​วิเคราะห์เทรนด์ธุรกิจเครื่องดื่มมาแรงผ่าน Think With Google






 
     คงจะเคยได้ยินกันมาบ้างเกี่ยวกับการเครื่องมือการตลาดแบบฟรีๆ ที่เสาะหาได้ทางอินเตอร์เน็ต หนึ่งในนั้นคือ Think With Google ซึ่งเป็นเครื่องมือที่วิเคราะห์ว่าเว็บไซต์ที่เราทำอยู่นั้นเหมาะกับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือแค่ไหน เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้สมาร์ทโฟนในการค้นหาข้อมูล การเป็นเสิร์ชเอนจิ้นอันดับหนึ่งของโลกทำให้กูเกิลกลายเป็นคลังสะสมข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถติดตามผู้บริโภคได้ระดับหนึ่งและทำให้มองเห็นแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคจากคีย์เวิร์ดที่ค้นหา
 

     ยกตัวอย่างในการค้นหาข้อมูลของนิตยสารออนไลน์ StylusCurve ใน 4 ตลาด ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ สเปน และเม็กซิโกเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่ผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ค้นหาในปี 2017 ที่ผ่านมา พบว่ารสนิยมในการเลือกเครื่องดื่มของผู้บริโภคมีความแหวกแตกต่างและท้าทายยิ่งขึ้น ผู้บริโภคไม่ได้หยุดที่กาแฟขมๆ เครื่องดื่มชาที่น่าเบื่อ หรือแม้น้ำเปล่า Think With Google ได้ทำการวิเคราะห์และประมวลออกมา สรุปได้ว่าเทรนด์เครื่องดื่มที่ถูกค้นหาและกำลังแจ้งเกิดใน 4 ประเทศที่กล่าวมาแบ่งเป็น 3 ประเภท
 

Process is a priority

     ผู้บริโภคไม่ได้สนใจแค่ว่าในเครื่องดื่มประกอบด้วยอะไรบ้าง หากยังใส่ใจไปถึงกระบวนการผลิตหรือวิธีการที่ทำให้เกิด final product และคำที่ผู้บริโภคค้นหาอันดับต้นๆ คือ cold brew coffee หรือกาแฟสกัดเย็นนั่นเอง เป็นการใช้ผงกาแฟแช่ในน้ำเย็นหรือน้ำอุณหภูมิห้องนานหลายชั่วโมง แล้วจึงกรองเอากากกาแฟออก ได้เป็นกาแฟดำพร้อมดื่ม แตกต่างจากกาแฟที่ใช้น้ำร้อนตรงที่รสชาติดี หวานกว่า นุ่มนวลกว่า มีความเป็นกรดและคาเฟอีนต่ำกว่า ข้อมูลของกูเกิ้ลระบุภาพลักษณ์การเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นเครื่องดื่มสำหรับคอกาแฟ บวกกับรสชาติถูกปากทำให้ผู้บริโภคมองว่ากาแฟสกัดเย็นเป็นเครื่องดื่มที่ทำให้ประสบการณ์การลิ้มรสกาแฟเร้าใจขึ้น ยังไม่นับรวมความหลงใหลในขั้นตอนการชงแบบ DIY do it youeself
 

Flavours are turning earthy

     รสนิยมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเครื่องดื่มหวานๆ ชื่นใจมาเป็นเครื่องดื่มที่ให้อารมณ์ดิบๆ ธรรมชาติ เน้นรสชาติที่ไม่มีการปรุงแต่ง เป็นการดึงรสจากวัตถุดิบตรงๆ เทรนด์เครื่องดื่มที่กำลังได้รับความนิยมคือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของพืชหรือสมุนไพร ได้แก่ ขมิ้นชัน พาสลีย์ และแดนดีไล อย่างเครื่องดื่มหนึ่งที่เริ่มเป็นที่รู้จักคือ golden milk สูตรเครื่องดื่มตามศาสตร์อายุรเวทได้จากผสมนมกับเครื่องเทศต่างๆ โดยมี “ขมิ้น” เป็นจุดเด่น เมื่อนำมาต้มและกรองจะได้เครื่องดื่มสีเหลืองสดใส จึงเรียกว่า “นมสีทอง” นอกจากนั้น รสชาติของขิงก็เป็นที่สนใจ จากที่เคยค้นหา “อาหารที่ทำจากขิง” ผู้บริโภคเริ่มหันมาเสิร์ชเครื่องดื่มขิงทุกรูปแบบ ส่วนชาเขียวมัทฉะนั้น อัตราการค้นคำนี้เพิ่มขึ้น 64% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า หลังจากที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปี 2016
 

Water is being premiumnised

     จากน้ำเปล่า น้ำแร่ ก็มีการสร้างความแตกต่างโดนผลิตน้ำแปลกๆ ออกมาวางขายโดยอ้างสรรพคุณบำรุงสุขภาพ หนึ่งในนั้น ได้แก่ น้ำด่างที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ถึงประโยชน์และโทษ ที่น่าสนใจคือ sparkling water น้ำอัดแก๊สหรือโซดานั่นเอง จากการรวบรวมข้อมูลของกูเกิล ผู้บริโภคจะดื่มโซดาเยอะในช่วงสุดสัปดาห์  วิเคราะห์ได้ว่าเป็นการผ่อนคลาย จึงมีการกินดื่มมากเป็นพิเศษช่วงวันหยุด และไม่ใช่เครื่องดื่มที่ซื้อดื่มกันทุกวัน ส่วนน้ำเปล่า ในทางการตลาด สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้โดยการผลิตเป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น แก้วน้ำ และกระบอกน้ำ ที่สหรัฐฯ แบรนด์ต่างๆ พากันผลิตกระบอกน้ำสแตนเลสวางจำหน่าย สร้างกระแสให้ผู้คนพกพาเพื่อเตือนตนเองให้จิบน้ำบ่อยๆ
 
ที่มา
https://styluscurve.com/internal/google-top-3-beverage-trends


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน