ธพว.จับมือ 4 พันธมิตร เสริมแกร่ง SME สร้างโอกาสยุคดิจิตอล




    ธพว. จับมือ 4 พันธมิตร พัฒนาผู้ประกอบการ SMEs สร้างโอกาสยุคดิจิตอล สอดรับนโยบาย Local Economy ด้วยเทคโนโลยีระบบ ERP ก้าวสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 พร้อมผลักดัน SMEs เตรียมรับมือมาตรฐานบัญชีใหม่ หนุนยื่นกู้จากสถาบันการเงินตามเกณฑ์รายได้ ดีเดย์ 1 ต.ค. 2561

     ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) จับมือพันธมิตร 4 หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) และอินเทอร์เน็ตประเทศไทย (ไอเน็ต) และ Intelligent Enterprise Consulting (IEC) เปิดตัววโครงการ “การส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน” 

     พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อร่วมกันผลักดันส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการ SMEs ไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ทั้งในการสร้างโอกาสทางการตลาด การปรับตัวธุรกิจสู่ระบบยุคเศรษฐกิจดิจิตอล ด้วยเทคโนโลยี ERP บนระบบ Cloud Internet ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 เพื่อให้ SMEs เตรียมรับมือมาตรฐานบัญชีใหม่ หนุนยื่นกู้จากสถาบันการเงินตามเกณฑ์รายได้ ดีเดย์ 1 ต.ค. 2561 เสริมอาวุธให้แข็งแกร่ง ติดปีกก้าวไปสู่ตลาด CLMV และยังสนับสนุนผู้ประกอบการตามแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติ ข้อ 1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ข้อ 2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และข้อ 4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม

     ดร.สมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า อุบลราชธานี ถือเป็นศูนย์กลางภูมิภาคในการเชื่อมโยงและการระดมความร่วมมือการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและประเทศเพื่อนบ้าน การส่งออกและนำเข้าเพื่อพัฒนาความร่วมมือเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย-ลาว ตามนโยบายของรัฐบาล (Local Economy 4.0 Hub Support Rescue Network Center) ร่วมผลักดันให้ผู้ประการเข้าสู่มาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนขยายโอกาส ค้าขายไปยังตลาดเพื่อนบ้าน CLMV สร้างเป็นห่วงโซ่การผลิต การเอื้อหนุนอุตสาหกรรมและแลกเปลี่ยน วัตถุดิบ การแปรรูป ยกระดับการสร้างมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น 

     นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธพว. กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ ได้ร่วมกันมุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ ได้พัฒนาธุรกิจของตนเอง เติมศักยภาพด้านต่าง ๆ ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจของธนาคาร (SME Development Bank) ที่นอกจากการสนับสนุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนและยังต้องเติมเต็มความรู้ให้แข็งแกร่งทุกมิติ อาทิ เข้าสู่ระบบมาตรฐานบัญชี และระบบเทคโนโลยีแบบครบวงจร โดย ธพว. จะดำเนินการเป็นตัวกลางในการนำเทคโนโลยีให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึง เช่น การอบรมให้ความรู้ สัมมนาเชิงปฏิบัติการ Workshop เพื่อรองรับธุรกิจ SMEs ให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมความเข้มแข็งทางการเงินให้มีเสถียรภาพ พร้อมเติมเต็มเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ อาทิ “สินเชื่อ SMEs Transformation Loan”  สนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ยุคอุตสาหกรรม4.0 วงเงิน 15,000 ล้านบาท วงเงินขอสินเชื่อได้รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 7 ปี อัตราดอกเบี้ยต่ำ 3% คงที่ 3 ปีแรก ปีที่ 4-7 อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี นอกจากนี้ กรณีกู้ไม่เกิน 5 ล้านบาท สามารถใช้ บสย.ค้ำประกันได้โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ 

     "สินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน" วงเงิน 7,500 ล้านบาท สำหรับบุคคลธรรมดา กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท นิติบุคคล กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท ระยะเวลาการกู้ยืมนาน 7 ปี อัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ใช้ บสย.ค้ำประกัน) ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR -1.5 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR -1.0 ต่อปี (กรณีใช้หลักประกันตามเกณฑ์ของธนาคาร) และ “โครงการกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ” โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) วงเงิน 20,000 ล้านบาท  อัตราดอกเบี้ย 1% ตลอดอายุสัญญา  ระยะเวลาชำระคืน 7 ปี ไม่ต้องผ่อนชำระหนี้ใน 3 ปีแรก   ไม่ต้องมีหลักประกัน ให้กู้สูงสุด 10 ล้านบาทต่อราย และ 75% ขึ้นไปจะเป็นวงเงินกู้ไม่เกิน  3 ล้านบาทต่อราย  เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบของนิติบุคคล ธุรกิจต้องอยู่ในกลุ่มยุทธศาสตร์ของแต่ละจังหวัด

     นายดนุชา อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. ดำเนินโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP โดยที่ผ่านมาได้ให้การสนับสนุน SME แล้วไม่น้อยกว่า 7,000 ราย ในการดำเนินงาน ITAP สรรหาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถตรงกับโจทย์และความต้องการของ SME แต่ละราย เพื่อมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ทำโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับเทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรม ในความร่วมมือครั้งนี้ โปรแกรม ITAP จะให้สนับสนุน SME ที่ต้องการวิจัย พัฒนา นวัตกรรม รวมทั้งมีเงินทุนสนับสนุนให้บางส่วน เพื่อจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และจะเชื่อมโยงในการสร้างขีดความสามารถการทำวิจัย และการพัฒนาของอุตสาหกรรมไทย อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาดสากลได้อย่างยั่งยืน

     นางมรกต กุลธรรมโยธิน กรรมการผู้จัดการ  บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นับเป็นต้นแบบที่ดีแห่งการบูรณาการการขับเคลื่อน SMEs โดย บมจ. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย (ไอเน็ต) จะเปิดบริการให้ใช้ระบบ Cloud Solution ฟรี แก่บริษัทที่ได้มาตรฐานในการให้บริการและการยกระดับเทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการ โดยมีฐานข้อมูลระบบ Cloud Solution ที่ประเทศไทย สำหรับเชื่อมโยงการพัฒนาระบบต่าง ๆ เป็นบริการแก่ผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถนำข้อมูล ฐานลูกค้าที่เป็นประโยชน์ไปใช้ วิเคราะห์ พัฒนาหรือเชื่อมโยงให้เป็นประโยชน์แก่ธุรกิจของตัวเอง

     นางปรัชนันทน์  โภควณิชกุลพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท  อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คอนซัลติ้ง จำกัด (IEC) กล่าวว่า   มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนให้โครงการนี้เกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์แก่ SMEs อย่างเป็นรูปธรรม โดยบริษัท อินเทลลิเจนท์ เอ็นเตอร์ไพรส์ คอนซัลติ้ง จำกัด (IEC) เป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไทยและธุรกิจ SMEs ให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกด้วยการรับส่งข้อมูลที่รวดเร็ว (Real Time) พร้อมรายงานการวิเคราะห์ข้อมูล โดยบริษัทมีระบบบริหารคลัง (YuuAccount) ระบบวางแผนการผลิต (YuuProduction) ระบบเครื่องชั่ง online  (YuuScale) ระบบขนส่ง (YuuLogistic) ระบบควบคุมคุณภาพและตรวจสอบย้อนหลัง (Yuu QC) ระบบควบคุมการเบิกใช้อะไหล่ (YuuService) ระบบส่งยอดขายฝาก (YuuPC) และ ระบบขายหน้าร้าน (YuuPOS)  ทั้งนี้ บริษัทได้นำเสนอ ให้ผู้ประกอบการสามารถทดลองใช้บริการระบบฟรี 3 เดือน ทั้ง Software และพื้นที่  ( On Cloud ) พร้อมการอบรม และ Call service หลังจาก 3 เดือนจะได้รับราคาพิเศษ ในการใช้บริการจริง เพื่อผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศบนระบบ Cloud Internet 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน