ขนมขบคิด...กินขนมเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น

 

 
ย้อนกลับไปเมื่อ 2-3 ปีก่อน ท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังมาแรง ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวภายใต้ชื่อแบรนด์ “ขนมขบคิด” ได้เปิดตัวพร้อมกับจุดยืนการเป็นขนมเพื่อสุขภาพ และล่าสุดยังได้ต่อยอดแบรนด์อาหาร Think good ขึ้นมาเจาะตลาดกลุ่มคนรักสุขภาพที่ชัดเจนขึ้น 
 
วรกร เลาหเสรีกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ฟาร์มคิดดี จำกัด และบริษัท ขนมขบคิด จำกัด เปิดเผยถึงผลตอบรับในช่วงเวลาสองปีในการออกสู่ตลาดของแบรนด์ขนมคบคิดว่า ถึงแม้ตลาดสินค้าอาหารเพื่อสุขภาพจะมาแรง แต่ผู้บริโภคคนไทยยังให้ความสำคัญกับรสชาติก่อนเรื่องสุขภาพ ส่งผลให้ไม่สามารถขยายตลาดได้ ทำให้เขาต้องหันมาปรับกลยุทธ์ในการทำธุรกิจใหม่ ที่ผลิตภัณฑ์จะต้อง “ครบเครื่อง” มากขึ้นกว่าเดิม

โดยยังคงเน้นคุณค่าของอาหารมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่รสชาติเป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณาตามมาเป็นอันดับสอง ดังนั้น เพื่อให้รสชาติโดดเด่นเป็นที่ถูกใจลูกค้า ทั้งกระบวนการผลิตและวัตถุดิบจะต้องเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมที่ใช้อยู่ มีการพลิกแพลงส่วนผสมอย่างอื่นเข้ามาเพิ่มเติม นอกจากการใช้ข้าวไทยที่มีกรรมวิธีการผลิตที่ยุ่งยากซับซ้อน ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น
 
วรกรจึงปรับโจทย์วิธีคิดของเขา โดยการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพประเภทดัชนีน้ำตาลต่ำที่เรียกว่า Low GI เพื่อตอบสนองเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน
 
“จากการที่เราโฟกัสกลุ่มเป้าหมายให้ชัดขึ้น ทำให้ฐานลูกค้าเราขยายขึ้น มีการคาดการณ์ว่าอนาคตภายในปี 2563 คนไทยจะป่วยด้วยโรคเบาหวาน 8.2 ล้านคน เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรของประเทศไทย ทำให้เราเห็นว่าตลาดไม่ได้แคบลง

ในขณะเดียวกัน เราไม่ได้โฟกัสเรื่องเบาหวานอย่างเดียว ยังมีงานวิจัยที่ทำสูตรจบไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ออกเป็นตัวโปรดักต์ เช่น ขนมปังสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็ง พอเราพูดถึงว่าเป็นอาหารสำหรับคนเป็นเบาหวานหรือเป็นมะเร็ง อาจจะมองว่ากลุ่มลูกค้าเล็กลง แต่จริงๆ แล้วอาหารพวกนี้ทุกคนรับประทานทานได้ เพราะมันดีขนาดคนที่เจ็บป่วยรับประทานแล้วไม่เป็นอะไร แล้วทำไมคนที่ไม่ป่วยจะรับประทานไม่ได้” 
 
วรกรตั้งเป้าวางแผนทำตลาดสินค้าเพื่อให้คนทั่วไปรู้จัก เริ่มจากการลดราคาให้ต่ำลง และลดขนาดหีบห่อเพื่อให้สะดวกในการซื้อ ทำให้ลูกค้าเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ซึ่งเขาไม่ได้มองว่าเป็นการลดคุณภาพ นอกจากนี้ ยังเน้นกระจายสินค้าตามระบบการค้าปลีกอย่างซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ โดยวาง Positioning จับกลุ่มลูกค้า B+ แต่ราคาแค่ระดับ B เพราะต้องการที่จะทำสินค้าเพื่อให้คนทุกคนเข้าถึงได้ โดยไม่ลืมหัวใจสำคัญอย่างสุขภาพของผู้บริโภค
 
“ในอนาคตเราจะออกขนมแบรนด์ใหม่ชื่อว่า Think Good ประกาศจุดยืนว่าเราจะคิดดี เราจะทำอาหารเพื่อให้คนที่รับประทานอาหารของเราแล้วใช้ชีวิตที่ดีขึ้น อาหารคือไลฟ์สไตล์ของคุณ แบรนด์ Think Good ของเราจะชัดเจนขึ้น โดยจะเจาะลึกลงไปและพูดถึงข้อมูลที่เป็นเชิงวิชาการมากขึ้น ที่ผ่านมาเรากลัวว่าคนไทยจะรับได้ไหม จะหนักเกินไปหรือเปล่า แต่ความจริงคนไทยที่เป็นลูกค้าอาหารเพื่อสุขภาพเขารู้มากกว่าเราอีก ตอนนี้ผมจึงต้องบอกทุกอย่างที่เรารู้แก่ผู้บริโภค”
 
 
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน