TCDC เปิดช่องทางหนุนวัสดุไทยไปสู่ตลาดโลก







     ประเทศไทยคือประเทศหนึ่งที่สามารถผลิตวัสดุที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ประเทศหนึ่งของโลก วัสดุจากประเทศไทยจึงเป็นที่ต้องการจากผู้ผลิตในอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีศักยภาพสูง ด้วยภูมิอากาศและภูมิประเทศที่เอื้อต่อการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ รวมถึงประเทศไทยมีภูมิปัญญาและความสามารถในการพัฒนาทรัพยากรให้กลายเป็นวัสดุการผลิตที่มีคุณภาพ อาทิ การนำคราม พืชท้องถิ่นประจำภาคอีสาน มาย้อมผ้าและนำไปเป็นวัสดุเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ เสื้อผ้าและกระเป๋า จนได้รับความนิยมไปทั่วโลก



   

     กิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า จากศักยภาพของวัสดุไทย ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการเจ้าของวัสดุและประเทศชาติ จากการส่งออกไปยังผู้ผลิตทั่วโลก ศูนย์นวัตกรรมด้านวัสดุและการออกแบบ (Material & Design Innovation Center) โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จึงเปิดรับการนำเสนอวัสดุจากผู้ประกอบการวัสดุชาวไทย เพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการวัสดุชาวไทย ที่สามารถพัฒนาวัสดุให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้มีโอกาสในการสร้างรายได้จากการส่งออกไปสู่ผู้ผลิตทั่วโลก ด้วยการเปิดช่องทางการนำวัสดุไทยไปสู่ตลาดโลก (Material Submission) โดยวัสดุที่ได้รับคัดเลือกจะถูกนำเข้าสู่ฐานระบบฐานข้อมูลวัสดุไทย (TCDC Materials Database) และฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์ของ แมททีเรียล คอนเนคชัน (Material ConneXion®) รวมถึงนำไปจัดแสดง ณ ต่างประเทศ อาทิ นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมืองบิลเบา ประเทศสเปน เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี และเมืองแดกู ประเทศเกาหลีใต้





     ทั้งนี้ มีวัสดุจากประเทศไทยจำนวนมากกว่า 400 ชนิด อยู่ในระบบฐานข้อมูลวัสดุไทยและฐานข้อมูลวัสดุออนไลน์ของแมททีเรียล คอนเนคชัน ที่สามารถสร้างรายได้เป็นเม็ดเงินจำนวนมหาศาลจากการส่งออกไปยังผู้ผลิตจากทั่วโลก อาทิ สิ่งทอไหมไทย ที่ สามารถสร้างรายได้กว่า 26 ล้านบาทต่อปี จากการส่งออกไปยังผู้ผลิตเครื่องนุ่งห่มทั่วโลก รวมถึงผ้าใยกัญชงหรือผ้าเฮมพ์ ที่สามารถส่งออกไปสู่บริษัทรองเท้าผ้าใบยี่ห้อดังจากประเทศสหรัฐอเมริกาและบริษัทผู้ผลิตเครื่องหนังชั้นนำจากประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ที่สนใจสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุต่างๆ รวมถึงสามารถหาแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วัสดุได้ที่ materials.tcdc.or.th และ th.materialconnexion.com 





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน