เจาะเหตุผล ทำไมแฟรนไชส์ยังเป็นธุรกิจดาวรุ่งของคนยุคใหม่







     ทุกวันนี้ คนเริ่มหันมาทำธุรกิจแฟรนไชส์มากขึ้น เพราะถือเป็นธุรกิจที่มีคนตั้งต้นมาให้พร้อมเสร็จสรรพด้วยผลิตภัณฑ์ ตราสัญลักษณ์ รวมถึงองค์ความรู้และการบริหารจัดการ โดยเฉพาะคนยุคใหม่ที่อยากมีกิจการและลองชิมลางการทำธุรกิจเพื่อลดความเสี่ยงจากการขาดประสบการณ์


     จากการเปิดเผยของ วีระกิตติ์ เจริญวิหพันธ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์และกระบวนการธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ ธนาคารกสิกรไทย ในงาน KBank Franchise Expo 2018 กล่าวว่า ปัจจุบันภาพรวมมูลค่าทางการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์มีมากกว่า 2 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ถือว่าค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับจีดีพีของประเทศซึ่งมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 2 - 4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี


     “แนวโน้มของธุรกิจแฟรนไชส์มีทิศทางการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีเปอร์เซ็นต์การขยายตัวด้วยเลขสองหลักต่อปี ถือเป็นกำลังสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่ผลักดันให้เศรษฐกิจไทยมีการเติบโต โดยปัจจุบันคาดว่ามีแบรนด์แฟรนไชส์ หรือ Franchisor ในประเทศไทยอยู่ที่ 400 - 500 แบรนด์ และมีจำนวนสาขาหรือ Franchisee ราวแสนราย ซึ่งเพิ่มจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วที่มีอยู่ประมาณ 90,000 – 95,000 ราย”


     พร้อมกันนี้ เปิดเผยถึงเหตุผลที่ทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ ยังคงเป็นดาวรุ่งและมีคนสนใจอยากจะที่จะลงทุน มีดังนี้
 

คนรุ่นใหม่เรียนจบ ไม่อยากเป็นมนุษย์เงินเดือน

     คนรุ่นใหม่เริ่มไม่อยากเป็นพนักงานเงินเดือน จบมาแล้วก็อยากเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งการเริ่มต้นทำธุรกิจผ่านระบบแฟรนไชส์เป็นทางเลือกหนึ่งของคนกลุ่มนี้
 

ค่าครองชีพสูง รายได้ประจำไม่เพียงพอ

     ค่าครองชีพในปัจจุบันค่อนข้างสูง เช่น พนักงานเงินเดือน 20,000 – 30,000 บาท และอัตราการเติบโตของเงินเดือนต่อปีอาจจะอยู่ที่ 3 - 7 เปอร์เซ็นต์ขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจและผลงาน ซึ่งดูแล้วอาจเพียงพอในการเลี้ยงดูตัวเอง แต่เมื่อก้าวเข้าสู่การมีครอบครัวและลูก ในขณะที่การเติบโตของรายได้มีอัตราเท่าเดิม แต่รายจ่ายกลับเพิ่มขึ้นกลายเป็นว่าค่าครองชีพมีการเติบโตเร็วแซงรายได้ จึงทำให้คนเริ่มหันมาจับการทำธุรกิจโดยเฉพาะระบบแฟรนไชส์มากขึ้น
 

ธุรกิจเดิมแข็งแรง ต่อยอด แตกไลน์

     ผู้ประกอบการบางคนแข็งแรงแล้วในธุรกิจของตัวเอง อย่างทำธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง รับเหมาก่อสร้าง แล้วรู้สึกอยากหาธุรกิจอื่นเพื่อมาเสริมความแข็งแรงทางด้านการเงินของตัวเอง แต่มีความไม่ถนัดในการทำธุรกิจอื่นจึงเริ่มจากการทำธุรกิจแฟรนไชส์
 




ปล่อยเงินไว้เฉยๆ ผลตอบแทนน้อย

     บางคนมีเงินออม หรือในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยเกษียณที่มีเงินก้อน รู้สึกว่าการปล่อยเงินในบัญชีไว้เฉยๆ มันไม่ค่อยออกดอกออกผลเท่าไหร่ จึงอยากทำธุรกิจ แต่จะไปเริ่มเอง เปิดร้านเอง ก็มีความเสี่ยงว่าจะรอดหรือไม่ ธุรกิจแฟรนไชส์จึงเป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่ง
 

พ่อแม่ยุคใหม่ เลี้ยงลูกเป็นเถ้าแก่

     พ่อแม่ในปัจจุบันสอนลูกให้เป็นเถ้าแก่ เช่น สอนให้ลูกขายของตั้งแต่เด็ก หรือในบางกรณีที่ลูกไม่อยากเข้ามารับช่วงต่อกิจการของครอบครัวและไม่อยากทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน คนเหล่านี้จึงมองหาทางออกด้วยการทำธุรกิจแฟรนไชส์
 

ชีวิตคนเมืองกระจายทั่วประเทศ

     ปัจจุบันความเป็นเมืองกระจายสู่ต่างจังหวัดมากขึ้น เช่นมีการเปิดห้างสรรพสินค้าใหม่ในจังหวัดต่างๆ มากขึ้น ผู้ประกอบการจึงเริ่มเห็นช่องทางในการขายเพิ่มขึ้น ด้านผู้บริโภคก็อยากให้มีแบรนด์หลากหลายมาขายในจังหวัดของตัวเอง
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน