อธิบดีกรมพัฒน์ฯคนใหม่ ชูภารกิจสำคัญ 3 ด้านดูแล SME




 
             อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคนใหม่ ชี้แจงภารกิจปี 2561 ทันทีที่เข้ารับตำแหน่ง ประกาศภารกิจสำคัญ 3 ด้านที่ต้องเร่งดำเนินการ...เน้นการสร้างความเข้มแข็งของเอสเอ็มอีและเศรษฐกิจฐานรากของประเทศแบบเข้มข้น ให้สามารถแข่งขันได้ - พัฒนาระบบการให้บริการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจโดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยเน้นคุณภาพมากขึ้น รวมทั้ง เชื่อมต่อฐานข้อมูลธุรกิจของกรมฯ กับฐานข้อมูลของหน่วยงานราชการอื่นๆ เพื่อให้เป็นคลังข้อมูลธุรกิจขนาดใหญ่ (Big Data) ของประเทศ - ส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า คู่ขนาน...บริหารงานภายในสร้างบรรยากาศการทำงานแบบทีมเวิร์ค ผสานเป็นหนึ่งเดียว เกื้อกูลสนับสนุนงาน...มุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน


          นางกุลณี อิศดิศัย อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า "ในฐานะที่ตนเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าคนใหม่ ซึ่งเป็นอธิบดีของกรมฯ ในลำดับที่ 27 ภารกิจสำคัญที่เป็นเป้าหมายหลักที่จะต้องเร่งดำเนินงานในปี 2561 นี้ จะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ


          1) เน้นการสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

          2) พัฒนาระบบการให้บริการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เน้นคุณภาพมากขึ้น รวมทั้งเป็นคลังข้อมูลธุรกิจของประเทศ (Big Data)

          3) ส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า


          1. ในส่วนของการดูแล SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ถือเป็นหัวใจหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จะเน้นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของ SMEs และเศรษฐกิจฐานรากของ ประเทศให้สามารถแข่งขันได้ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มธุรกิจรุ่นใหม่ สมาชิกเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club, OTOP ผู้ประกอบการชุมชน, วิสาหกิจเพื่อสังคม เน้นการบริหารจัดการ การส่งเสริมให้เข้าสู่ตลาด และดำเนินธุรกิจอย่างมีระบบยิ่งขึ้น


          - เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบธุรกิจสู่การเป็น Smart Enterprises เสริมสร้างแนวคิดและทักษะของผู้ประกอบธุรกิจที่ดี มีความเป็นมืออาชีพสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สอดคล้องกับความความต้องการของตลาด


          - พัฒนาช่องทางการตลาดออนไลน์ (Offline to Online) เพื่อเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าให้ผู้บริโภค สามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวก เช่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ การจัดทำบรรจุภัณฑ์สำหรับการค้าออนไลน์ การบริหารจัดการร้านค้าออนไลน์ และส่งเสริมธุรกิจ e-Commerce เพิ่มโอกาสทางการค้าและขยายตลาดให้ทันต่อเศรษฐกิจยุคดิจิทัล และเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความน่าเชื่อถือ


          - สร้างมาตรฐานและโอกาสทางการตลาดให้แก่ธุรกิจบริการ อาทิ ธุรกิจร้านอาหาร ธุรกิจบริการสุขภาพ ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์ เป็นต้น ตลอดจนสร้างโอกาสด้านอาชีพเพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้ของชุมชนจากงานบริการ เช่น งานช่างประเภทต่างๆ งานให้บริการหัวหน้าแม่บ้าน เป็นต้น


                    - ยกระดับและพัฒนาส่งเสริมร้านค้าปลีกในชุมชนให้มีระบบบริหารจัดการร้านค้าที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนทางการค้า เพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยนำระบบเทคโนโลยีมาใช้ โดยจะต่อยอดโครงการ โชวห่วยไฮบริดเชื่อมกับ e-Commerce, Counter Service ไปรษณีย์ไทย รวมทั้งบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ (Local Economy) โดยจะพัฒนาร้านค้าชุมชนให้เกิดการแข่งขันได้มีแหล่งรับซื้อสินค้าชุมชนในภูมิภาคระหว่างภูมิภาค เพื่อพัฒนาสร้างเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ


          2. การพัฒนาระบบการให้บริการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ จะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพทางธุรกิจ อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจที่ง่าย สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น ลดขั้นตอนการเริ่มต้นของธุรกิจโดยรวมขั้นตอนการจดทะเบียนให้เหลือเพียง 1 ขั้นตอน จากระบบเดิมจะมีขั้นตอนที่ 1 จองชื่อ ขั้นตอนที่ 2 จดทะเบียนบริษัท โดยระบบใหม่จะรวมขั้น 1 + 2 ให้เหลือเพียงขั้นตอนเดียว โดยรวมขั้นตอนการจองชื่อนิติบุคคลและการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) ให้อยู่ในขั้นตอน/หน้าเดียวกัน ซึ่งการพัฒนาบริการในส่วนนี้จะสอดคล้องกับเกณฑ์การจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของธนาคารโลกที่เน้นการบริการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพ เพิ่มช่องทางการจองชื่อนิติบุคคลผ่าน Mobile Application


          - พัฒนาการขอหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ ทำคำขอผ่าน Smart Phone เพื่อขอหนังสือรับรองได้ทุกที่ทุกเวลา นอกเหนือจากการขอหนังสือรับรองฯ ผ่านธนาคาร


          - การพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพคลังข้อมูลธุรกิจของกรมฯ สู่การเป็น Business Intelligence โดยการให้บริการค้นหาข้อมูลและจับคู่ทางธุรกิจ (Business Matching) ให้สามารถติดต่อทางธุรกิจได้โดยง่าย เพิ่มข้อมูลการติดต่อผ่าน e-Mail จากเดิมที่มีเพียงเบอร์โทรศัพท์/โทรสารเท่านั้น


          - สามารถวิเคราะห์แนวโน้นทางธุรกิจ การพยากรณ์ผลการประกอบธุรกิจจากอัตราส่วนทางการเงินและงบการเงินเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถพิจารณาข้อมูลเชิงลึก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงข้อมูลได้สะดวกรวดเร็ว เพื่อประกอบการตัดสินใจในเชิงธุรกิจ และจะใช้ข้อมูลธุรกิจที่กรมมีอยู่ตั้งเป็นศูนย์กลางคลังข้อมูลธุรกิจเชื่อมโยงข้อมูลธุรกิจกับหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของประเทศหรือ Big Data ต่อไป


          3. การส่งเสริมและสร้างมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลแก่ภาคธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้คู่ค้า (Business Governance) โดยจะเน้นทั้งมาตรการป้องปรามและมาตรการส่งเสริม ได้แก่ การตรวจสอบแนะนำการปฎิบัติตามกฎหมายเพื่อกำกับดูแลให้ภาคธุรกิจปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง ติดตามควบคุมธุรกิจกลุ่มเสี่ยง เช่น นิติบุคคลไทยที่มีคนต่างด้าวถือหุ้น (นอมินี) การส่งเสริมให้ธุรกิจนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในการประกอบธุรกิจมากขึ้น


          - จะมีการยกระดับธุรกิจตามเกณฑ์มาตรฐานที่กรมฯ จัดทำขึ้นซึ่งอิงตามเกณฑ์มาตรฐานสากล


          - จัดให้มีธุรกิจต้นแบบและประกวดธุรกิจที่มีธรรมาภิบาลดีเด่นในระดับจังหวัดและระดับประเทศ


          - จะใช้ระบบบัญชีมาตรฐานเข้ามาช่วยสร้างธรรมาภิบาลให้แก่ภาคธุรกิจ (สามารถจัดทำบัญชีผ่านทาง Application หรือ ทางออนไลน์) และจัดทำระบบ e-Accountiog เพื่อให้ผู้ประกอบการ SMEs สามารถจัดทำรายรับรายจ่าย และงบแสดงฐานะการเงินได้โดยง่าย สามารถนำส่งงบการเงินประจำปีได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งจะทำให้ SMEs มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง สามารถประเมินสภาพคล่องทางการเงิน และสามารถดำเนินงานได้


          นอกจากนี้ การบริหารงานภายในกรมฯ จะมีการดำเนินงานให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ สร้างบรรยายการทำงานในลักษณะ Team Work บูรณาการการทำงานด้วยความเกื้อกูลและสนับสนุนซึ้งกันและกัน เดินหน้าสู่ DBD 4.0 ที่จะรักษาไว้ซึ่งต้นสายปลายทางธุรกิจ ที่ขับเคลื่อนด้วย "ยิ้มแย้ม โปร่งใส ใส่ใจบริการ”


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย