​Kalis Activewear ชุดออกกำลังกายที่ฟังก์ก็ได้ ดีไซน์ก็โดน!




 

     แม้จะไม่ใช่เทรนด์ใหม่ แต่เรื่องของสุขภาพยังเป็นท็อปปิคฮิตที่ถูกพูดถึงมาหลายปี ทำให้แบรนด์อย่าง Kalis Activewear เห็นช่องทางและโอกาสของการผลิตเสื้อผ้าออกกำลังกายและเล่นกีฬาที่ออกแบบมาเพื่อผู้หญิงโดยเฉพาะ


     จากการเปิดเผยของ กัลยดา โลหเจริญวนิช ผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ Kalis Activewear บอกว่า เริ่มทำแบรนด์มาได้ประมาณ 2 ปี โดยเป็นโปรดักต์ที่ดีไซน์มาสำหรับผู้หญิงที่สนใจในการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาอย่างจริงจัง แม้มีอาชีพหลักเป็นสถาปนิก แต่ด้วยความรักในงานดีไซน์และความใส่ใจในเรื่องของสุขภาพจึงเป็นที่มาของไอเดียการทำธุรกิจ

 



     “เริ่มต้นเลยคือเราอยากทำธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับวงการสุขภาพ แต่ก็ไม่อยากไปขายอาหารเสริม ขายวิตามิน มันไม่ใช่แนวเรา และเราก็อยากออกแบบอะไรสักอย่าง จะทำร้านอาหารก็ไม่ถนัด ส่วนตัวเป็นคนชอบกินอาหารสุขภาพ อีกทั้งเป็นความบังเอิญที่ได้ไปเจอกับพาร์ทเนอร์ที่มีโรงงานผลิตอยู่แล้ว เป็นโรงงานใหญ่ที่มีมาตรฐาน เลยมีการคุยกันว่าเราอยากออกแบบชุดออกกำลังกาย อยากให้คนไทยมีชุดออกกำลังกายที่มีดีไซน์สวยเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งนอกจากแบรนด์ต่างประเทศ ซึ่งแบรนด์ของเราจะเน้นโปรดักต์ที่เป็น activewear คือชุดสำหรับการออกกำลังกายอย่างจริงจังผสมผสานกับการออกแบบดีไซน์และคุณภาพอย่างลงตัว”


   เพราะจุดประสงค์ในการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญ การออกแบบเสื้อผ้าให้ออกมาเหมาะสมกับการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ทางแบรนด์คำนึงถึง





     “จริงๆ แล้วเสื้อผ้าออกกำลังกายกับเสื้อผ้าแฟชั่นมีความแตกต่างกันพอสมควร ถ้าลองศึกษาดูลึกๆ จริงๆแล้วจะรู้ว่าเสื้อผ้าออกกำลังกายมันไม่ใช่แค่หน้าตาสวยงามอย่างเดียว มันต้องมีเรื่องของฟังก์ชั่นเข้ามาด้วย เช่น เอาไปใส่เพื่อวิ่ง เอาไปเล่นโยคะ ปั่นจักรยาน มันมีความแตกต่างกันอยู่เยอะ รวมถึงเรื่องของผ้า วัสดุที่นำมาใช้ต้องตอบสนองการใช้งาน ที่ต้องมีความทน มีคุณภาพซึ่งเป็นรายละเอียดที่เราต้องศึกษา”


     หากให้มองถึงกระแสของคนรักสุขภาพและการออกกำลังกาย กัลยดา บอกว่า เทรนด์ของสุขภาพมันเริ่มมีมาตั้งแต่ช่วง 2010 ต้นๆ โดยเฉพาะในปัจจุบันถ้าพูดถึงสปอร์ตแวร์ ใครๆ ก็พูดถึงชุดออกกำลังกาย กว่าครึ่งหนึ่งของเสื้อผ้าที่คนซื้อใหม่ก็คือชุดออกกำลังกาย


     “ทุกวันนี้เราจะเห็นว่ามีแผนกขายเสื้อผ้าออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในห้างสรรพสินค้า เพราะเดี๋ยวนี้คนใส่เทรนด์ที่เรียกว่า athleture คือ athlete กับ leisure มิกซ์กัน เป็นเทรนด์ตอนนี้ที่ฮิตกันทั่วโลกทั้งฝั่งออสเตรเลียและ อเมริกา”


     สำหรับแผนการตลาดของทางแบรนด์นั้นจะเน้นไปที่การออกแบบดีไซน์ชุดให้มีความแตกต่างและตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคมากขึ้น


     “ถ้ามองในเรื่องของแผนการตลาด เราไม่ได้เน้นหนักเท่ากับการคิดและออกแบบ ตอนนี้เรามีการวางขายในห้างเซ็นทรัล 5 สาขา นอกจากขายทางออนไลน์ การที่เราเอาโปรดักต์ไปขายในห้าง พอคนเห็นเสื้อผ้าแล้วหยิบก็ถือเป็นการมาร์เก็ตติ้งไปในตัว นอกจากนี้เรายังมองไปถึงการขายแบบ wholesale ในต่างประเทศอย่างอเมริกาควบคู่ไปกับการขายในประเทศอีกด้วย”



 

   ยุคนี้เรื่องการโปรโมทสินค้าคงหนีไม่พ้นการใช้คนดังหรือมีชื่อเสียงเข้ามาช่วย โดยทาง กัลยดา บอกว่า
ตอนแรกทางแบรนด์ก็ใช้ดาราเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้วเพราะลูกค้าไม่ใช่กลุ่มคนที่ซื้อตามดารา


     “แทนที่จะเป็นดารา กลุ่มคนรักสุขภาพจะเชื่อ Influencers ที่เป็นคนออกกำลังกายจริงๆเช่น เทรนเนอร์ที่ดัง คนออกกำลังกายที่ดัง เพราะบางทีดารามีการช่วยโปรโมทสิ่งค้าหลายอย่างจนเราไม่รู้ว่าเขาใช้อะไรบ้างหรือรู้ว่าจริงๆแล้วเขาก็ไม่ได้ใช้ เพราะฉะนั้นผู้บริโภคจะซื้อตามคนที่ใช้จริงๆ เช่น คนสอนขี่จักรยาน ครูสอนออกกำลังกาย”


     สุดท้ายทางผู้ร่วมก่อตั้งแบรนด์ ฝากว่า สุขภาพจะไม่ใช่เทรนด์อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นเรื่องของไลฟ์สไตล์ จะเป็นเรื่องที่ผู้คนซึมซับไปในตัว เพราะฉะนั้นการทำผลิตภัณฑ์ต้องมีการเรียนรู้ทั้งเรื่องของนวัตกรรม ฟังก์ชั่นการใช้งานและคุณภาพของวัสดุเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน