Text : กองบรรณาธิการ
เริ่มต้นด้วยฟาร์มเลี้ยงหมูและโรงงานอาหารสัตว์ตั้งแต่ พ.ศ. 2533 กับบริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด จนในตอนนี้ เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ ได้เติบโตขึ้นกลายเป็น ผู้ผลิตเนื้อสัตว์และอาหารสัตว์รายใหญ่ระดับประเทศ ด้วยแนวคิดอันชาญฉลาดของผู้บริหารอย่าง สมชาย นิติกาญจนา ที่ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการจัดการองค์กรเพื่อสร้างรากฐานให้องค์กรมีความแข็งแรงอย่างยั่งยืนด้วยการเน้นบริหารจัดการบุคลากรภายในองค์กรรวมทั้งนำแนวคิดจัดการของเสียแบบ Zero Waste คือใช้ประโยชน์จากของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
จากการเปิดเผยของ สมชาย ผู้ก่อตั้ง เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ ได้พูดถึงแนวคิดในช่วงที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาว่าต้องการที่จะทำให้บริษัทของเขามีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน
“ในช่วงที่ผมเริ่มทำบริษัท ตอนนั้นผมก็คิดว่าจะทำอย่างไรให้องค์มีความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ถ้าเกิดว่าธุรกิจสร้างปัญหาให้กับชุมชนแล้วคนรอบข้างจะยั่งยืนได้อย่างไร นอกจากนี้ยังต้องทำให้แตกต่างกับคนอื่น ด้วยการนำเอาเทคโนโลยีและการวิจัยมาใช้ในการทำธุรกิจ ไม่อย่างนั้นเราก็จะสู้คนอื่นไม่ได้ เรายังมีการสร้างความน่าเชื่อถือด้วยรางวัลต่างๆ ที่เราได้รับ มีการรับรองมาตรฐานของโรงงาน GMP/HACCP มี ISO 9001 ตอนนั้นผมไม่มีเงินเลย แต่พอเรามีรางวัล ไปคุยกับธนาคารหรือขายของให้กับลูกค้า เราก็มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น รางวัลต่างๆ ที่เราได้รับมันเป็นเครื่องการันตีว่าบริษัทเรามีคุณภาพ”
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญที่ทำให้ เอส พี เอ็ม เป็นองค์กรต้นแบบของความพอเพียงนั่นคือระบบการจัดแบบ Zero waste ที่เปลี่ยนของเสียในโรงงานให้นำกลับมาทำประโยชน์ในกระบวนการผลิตไปจนถึงการสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนโดยรอบ เพราะในโรงงานจะมีของเสียจากการเลี้ยงสุกรและการผลิตอาหารสัตว์ เอส พี เอ็มจึงมีการนำของเสียมาหมักให้กลายเป็นระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพและมีการทำระบบท่อส่งน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปให้ชุมชนที่ทำฟาร์ม ทำสวน ทำไร่ ให้พวกเขานำไปทำเป็นปุ๋ยอีกด้วย
“แนวทางการทำธุรกิจของเราคือเราอยากจะทำให้ของเสียในโรงงานกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกครั้ง อย่างเราทำธุรกิจฟาร์มปศุสัตว์ การเลี้ยงหมู ซึ่งจะมีปัญหาตามมาคือกลิ่นเหม็น มีแมลงวัน มีของเสีย มีน้ำเสีย เราก็คิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เราเลยนำของเสียมาหมักเป็นแก๊ส เอาน้ำเสียไปปลูกกล้วย ปลูกอ้อย ปลูกปาล์มน้ำมัน จากนั้นก็นำไปผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ นำน้ำร้อนที่ได้จากเครื่องยนต์ไปกกลูกหมูแทนการใช้ไฟฟ้า นำของเสียที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด สิ่งที่ได้คือเราลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าลง ไม่ทำความเดือดร้อนให้ชาวบ้านอีกด้วย ทำให้เราสามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนเพราะมีต้นทุนที่ต่ำลง อยู่ได้ด้วยตนเอง มีกระบวนการผลิตที่พึ่งตนเองตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ”
นอกจากการพัฒนากระบวนการผลิต นำเทคโนโลยีและการวิจัยมาใช้จนทำให้เอส พี เอ็ม มีความเข้มแข็งตั้งแต่รากฐาน อีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือบุคลากรในองค์กรที่สมชายพยายามทำให้พนักงานมีความสุขเหมือนที่ทำงานคือบ้านของทุกคน
“เราให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้พนักงานในองค์กรคิดว่าที่นี่คือบ้านของคุณ เราอยากให้พนักงานได้สิ่งที่ดีที่สุด เติบโตไปด้วยกัน ทำอย่างไรที่จะโตไปด้วยกัน ถ้าเรานอนห้องแอร์ พนักงานก็ต้องนอนห้องแอร์ ถ้าบริษัทโตขึ้น เขาก็ต้องโตขึ้นไปด้วย พนักงานจะต้องอยู่ดีกินดี มีสวัสดิการต่างๆ ดูแลพนักงานเพื่อให้พนักงานสามารถดูแลตนเองและนำไปดูแลครอบครัวได้” สมชายกล่าวทิ้งท้าย
ที่มา : งานสัมมนาธุรกิจยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
RECCOMMEND: ENTREPRENEUR
ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว
เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย
เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน