3 เคล็ดลับการเป็น SME Survival ยุคเศรษฐกิจสะดุด!





     ในยุคที่เศรษฐกิจอาจยังลุ่มๆ ดอนๆ ไม่รู้จะไปทิศทางไหนดี ยอดขายก็ทรงตัว ในขณะที่ค่าแรง ต้นทุนวัตถุดิบกลับปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เข้าทำนองกลืนไม่เข้า คายไม่ออก ผู้ประกอบการหลายคนน่าจะกำลังเผชิญกับปัญหานี้อยู่ แล้วจะทำยังไงให้สามารถเอาตัวรอดจากภาวะนี้ไปได้ ภัทร ศรีวารีรัตน์ เจ้าของแบรนด์ห้องเสื้อสุภาพบุรุษสัญชาติไทย Meticulous (เมธิคิวลัส) ที่เน้นความเนี้ยบ เรียบ หรู เป็นเอกลักษณ์ และมีร้านสาขากว่า 13 แห่งจะมาเผย 3  เคล็ดลับการเอาตัวรอดแบบ SME Survival ยุคนี้ให้ฟัง





1.พยายาม lean ให้มากที่สุด

     เมธิคิวลัสเราเป็นแบรนด์เสื้อผ้าแบบเป็นทางการ เช่น ชุดสูท ชุดทำงานออฟฟิศ ที่คนต้องซื้อเพื่อไว้ใช้ไปทำงาน ถึงจะไม่ใช่แบรนด์แฟชั่นจ๋า แต่ก็ยังได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ วิธีการแรกของเรา คือ การคุมต้นทุนให้อยู่ เปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่ ลงไปดูแลรายละเอียดในส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น พยายามลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ออกไปอย่างแพ็กเกจจิ้งที่ราคาสูงเกินไป ก็พยายามเลือกใช้ให้พอดี หรือค่าขนส่งจากโรงงานผลิตมาร้านสาขา เดิมถ้าทำเสร็จแล้วอาจวิ่งมาส่งเลย แต่ตอนนี้ก็พยายามจัดคิวให้สามารถมาส่งพร้อมกันได้มากที่สุด นอกจากการลีนแล้วโมเดลธุรกิจของเราเอง เรายังวางแผนไว้ตั้งแต่ต้นว่าเราพยายามทำตัวเองให้เล็กที่สุด แต่สามารถหมุนได้เร็ว ทุกวันนี้ถึงแม้จะมีสาขาเยอะ แต่เราเลือกที่จะใช้ซัพพลายเออร์เป็นผู้ผลิตให้ เราจะไม่พยายามเอาทุกอย่างมาไว้ที่ตัวเอง เพราะวันหนึ่งหากเกิดปัญหาขึ้นมา จะปรับตัวได้ยาก


2.ตอบสนองผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด

     ด้วยความที่เศรษฐกิจไม่ดี ผู้บริโภคก็ลำบากอยู่แล้ว สิ่งที่เราผู้ประกอบการจะทำได้ คือ การพยายามคงราคาสินค้าไว้เท่าเดิม โดยไม่ขึ้นราคา เพื่อซ้ำเติมผู้บริโภคเข้าไปอีก ทั้งที่ต้นทุนการผลิตอาจเพิ่มสูงขึ้น เพราะยิ่งขายของยากอยู่แล้ว หากไปขึ้นราคาอีก ก็คงขายยากขึ้นไปอีก อีกอย่างที่ทำได้ คือ พยายามตอบสนองผู้บริโภคให้รวดเร็ว อะไรที่ลูกค้าต้องการ ถ้าทำได้ ก็ควรรีบทำให้ เพื่อเป็นการมัดใจลูกค้า อย่างปีที่ผ่านมาเสื้อผ้าโทนสีขาวดำจะขายดี เพราะลูกค้าต้องการใช้กันเยอะ ด้วยเอกลักษณ์ของเสื้อผ้าของเราที่ค่อนข้างเนี้ยบ เรียบ หรู ราคาก็จะค่อนข้างสูงหน่อย เราก็เลือกผลิตรุ่นที่ราคาอาจจะย่อมเยาลงมาไม่เกินหลักพัน อาจตัดทอนลดรายละเอียดบางอย่าง แต่ยังคงความเนี้ยบ เรียบ หรูเหมือนเดิม
           




3.รักษามาตรฐาน
               
     ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงไม่ได้เลย คือ การรักษาคุณภาพและมาตรฐาน นี่คือ หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ เพราะคือ จุดยืนของเรา คือ ภาพจำและสิ่งที่ผู้บริโภครับรู้ สิ่งที่ทำได้ คือ การพยายามช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุดก่อนเหมือนกับข้อแรกที่บอกไป และในวันหนึ่งที่เศรษฐกิจดีขึ้นเราก็สามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและแบรนด์ได้อย่างเต็มที่ โดยที่ผู้บริโภคเขาก็ยินดีสนับสนุน เพราะเชื่อมั่นในแบรนด์ของเราแล้ว
           

     และนี่คือ 3 เคล็ดลับหมัดเด็ดที่จะช่วยผู้ประกอบการ SME ให้สามารถเอาตัวรอดได้ ไม่ว่าเศรษฐกิจจะสะดุด ล้มครืนยังไง


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี



 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน