สสว. ลุยเปิด 4 โครงการ สร้างโอกาสให้ SME







     เพราะเดินคนเดียวไปได้ไม่ไกล หากอยากไปไกล ต้องไปด้วยกัน คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอ เหมือนเช่นโอกาสของผู้ประกอบการ SME ที่แม้จะช่วยผลักดันให้สามารถเติบโตขึ้นได้ระดับหนึ่ง แต่การจะประสบความสำเร็จในธุรกิจได้นั้น ต้องใช้ปัจจัยด้วยกันหลายส่วน ด้วยเหตุนี้ สำนักงานวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้เล็งถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดงาน ‘วันของ SME : Together We Are One’ ขึ้น เพื่อเปิดตัว 4 โครงการ จับมือร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริม ขยายช่องทางและโอกาสในการทำธุรกิจของ SME ให้ไปถึงฝังฝัน และสร้างมูลค่าให้เศรษฐกิจของประเทศกว่า 3 พันล้านบาท


โดยงานครั้งได้มีการเปิดตัว 4 โครงการ ได้แก่ 
   
     1. โครงการพัฒนาสู่สุดยอดเอสเอ็มอีจังหวัด (SME Provincial Champions) ในการก้าวสู่ Thailand 4.0 เป็นโครงการสร้างต้นแบบธุรกิจที่มีศักยภาพให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับจังหวัด และเป็นกำลังสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะเปิดรับสมัครเอสเอ็มอีในกลุ่มที่เพิ่งดำเนินธุรกิจ (Start Up) เอสเอ็มอีที่มีศักยภาพในการตลาด (Rising Star) และกลุ่มเอสเอ็มอีที่อยู่ในช่วงฟื้นตัว (Turn Around)

     
     โดยตั้งเป้าหมายจะจัดอบรมให้ความรู้แก่เอสเอ็มอี พัฒนาผลิตภัณฑ์ และยกระดับสถานประกอบการให้ได้อย่างน้อย 462 รายหรือผลิตภัณฑ์หรือสถานประกอบการ รวมถึงจะพาเข้าร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้า งานเจรจาธุรกิจภายในประเทศ 100 ราย นอกจากนี้ยังสร้างต้นแบบผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจังหวัดอย่างน้อย 77 ราย เพื่อเป็นต้นแบบถ่ายทอดความรู้ธุรกิจสู่เอสเอ็มอีในภูมิภาค สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน และเป็นการขยายธุรกิจอย่างยั่งยืน


     2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ตลาดสากล เป็นโครงการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับมาตรฐาน เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า และยกระดับศักยภาพสินค้าสู่ตลาดสากล โดยพัฒนาทั้งผลิตภัณฑ์ (Product) และบรรจุภัณฑ์สินค้า (Package) ในกลุ่มสินค้าอาหารถิ่น สมุนไพร และเครื่องสำอาง ให้คงมีอัตลักษณ์ถิ่นและมีการออกแบบ (Design) บรรจุภัณฑ์ ตลอดจนยืดอายุการเก็บรักษา (Shelf life) ตามความต้องการของตลาด

     
     ทั้งนี้ ตั้งเป้าหมายจะอบรมให้องค์ความรู้แก่เอสเอ็มอีและพัฒนาสินค้าด้านต่างๆแก่ผู้ประกอบการ จำนวน 2,000 ราย และจะคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพเหมาะสมเข้าสู่การพัฒนาเชิงลึกไม่น้อยกว่า 1,000 ผลิตภัณฑ์ คาดว่าจะก่อให้เกิดรายได้กับผู้ประกอบการไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท


     3. โครงการพัฒนาช่องทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี เป็นการยกระดับขีดความสามารถแข่งขันของเอสเอ็มอีทั้งตลาดในและต่างประเทศ โดยส่งเสริมสินค้าหรือบริการให้ได้รับการพัฒนา ผ่านการรับรองมาตรฐาน จัดอบรม พาผู้ประกอบการเข้าร่วมกิจกรรมแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่าย และพันธมิตรทางการค้าให้แก่ผู้ประกอบการ รวมถึงสร้างโอกาสในการขยายตลาดไปยังต่างประเทศที่มีศักยภาพ ส่วนใหญ่เป็นสินค้าหรือบริการเจาะกลุ่มลูกค้าระดับบน สินค้าฮาลาล สินค้าเพื่อสุขภาพ ออร์แกนิค เป็นต้น


     4. โครงการสนับสนุนเครือข่ายเอสเอ็มอี (Cluster) เป็นการพัฒนาเอสเอ็มอีโดยส่งเสริมให้เกิดมีการรวมกลุ่มหรือสร้างเครือข่ายเน้นทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้เป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งทั้งยกระดับผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น เพิ่มช่องทางการตลาดที่เหมาะสมกับเครือข่าย

     
     โดยตั้งเป้าหมายจะมีเอสเอ็มอีเข้าร่วมโครงการ 4,000 ราย เครือข่ายที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจด้านต่างๆ ของเอสเอ็มอี 30 เครือข่าย (มะพร้าว 10 เครือข่าย กล้วย 7 เครือข่าย สมุนไพร 5 เครือข่าย มวยไทย 3 เครือข่าย Digital Content 3 เครือข่าย และ Food Truck 2 เครือข่าย) สร้างผู้นำเครือข่ายและผู้ประสานงานเครือข่าย 90 ราย ผู้ประกอบการนำนวัตกรรม เทคโนโลยี งานวิจัยมาเพิ่มศักยภาพธุรกิจ 30 ราย คาดว่าจะช่วยให้ SME ลดต้นทุนดำเนินธุรกิจลงได้ประมาณ 100 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้ระบบเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 90 ล้านบาท





     นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนาม MOU ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ อีก 2 ฉบับ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ-เอกชน 19 แห่ง เพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนาโค้ชหรือที่ปรึกษาด้านธุรกิจและเทคโนโลยี โดยแบ่งโค้ชออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ โค้ชรับปรึกษาปัญหาทั่วไปและปูพื้นฐานเอสเอ็มอีก้าวสู่ 4.0 (Biz Mentor) โค้ชที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Tech Expert) และโค้ชที่เป็นผู้บริหารระดับสูงจากหน่วยงานรัฐ-เอกชนทั้งในและต่างประเทศ (Biz Transformer) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เอสเอ็มอีไทย โดยตั้งเป้าหมายในช่วง 3 ปีจะผลิตโค้ชไม่ต่ำกว่า 2,200 ราย และพัฒนาเอสเอ็มอี 10,000 ราย พร้อมทั้งสร้างระบบข้อมูลโค้ชของหน่วยงานรัฐ เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางให้คำปรึกษาและจับคู่ช่วยเหลือเอสเอ็มอีแต่ละพื้นที่ได้โดยตรง


     และฉบับที่ 2 คือ การลงนามร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ ในกิจกรรม “จัดทำองค์ความรู้ และสร้างการรับรู้ธุรกิจ 4.0” เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มสหกรณ์ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศและให้ความสำคัญกับชุมชน เพื่อยกระดับกระบวนการผลิต การดำเนินธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในระยะแรกจะเน้นที่กลุ่มสหกรณ์การเกษตร ประมง และบริการ

     
     โดยจะคัดเลือก 100 สหกรณ์ เข้ารับการอบรมการดำเนินธุรกิจยุค 4.0 หลังจากนั้นจะคัดเลือกจำนวน 36 สหกรณ์ มารับการพัฒนาเชิงลึกตามผลการประเมินตัวเอง ลงพื้นทีให้คำปรึกษาแก่สหกรณ์ และสรุปผลการพัฒนาจัดทำเป็นโมเดลต้นแบบสหกรณ์ เพื่อการพัฒนาสหกรณ์อื่นต่อไป


     ทั้งนี้ สุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า การจะทำให้การพัฒนา SME ไทยให้สามารถเติบโตแข็งแรงได้นั้น นอกจากการสนับสนุนและส่งเสริมจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว ผู้ประกอบการ SME ต้องมีแนวคิดที่ดีที่จะคิดเปลี่ยนแปลงตนเองด้วย


     “การยกระดับธุรกิจได้ ผู้ประกอบการ SME ต้องเริ่มต้นจากการปรับ mindset หรือกระบวนการคิดก่อน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก ซึ่งในปีนี้เองนอกจากการเปิดตัวโครงการต่างๆ ขึ้นในวันนี้ สสว.เอง ยังมีอีกหลายโครงการและกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริม SME กลายเดือนนับจากนี้เราพยายามเปิดช่องทางการค้าในตลาดต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการ SME เพิ่มมากขึ้นด้วย ทั้งช่องทางการขายหรือการทำ business matching เองในตลาดประเทศต่างๆ อาทิ ฮ่องกง ญี่ปุ่น อิโดนีเซีย อินเดีย จีน เป็นต้น ซึ่งกาก SME ท่านใดสนใจสามารถมาร่วมเป็นเครือข่ายกับสสว.ได้ เรามองว่าการเชื่อมโยงตลาดเข้าสู่สากลได้ จะทำให้เกิดความยั่งยืนต่อไป” ผู้อำนวยการสสว.กล่าว


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน