​REFILL STATION แบ่งน้ำยาใส่ขวด แบ่งใจใส่โลก





               

     คงมีบ้างที่เราจะเห็นคนถือแก้วน้ำส่วนตัวไปซื้อเครื่องดื่มตามร้านต่างๆ แล้วได้ส่วนลด แต่จะมีสักกี่คนที่พกขวดเปล่ามาจากบ้านเพื่อมาซื้อน้ำยาต่างๆ อย่าง ครีมอาบน้ำ แชมพู โฟมล้างหน้า หรือกระทั่งน้ำยาล้างจาน แต่คำตอบคือ มีคนที่ทำแบบนี้จริงในเมื่อมีร้านที่แบ่งขายน้ำยาเหล่านี้อยู่
               

     ร้านที่ว่าคือ Refill Station ปั๊มน้ำยา ซึ่งริเริ่มโดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่อง Zero Waste อย่าง สุภัชญา เตชะชูเชิด, ปภาวี พงศ์ธนาวรานนท์ และ ชนินทร์ ศรีสุมะ ด้วยความคิดที่อยากจะสร้างร้านค้าทางเลือกให้สังคมลดการสร้างขยะพลาสติก
    

      
   
     ร้านเล็กๆ ของพวกเธอที่ซอยสุขุมวิท 77/1 วางขวดแกลลอนน้ำยาสารพัดชนิดและแบ่งขายตามน้ำหนักให้กับลูกค้าที่นำขวดบรรจุภัณฑ์มาจากที่บ้าน หรือหากไม่ได้เตรียมมาก็สามารถซื้อขวดในร้านได้
               

     แนวคิดธุรกิจนี้มีประโยชน์ทั้งต่อฝั่งผู้บริโภคและผู้ผลิต ฝั่งผู้บริโภคได้ซื้อของในราคาที่ถูกลง ราคาน้ำยาต่างๆ ที่ขายจะถูกกว่าราคาค้าปลีกทั่วไป และได้ทดลองใช้สินค้าบางอย่างก่อนโดยเฉพาะสินค้าออร์แกนิกที่มีราคาค่อนข้างแพง เมื่อได้ทดลองแล้วว่าดีจริงค่อยลงทุนซื้อมากขึ้นในครั้งต่อไป ทั้งยังตอบโจทย์ผู้หญิงที่ชอบเปลี่ยนผลิตภัณฑ์บ่อยๆ ให้ได้ทดลองสินค้าที่อยากลองในปริมาณที่ต้องการใช้จริง
        

       

     ในมุมของผู้ผลิต นี่คือช่องทางให้ผู้ผลิตรายย่อยได้นำเสนอสินค้าใหม่ๆ สู่ท้องตลาด ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้สินค้าก่อน ทั้งยังเป็นการช่วยลดค่าบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าปลีกลง
               

     “สินค้าบางอย่างที่เราเห็นว่าขวดสวยๆ ทั้งขวดพลาสติก ฉลากหรือแม้กระทั่งพลาสติกสำหรับซีลล้วนเป็นต้นทุนทั้งนั้น ผู้ผลิตบางรายบอกว่าต้นทุนค่าขวด 40-50 บาทเลยทีเดียว โดยเฉพาะสินค้าออร์แกนิกที่ผู้ผลิตมักเป็นรายย่อย ไม่ใช่ผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีโรงงาน ค่าบรรจุภัณฑ์ของเขาจะแพงกว่าสินค้าตามท้องตลาดทั่วไป”


                

      ซึ่งในมุมคนกลางอย่าง Refill Station อยากให้เป็นการสร้างคอมมูนิตี้ขึ้นมาเพื่อให้ความรู้ผู้คน รวมถึงคาดหวังว่าจะเป็นโมเดลธุรกิจที่อยู่รอดให้คนอื่นเห็นและกระจายไปอีกหลายร้านในเมืองไทย


     “มีคนถามว่าจะเปิดแฟรนไชส์ไหมหรือเขาเอาไปทำได้ไหม เราก็ยินดีมากๆ ให้คนเอาโมเดลนี้ไปทำโดยไม่ต้องใช้ชื่อ รีฟิลเลยก็ได้ สุดท้ายเราอยากเห็นว่ามีรีฟิลอยู่ใต้หอพัก ใต้คอนโดมิเนียม ที่ที่คนจะสะดวกมากขึ้น จ่ายน้อยลง และเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างขยะได้จริงๆ”


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน