กรมพัฒน์ฯ เดินหน้าพัฒนา SME มืออาชีพ สร้างมูลค่าเพิ่มลดต้นทุนธุรกิจสอดรับนโยบาย ทำน้อยได้มาก




    กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เดินหน้าพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจกว่า 100 รายให้มีความเป็นมืออาชีพใน 5 ด้าน ได้แก่ การเงิน การตลาด การบริหารคน การบริหารองค์กร และนวัตกรรม โดยในปีที่ผ่านมาสามารถสร้างมูลค่าการค้าให้กับธุรกิจเพิ่มขึ้นกว่า 700 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 32.30 ขณะเดียวกันยังสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจลงได้ประมาณ 300 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 18.91 สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ “ทำน้อยได้มาก” 

     นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันว่าจะอยู่รอดได้อย่างเข้มแข็ง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการตลาด การเงิน กฎหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจ ตลอดจนการเชื่อมโยงพันธมิตรทางธุรกิจที่จะช่วยขยายโอกาสทางการตลาด และลดแรงกดดันจากภาวะการแข่งขันในยุคการค้าเสรี 

     “การผลักดันผู้ประกอบธุรกิจ SME ของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในทุกตลาดทั้งใน  และต่างประเทศ จะต้องมุ่งสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก พัฒนาทักษะ และสร้างนักธุรกิจมืออาชีพ ให้มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ  ซึ่งที่ผ่านมา กรมฯ ได้จัดกิจกรรมสร้างนักธุรกิจมืออาชีพ (Smart Professional Entrepreneur : DBD-SPE) และกิจกรรมนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Advance Creative Marketeer : DBD-ACM) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมภาคธุรกิจของไทยตั้งแต่การบริหารจัดการหลังบ้าน ไปจนถึงหน้าบ้านให้มีความเข้มแข็ง พร้อมติดอาวุธด้วยนวัตกรรมเชิงพาณิชย์รูปแบบใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ จนนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป”

     ผลสำเร็จของการดำเนินงาน พบว่า ผู้ประกอบธุรกิจได้ทำการประเมินและคาดการณ์ว่าจะสามารถนำองค์ความรู้ และแผนธุรกิจที่ได้ทำ Road Map/Business Plan ไปต่อยอดในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาธุรกิจ ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตได้ ดังนี้

     1) กิจกรรมสร้างนักธุรกิจมืออาชีพ (Smart Professional Entrepreneur : DBD-SPE) มีผู้ผ่านการพัฒนา จำนวน 78 ราย สามารถสร้างมูลค่าการค้าของผู้ประกอบธุรกิจโดยรวมให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.44 หรือคิดเป็น 334,591,000 บาท และสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจได้ร้อยละ 19.17 หรือคิดเป็น 156,083,650 บาท

     2) กิจกรรมสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Advance Creative Marketeer : DBD-AMC) มีผู้ผ่านการพัฒนาจำนวน 24 ราย สามารถสร้างมูลค่าการค้าของผู้ประกอบธุรกิจโดยรวมให้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.42 หรือคิดเป็น 396,175,000 บาท และสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบธุรกิจได้ร้อยละ 19.17 หรือ คิดเป็น 143,224,000 บาท

     การพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ SME ให้มีความเข้มแข็งและเป็นมืออาชีพ ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนที่จะคอยช่วยเหลือสนับสนุน SME ของประเทศให้เติบโตไปด้วยกัน ด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ตามเจตนารมณ์ของรัฐบาลที่ต้องการสร้างผู้ประกอบการในทุกระดับให้มีศักยภาพในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนนโยบาย Thailand 4.0 ของประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างเต็มภาคภูมิ

     ผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กองพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร : 0 2547 5158 0 2547 5964 สายด่วน 1570 และ www.dbd.go.th

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน