EEC เตรียมผลักดัน SME & Startup รองรับการเติบโตของเมืองใหม่

 
 


                ณ วันนี้ EEC หรือ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กำลังมีเป้าหมายที่จะยกระดับธุรกิจในประเทศไทยให้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจระดับโลก อีกทั้งยังเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ โดยสร้างฐานการลงทุนด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบขนส่งคมนาคมและปัจจัยสนับสนุนต่าง ๆ ให้พร้อมรับกับการลงทุนที่ก่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

                พร้อมกันนั้น อีอีซี จะเข้าไปมีส่วนในการร่วมพัฒนาเมืองและแหล่งท่องเที่ยว เพื่อให้พร้อมในการอยู่อาศัย มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีความทันสมัย พัฒนาคุณภาพชีวิตให้คนในพื้นที่เดิมและผู้ที่จะเข้ามาลงทุนใหม่ ภายใต้การลงทุนร่วมภาครัฐและเอกชน ด้วยวงเงิน 1.5 ล้านล้านบาท
 
 
 
 
                โดยในระยะแรกจะเป็นการยกระดับพื้นที่ในเขต 3 จังหวัด คือ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
 
                ทั้งนี้ การลงทุนหลัก ๆ ของ EEC จะไปอยู่ที่การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเดินทางและการขนส่ง ให้มีความพร้อมเพื่อรองรับและเอื้อประโยชน์ต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็จะมีการร่วมทุนจากทางภาคเอกชนเข้ามาในบางโครงการด้วย

                นับได้ว่าการยกระดับพื้นที่เศรษฐกิจครั้งนี้ จะสร้างโอกาสที่ดีให้กับธุรกิจ SME  ในการเพิ่มศักยภาพของบริษัท โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจ Supply chain ที่สนับสนุนอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ อยู่แล้ว จะยิ่งเพิ่มขีดความสามารถขึ้นไปได้อีก กลุ่มคนทำงานบริการหรือรับจ้างต่าง ๆ ก็จะมีสิ่งอำนวยความสะดวก และโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการเปลี่ยนแปลง

 

 
 
                และอีกหนึ่งกลุ่มที่จะได้รับการส่งเสริมอย่างมากคือกลุ่ม Start up จากอุตสาหกรรมดิจิทัล ก็จะมีนวัตกรรมหรือธุรกิจบริการต่าง ๆ ที่จะรองรับเมืองใหม่ ซึ่งสำนักงานเพื่อการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (สกรศ.) ก็ได้จัดตั้งศูนย์ SME ICT ขึ้น เพื่อให้บริการให้คำปรึกษา Startup และ SME จาก co–founder ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อต่อยอดธุรกิจจาก EEC  และยังสร้างการเติบโตให้กับกลุ่ม Startup ภายในภาคตะวันออกมากขึ้น

                ดังนั้น อีอีซี จึงนับเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่ทำให้การเติบโตของเหล่า SME และ Startup ที่ดีอยู่แล้ว ให้สามารถพุ่งทะยานมากขึ้นไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้ รวมถึงผลักดันให้เกิดนักธุรกิจหน้าใหม่ขึ้นอีกด้วย 

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน