นวัตกรรม+พัฒนาคน สูตรเติบโตอย่างยั่งยืนในแบบ นิธิฟู้ดส์

Text : กองบรรณาธิการ


     นิธิฟู้ดส์ เริ่มต้นจากธุรกิจเล็กๆ ซึ่งก่อตั้งเมื่อ 20 กว่าปีแล้ว โดยเริ่มจากการทำลำไยอบแห้ง ต่อยอดมาถึงการนำสินค้าเกษตรมาแปรรูป นำผักท้องถิ่นมาอบ เช่น กระเทียมเจียว พริก เครื่องเทศ จนกลายเป็นโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเครื่องเทศขนาดใหญ่ในเชียงใหม่ที่เน้นหลักการเติบโตแบบยั่งยืนด้วยการมีรากฐานที่มั่นคงและน้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินธุรกิจประกอบด้วย 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ห่วงที่ 1 คือความพอประมาณ ขยายธุรกิจด้วยความพอดี ใช้เงินทุนภายใน ไม่กู้ยืมเงินมาทำธุรกิจ ห่วงที่ 2 คือความมีเหตุผล ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีด้วยการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ภายใต้ 2 เงื่อนไขคือการดำเนินธุรกิจด้วยความรู้คู่คุณธรรม นิธิฟู้ดส์จึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและฝ่าวิกฤติต่างๆ มาได้ด้วยดี เช่น ในยุคต้มยำกุ้ง ด้วยความพอเพียง ทำให้นิธิฟู้ดส์สามารถยืนหยัดอย่างมั่นคง ไม่ไหวเอนไปตามวิกฤติในยุคนั้น



     

     ทั้งนี้ สมิต ทวีเลิศนิธิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทนิธิฟู้ดส์ จำกัด ทายาทรุ่นที่ 2 ได้กล่าวบนเวทีสัมมนาธุรกิจยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยบอกว่าหัวใจสำคัญในการทำให้นิธิฟู้ดส์มีความแตกต่างจากคนอื่น คือการใช้นวัตกรรมมาพัฒนาธุรกิจ ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้ตรงจุด
               

     “ในการที่เราจะทำสินค้าใหม่ๆ เราจะดูในเรื่องของช่องว่างทางการตลาด ดูว่าพฤติกรรมลูกค้าเป็นแบบไหน เขาต้องการอะไร เช่น คนกินผักยากขึ้น เราก็เอาผักมาอบ หรือคนเน้นความสะดวกรวดเร็วเราก็ทำผงปรุงรสสำเร็จรูป ใช้งานง่าย อย่างผงข้าวผัด เทใส่หม้อหุงข้าว ออกมาเป็นข้าวผัดเลย อย่างร้านค้าก็ถามเราว่า ทำไมไม่ทำตอบโจทย์ร้านค้า ร้านอาหารบ้าง เราก็มีการทำไซส์ใหม่ เป็นขนาดร้านค้า แพ็คขายแบบครึ่งโล เพื่อร้านค้าโดยเฉพาะ เพราะว่ารูปแบบการใช้งานของลูกค้าแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังไม่ได้เน้นในเรื่องของการทำผลิตภัณฑ์อย่างเดียว แต่เรายังมีความสามารถในการคิดค้น วิจัย เรามีนักวิทยาศาสตร์อาหารในองค์กรเยอะ เราจึงอยากที่จะช่วยเหลือกลุ่ม OTOP และ SME เล็กๆ ในชุมชน ให้เติบโตได้เช่นกัน”


     นอกจากการใช้นวัตกรรมเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ในการตอบโจทย์ผู้บริโภคและการช่วยเหลือ SME ในชุมชนด้วยทรัพยากรขององค์กรที่มีแล้ว ทางนิธิฟู้ดส์ยังสร้างความยั่งยืนด้วยการเน้นพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้มีความสุขพร้อมทั้งกำหนดทิศทางในการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันด้วย Core Value ขององค์กร


     “ด้วยความที่องค์กรเราเป็นโรงงานอุตสาหกรรม จะต้องมีระบบและกระบวนการต่างๆ ในการทำงานเพื่อช่วยในการกำกับดูแล ลดความเสียหายของการทำงานในแต่ละกระบวน โดยสิ่งสำคัญที่สุดในการบริหารองค์กรของนิธิฟู้ดส์ก็คือการบริหารบุคลากร เราจะมีการกำหนด Core Value ในการทำงาน เรียกว่าคุณค่าขององค์กร มีทั้งหมด 3 C ด้วยกัน คือ 1. Credibility ความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์ ต้องมีคุณภาพ 2. Creativity ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน นำปัญหามาแก้ไข 3. Care การดูแลพนักงานให้ดีที่สุด ตามคำพูดที่ว่า ทุกครั้งคือความเชื่อมั่น ทุกวันคือความสร้างสรรค์ ทุกคนคือกันและกัน 3สิ่งนั้นคือนิธิฟู้ดส์ กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร เราเน้นสิ่งสำคัญคืออยากให้พนักงานอิ่มมาจากที่บ้าน ถ้าเขาหิวมาจากที่บ้านก็จะทำให้การทำงาน ทำได้ไม่ดี เช่น มีปัญหาครอบครัว มีปัญหาหนี้สินรุมเร้า เราเลยมีสวัสดิการต่างๆ อย่างกองทุนกู้ยืม มีแม่ครัว มีอาหารกลางวัน มีทุนการศึกษาให้กู้ยืมแล้วค่อยแบ่งจ่ายในอนาคต ดูแลความพร้อมพนักงานในด้านต่างๆ ก็จะทำให้พนักงานมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น”


     สมิตได้ทิ้งท้ายในเรื่องของการบริหารจัดการบุคลากรที่เป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนว่าการดูแลพนักงาน ไม่สามารถทำครั้งเดียวแล้วจบไป แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ เหมือนการเดินขึ้นภูเขา ที่มีปัญหาใหม่ๆ มาให้แก้เสมอ ต้องทำเพิ่มเติมต่อไปเรื่อยๆ หากว่าคุณสามารถดูแลพนักงานได้อย่างที่เขาต้องการ เขาก็จะมีความสุขในการทำงาน งานจะออกมามีประสิทธิภาพ ทำให้องค์กรของคุณมีความแข็งแรงตั้งแต่พื้นฐาน อย่างนิธิฟู้ดส์ที่ดูแลพนักงานให้พวกเขาอิ่มและมีความสุขในการทำงานทุกวัน 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน