตภัณฑ์เบาะรองนอนสำหรับสัตว์เลี้ยงที่ผลิตจากใบกัญชงที่มีคุณสมบัติในการดูดความชื้นและกำจัดกลิ่น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ประกอบการที่มาร่วมงานต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย และมีลูกค้าเข้ามาชมสินค้าและเจรจาธุรกิจด้วยมากมายทั้งที่เป็นผู้ซื้อเก่าที่ห่างหายไป และผู้ซื้อใหม่               





     อย่างไรก็ตาม ภาพรวมผู้ประกอบการพอใจในเข้าร่วมงานในครั้งนี้ มีผู้ซื้อนานาชาติกว่า 35 ประเทศทั่วโลกให้ความสนใจในสินค้าไทย จึงถือเป็นช่องทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ช่วยในการประชาสัมพันธ์สินค้าของผู้ประกอบการสู่กลุ่มผู้ซื้อนานาชาติ สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับสำหรับตลาดต่างประเทศเนื่องจากเป็นสินค้าที่ผลิตโดยฝีมือคนไทยซึ่งใช้ทักษะความประณีต และความเชี่ยวชาญเป็นอย่างสูง มีวัตถุดิบและการออกแบบเฉพาะตัวที่แตกต่างจากคู่แข่ง มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เกิดยอดซื้อขายทันทีภายในงานมูลค่ากว่า 34 ล้านบาท และมียอดคาดการณ์จากมูลค่าการเจรจาธุรกิจไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
 

     อย่างไรก็ดี สำหรับอุตสาหกรรมของขวัญและของชำร่วยในฮ่องกงนั้น ต้องยอมรับว่าได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากเครือข่ายในอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียงกัน ยกตัวอย่าง ของเล่น หรือ นาฬิกา ซึ่งต้องอาศัยอุตสาหกรรมการผลิตแบบพิมพ์และอุตสาหกรรมนาฬิกาที่ต้องอาศัยชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมเหล็กในการผลิตตัวเรือนและชิ้นส่วนบนตัวเรือน เป็นต้น โดยฮ่องกงมีตลาดการส่งออกหลักที่สำคัญ 2 ตลาด คือ สหรัฐอเมริกาและยุโรป





     นอกจากนี้ แนวโน้มสินค้าและกลุ่มเป้าหมายตลาดกลางและบน ควรเน้นการออกแบบและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาผสมผสาน และการผลิตสินค้าในปริมาณมากด้วยราคาที่แข่งขันได้ อาทิ เสื้อยืด หมวก พวงกุญแจ นาฬิกา พลาสติก และของใช้อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ฮ่องกงยังเป็นการพึ่งพาการผลิตแบบรับจ้างผลิตและออกแบบเป็นส่วนใหญ่ การขยายเครือข่ายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการฮ่องกงโดยมากจะใช้โอกาสจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าต่างๆ นั่นเอง
 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี 

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน