กรีนบอร์ด เฟอร์นิเจอร์รักษ์โลก

 

 
 
“ในแต่ละปีมีกล่องเครื่องดื่มทั่วโลกเกือบหนึ่งพันล้านตัน เมืองไทยมีปริมาณมากถึงหกหมื่นตัน เราได้เริ่มต้นโครงการรีไซเคิลเมื่อ 10 ปีก่อน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนอย่าง Tetra Pak บริษัทผู้ผลิตกล่องเครื่องดื่มรายใหญ่ที่ให้การสนับสนุนวัตถุดิบ และเรายังทำกิจกรรมเก็บขยะรีไซเคิลร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม และกลุ่มชุมชนซาเล้งเพื่อนำไปสร้างบ้านให้แก่ผู้ยากจน ซึ่งเป็นรูปแบบของการช่วยเหลือสังคมอีกทางหนึ่ง”
 
หิรัณยธร ยิ่งทวีรัตนกุล ผู้บริหารบริษัทกรีนบอร์ด (ประเทศไทย) จำกัด บอกเล่าถึงที่มาของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ได้จากการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ในชื่อ “กรีนบอร์ด” ที่นอกจะทำเพื่อสังคมแล้ว ยังใช้ต่อยอดทางธุรกิจ โดยการสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้งเฟอร์นิเจอร์อย่างโต๊ะ เก้าอี้ ชั้นวางของ กระทั่งตู้เสื้อผ้าแบบ Walk in Closet หรือแม้แต่นำไปใช้สร้างบ้าน

โดยกรีนบอร์ดสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่กำลังหันมาสนใจวัสดุทดแทนไม้ ซึ่งนับวันจะหายากและมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ส่วนวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ แม้จะมีราคาถูกกว่าแต่ก็มีต้นทุนการผลิตสูง และมีข้อจำกัดในการใช้งาน

ในขณะที่กรีนบอร์ดนอกจากจะมีความคงทนต่อน้ำ, ปลวกหรือแมลงต่างๆ แล้ว ยังปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายในการผลิตเมื่อเทียบกับวัสดุประเภท Particle Board หรือ MDF เมื่อรวมเข้ากับคุณสมบัติในการเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุรีไซเคิล ทำให้กรีนบอร์ดกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้ากับกระแสการอนุรักษ์ทรัพยากร จนได้รับ “รางวัลโดดเด่นด้าน Recycle Product”
 
ผลแห่งความสำเร็จและการยอมรับในครั้งนี้ ยิ่งกระตุ้นให้กรีนบอร์ดไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อยอดไปในอนาคต โดยตั้งเป้าหมายให้กรีนบอร์ดเป็นสินค้าแห่งอนาคตด้านสิ่งแวดล้อม ที่ตอบโจทย์กระแสอนุรักษ์นิยมและสุขนิยม ด้วยกลยุทธ์การบริหารงานที่มีการศึกษาวิจัยความต้องการของลูกค้า และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค โดยไม่ลืมใส่ใจต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม
 
นอกจากการนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมเกษตรแล้ว แผ่นกรีนบอร์ดยังถูกดีไซน์เพิ่มมูลค่าไปใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น โต๊ะ เก้าอี้นักเรียน, สตูดิโออัดเสียง และบ้านที่สร้างจากวัสดุกรีนบอร์ด ทว่าแม้จะมีการนำไปใช้จริงแต่ก็ไม่ได้แพร่หลายในวงกว้างเท่าใดนัก

ผู้บริหารกรีนบอร์ดยอมรับว่า ผลิตภัณฑ์รีไซเคิลมักจะมีจุดอ่อนอยู่ที่การตลาด ที่ผู้บริโภคยังติดภาพว่า สินค้ารีไซเคิลคือของที่ใช้แล้ว จึงวางแผนงานเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่จากการตลาดแบบ B-to-B (Business-to-Business) ที่เป็นการติดต่อโดยตรงกับองค์กรหรือบริษัทที่ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไม้อยู่แล้ว มาเป็นการตลาดแบบ Business-to-Consumer หรือ B-to-C เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากขึ้น
 
“คนไทยทั่วไปชอบสินค้าที่โมเดิร์น ไม่นิยมของที่ใช้แล้ว แต่เราอยากให้ลูกค้ามองว่าการซื้อสินค้ารีไซเคิล คือคุณซื้อการรักษาโลกใบนี้ไว้ ในอนาคตเรามีแผนจะทำการตลาดให้ผู้บริโภครู้จักสินค้ามากขึ้น โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ตัว Product และเพิ่ม Position ทางการตลาด นอกเหนือจากการให้คุณค่าคืนสู่สังคมโดยตรงผ่านการรีไซเคิล เพราะเราไม่ได้เน้นเพียงแค่ทำกำไรทางธุรกิจเท่านั้น แต่เราช่วยเหลือโลกและสังคมด้วย” หิรัณยธรกล่าวทิ้งท้าย 
 
กรีนบอร์ดไม่ใช่แค่วัสดุรีไซเคิลที่ช่วยรักษ์โลก แต่ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างน่าสนใจ 
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เจาะกระบวนท่าท้าดวล ส่ง “อบอวล” สู้ศึกตลาดยาดม ปรุงกลิ่นหอมแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจากมือแพทย์แผนไทยประยุกต์สุดล้ำ!

“อบอวล” แบรนด์ยาดมสุดชิค ที่กำเนิดจากความคิดของแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ ไม่ใช่แค่สดชื่น แต่ต้องถึงกับร้องว่า “มีกลิ่นนี้ด้วยหรือฟะ!” อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้ “อบอวล” ที่มีอายุกว่า 3 ปี โดดเด่นไม่แพ้ใคร..ลองไปกะเทาะดูเนื้อในของธุรกิจกัน

ทำไม Live Exchange จึงเป็นตลาดทุนที่ SME อยากโตต้องรู้จัก ฟัง ประพันธ์ เจริญประวัติ

พูดคุยกับบ "ประพันธ์ เจริญประวัติ" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ MAI และ Live Exchange ที่จะบอกเล่าว่าทำไม การระดมทุนคือกลไกสำคัญที่จะพา SME ไปสู่ความสำเร็จ และ Live Exchange คือบันไดขั้นแรกที่ SME ทุกขนาดต้องรู้จัก

 The 3rd daughter วาดฝันให้เป็นจริง จากสติกเกอร์สู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ครองใจคนกว่า 10 ปี

ชวนไปดูเส้นทางการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากความหลงใหลในศิลปะจนพัฒนาแบรนด์ The 3rd daughter เข้าไปอยู่ในชีวิตของใครหลายคนผ่านสารพัดของกระจุกกระจิกที่แสนน่ารักมาได้มากกว่า 10 ปี! ของตาต้า-ลดาพร ทรัพย์ภคกุล