​SME Matching Day 2018 ทางลัด SME จับคู่ธุรกิจ ขยายตลาดใหม่ “ไทย-อินเตอร์”






              
     เชื่อได้ว่า SME ทุกคนอยากเติบโต อยากจะขยายตลาดออกไปให้กว้างขึ้น เพราะยิ่งมีลูกค้ามากขึ้น ยอดขายก็จะมากขึ้นและการเติบโตก็ตามมา แต่ที่ผ่านมาด้วยศักยภาพของ SME โดยลำพัง อาจเป็นเรื่องยากที่จะขยับขยายช่องทางจัดจำหน่ายไปในวงกว้าง ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศ หรือต่างประเทศก็ดี จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) เพราะการจับคู่ธุรกิจนั้น จะทำให้ SME ได้รับประโยชน์ในหลายๆ ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น


     1.ช่วยลดต้นทุน –  เพราะการทำธุรกิจนั้นหากต้องลงทุนทำเองไปเสียทุกอย่าง ย่อมเกิดภาระและต้นทุนต่างๆ ตามมามากมาย


     2.ช่วยเปิดตลาดใหม่ๆ  - ทั้งการช่วยกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ด้วย


     3.ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน – การได้คู่ค้าที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เข้ามาช่วย จะสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจได้ รวมถึงมีอำนาจในการต่อรองที่มากขึ้นด้วย


     4.ช่วยให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น – การต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ทุกเรื่อง อาจทำให้ SME เดินไปได้ช้า แต่หากมีคู่ค้าที่ดี จากแรงเดียว ก็กลายเป็นสองแรง ทำให้สามารถเดินได้เร็วขึ้น


     แม้การจับคู่ธุรกิจจะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ใช่ว่าเมื่อ SME คิดอยากจะจับคู่ธุรกิจ ก็สามารถเดินไปหาคู่ค้าหรือช่องทางจัดจำหน่ายได้ทันทีอย่างที่ใจคิด บอกได้เลยว่าไม่ใช่เรื่องง่าย จะดีกว่าไหม ถ้ามี “ทางลัด” ที่จะช่วยให้การจับคู่ธุรกิจระหว่าง SME กับคู่ค้าต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพียงแค่มาที่งาน SME Matching Day 2018 งานจับคู่ธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี ที่ได้รวมช่องทางจัดจำหน่ายทั้งไทยและต่างประเทศรวม 20 ช่องทางมาไว้ในงานเดียว


     ทั้งนี้ งานดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและบริษัท บางกอกโพสต์ จำกัด (มหาชน) โดยจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และปีนี้มาภายใต้ธีม “มหกรรมจับคู่ธุรกิจสู่ตลาดไทย-อินเตอร์” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 2-3 สิงหาคม 2561 ณ ห้องบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซนทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เรียกได้ว่า นอกจากผู้ประกอบการจะได้มาพบปะเจรจาธุรกิจแล้ว ในงานนี้ยังมีการสัมมนาให้ความรู้ ตลอดจนการให้คำปรึกษาการจัดการธุรกิจจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างโอกาสให้ SME ไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่งอีกด้วย
โดยไฮไลท์ของงาน SME Matching Day 2018 ในครั้งนี้ จะเป็นการเปิดโอกาสให้ SME ได้พบกับคู่ค้าและช่องทางจัดจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องด้วยเล็งเห็นถึงเทรนด์อีคอมเมิร์ซที่กำลังเติบโต และเทรนด์การค้าระหว่างประเทศที่ได้พัฒนาไปสู่ยุคดิจิทัลเช่นกัน หากสามารถช่วย ให้ SME นำสินค้าเข้าไปจำหน่ายผ่านช่องทางจัดจำหน่ายขนาดใหญ่ หรือช่องทางออนไลน์ชื่อดังต่างๆ ได้จะเป็นการช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคในวงกว้างมากขึ้น


     สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจอยากพบคู่ค้าที่เป็นช่องทางจัดจำหน่ายในประเทศ ต้องมาในวันที่ 2 สิงหาคม 2561 นี้ เพราะท่านจะได้พบกับ 14 ช่องทางที่จะช่วยขยายตลาดในประเทศ ประกอบด้วย ช่องทางค้าปลีก-ค้าส่ง เช่น ซี.เจ.เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป, เอฟเอ็น แฟคทอรี่ เอ้าท์เลท, แม็คโคร, สพาร์, เล้งเส็ง ซูเปอร์สโตร์, เดอะมอลล์ กรุ๊ป จิฟฟี่, แม็กซ์มาร์ท, และท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ช่องทางออนไลน์ในประเทศ เช่น ลาซาด้า, แม็คโครคลิก, ทีวีไดเร็ค ออนไลน์ช้อปปิ้ง และทเวนตี้โฟร์ ช้อปปิ้ง และกลุ่มช่องทางตัวแทนจำหน่าย เช่น สหพัฒน์


     แต่หาก SME รายไหนกำลังคิดจะขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศ ต้องไม่พลาดวันที่ 3 สิงหาคม 2561 ซึ่งจะเป็นการจับคู่ธุรกิจกับช่องทางออนไลน์ต่างประเทศ 6 ช่องทาง ประกอบด้วย shop.com.mm อีคอมเมิร์ช อันดับ 1 ในเมียนมา  tiki.vn หนึ่งในอีคอมเมิร์ชของเวียดนามที่เติบโตเร็ว  SFBest.com กลุ่มโลจิสติกล์อันดับ 1 ของจีน  VIP.com เจ้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ในจีน eBay.com อีคอมเมิร์ชระดับโลกจากสหรัฐอเมริกาที่มีลูกค้าอยู่ทั่วโลก GoSoKo.com จากกลุ่มประเทศแอฟริกาตะวันตก ซึ่งช่องทางเหล่านี้จะทำให้ SME ของไทยสามารถเข้าถึงผู้บริโภคผ่านอีคอมเมิร์ชดังกล่าวได้กว่า 500 ล้านคน





     จากการเปิดเผยของ สุรัตน์ ลีลาทวีวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การจัดงาน SME Matching Day ในแต่ละปีนั้นมี SME สมัครเข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นปีละ 20% แม้จะมีผู้ประกอบการให้ความสนใจมากขึ้นทุกปี แต่ยังปัญหาสำคัญที่ทำให้ SME ไม่ผ่านการคัดเลือกจากช่องทางจัดจำหน่าย  อย่างแรกคือ บรรจุภัณฑ์และฉลาก  ต่อมาคือสินค้าไม่ตรงกลุ่มลูกค้าของช่องทางจัดจำหน่าย  นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการตั้งราคาที่สูงเกินไป รวมถึงเรื่องของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ไม่ได้มีการศึกษาข้อมูลและกลุ่มลูกค้าของช่องทางที่จะเข้าจำหน่ายว่าเหมาะกับสินค้าตนเองหรือไม่ รวมถึง SME มีต้นทุนที่สูง จึงไม่สามารถตั้งราคาขายที่สามารถแข่งขันได้ เมื่อ SME รู้ถึงปัญหาเช่นนี้ อาจต้องมีการเร่งปรับปรุงพัฒนา เพื่อทำให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐานตรงกับความต้องการของช่องทางจัดจำหน่าย


     อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากที่ผู้ประกอบการจะได้พบปะเจรจาธุรกิจแล้ว ในงานนี้ SME ยังจะได้รับองค์ความรู้กลับไปพัฒนาธุรกิจอีกด้วย ทั้งนี้ โชคดี วิศาลสิงห์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการธุรกิจหนังสือพิมพ์ ดิจิตอลมีเดีย และนิตยสาร บริษัท บางกอก โพสต์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในงาน SME Matching Day 2018 นี้จะมีหัวข้อสัมมนาที่เป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการในการทำธุรกิจ ทั้งเรื่องของอีคอมเมิร์ซที่มีบทบาทมากในยุคปัจจุบัน เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่ SME ต้องให้ความสำคัญในยุคของการทำธุรกิจที่ต้องใช้นวัตกรรม พร้อมทั้งยังมีความรู้เรื่องตลาดอินเดียที่ถือเป็นตลาดใหญ่และตลาดใหม่ในการเพิ่มโอกาสทางการค้าอีกด้วย นอกจากนี้ ภายในงานยังมีโอกาสพูดคุยกับเจ้าของธุรกิจที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด


     และพิเศษมากที่สุดในปีนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อมในการร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจในปีนี้ สามารถรับชมการ Live สดผ่านเฟซบุ๊ก posttoday Fanpage เพื่อสอบถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับช่องทางต่างๆ ทั้งกลุ่มค้าส่ง-ค้าปลีก กลุ่มออนไลน์ และตัวแทนจำหน่าย ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเตรียมตัวเข้าร่วมงานในปีต่อๆไป
               

     สำหรับผู้ประกอบการ SME ที่สนใจเข้าร่วมจับคู่ธุรกิจในงาน SME Matching Day 2018 สามารถสมัครและลงทะเบียนได้ที่นี่ ตั้งแต่วันนี้ถึง 10 มิถุนายน 2561 และในปีนี้คาดว่าจะมีผู้ประกอบการสมัครเข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจประมาณ 1,000 ราย
 




 

 ​www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน