สสว.จับมือหอการค้าไทย ยกระดับความสามารถ SME ไทย ประกาศความสำเร็จผ่าน 3 โครงการใหญ่ทั้ง โครงการสนับสนุน SME รุ่นใหม่ให้เข้มแข็ง, โครงการเตรียมความพร้อมรองรับ AEC และโครงการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ พบสร้างรายได้ให้แก่ SME ที่เข้าร่วมโครงการมากกว่า 1 พันล้านบาท
นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) จำนวน 3 ล้านราย การพัฒนาส่งเสริม SME ที่มีจำนวนมากขึ้น ให้มีสินค้าหรือบริการเป็นที่ต้ องการของตลาดจนสามารถเติบโตได้อ ย่างยั่งยืน จำเป็นต้องทำร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในภาครัฐและภาคเอกชน
สสว.ได้ปฏิบัติตามแนวทางประชารัฐร่วมกับหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อยกระดับและพัฒนา SME โดยการดำเนิน 3 โครงการ 4 กิจกรรม ตั้งแต่เดือนกันยายน 2559 – เดือนสิงหาคม 2560 ได้แก่ 1. โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ 2. โครงการ Innovative Packaging for SME และ 3. โครงการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อรองรับ AEC ปรากฎว่า มีผู้ประกอบการ SME ขนาดเล็ก เข้าร่วมโครงการรวม 731ราย สร้างรายได้ให้แก่ SME จำนวน 1,075.60 ล้านบาท ถือเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนที่เป็นรูปธรรมและสามารถเห็นผลลัพธ์ได้จริง
นอกจากนี้ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่มีเครือข่ายสมาชิกนักธุรกิจครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการและสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีองค์ความรู้ทางวิชาการ และสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประกอบการที่ดีในอนาคต ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการนำแผนของภาครัฐมาปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมสามารถเห็นผลลัพธ์ได้จริง และเป็นที่เชื่อถือของสาธารณชน
นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยหอการค้าไทยประเมินว่า ทั้งปี 2560 จะขยายตัวได้ในกรอบ 3.5-4.0 และแม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้น แต่สภาพแวดล้อมและสถานการณ์ตลาด ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับบทบาทของเทคโนโลยีและดิจิตอลที่ทวีความสำคัญ ได้ส่งผลต่อโลกธุรกิจทั้งการสร้างโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น อย่างธุรกิจ E-Commerce ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มความท้าทายให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SME ที่จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อม สำหรับการปรับตัวกับโครงสร้างเศรษฐกิจที่จะเปลี่ยนไป การค้าจะเป็นแบบไร้พรมแดน (Borderless) โดยค้าขายบน Smart Trade Platform ในขณะที่การเกษตรจะเป็นเกษตรสมัยใหม่ มีการเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม ส่วนภาคบริการจะทวีความสำคัญมากขึ้น สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศ
“หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้ความสำคัญกับการส่งเสริม และพัฒนา SME โดยการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริม SME ผ่านศูนย์ TCC SMART Center (TSC) ซึ่งจะมุ่งเน้นการให้บริการเชิงรุก เข้าถึงง่ายและจับต้องได้จริง เน้นการพัฒนาผู้ประกอบการ 4.0 ให้สมาชิกสามารถนำข้อมูล นวัตกรรม และมาตรฐาน ไปต่อยอดในการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดความรู้และประสบการณ์ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการทุกระดับ รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ และแนวทางการน้อมนำหลักเศรษฐกิจ พอเพียงมาใช้ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้เกิดผลประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ”
นายพลิษศร์ ภิรมย์ภักดี รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกับสสว. จัดทำกิจกรรมโครงการทั้งหมด 3 โครงการ 4 กิจกรรม ซึ่งได้เริ่มดำเนินกิจกรรมมาตั้ งแต่กันยายน 2559 ถึงสิงหาคม 2560 โดยโครงการแรก คือ โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ มีจำนวนผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 467 ราย สามารถบ่มเพาะเชิงลึกในด้านการบริหารจัดการธุรกิจ โดยหลังการเข้าร่วมโครงการประมาณ 70%ของผู้ประกอบเข้าร่วมทั้งหมด สามารถทำบลูพริ้น นำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในธุรกิจของตัวเอง นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเครือข่ายของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่เข้มแข็ง เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การประกอบธุรกิจในอนาคตอีกด้วย
โครงการที่สอง Innovative Packaging for SMEs ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์เชิงลึกให้กับผู้ประกอบการจนสามารถพัฒนาและออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Artwork) รูปแบบใหม่ตามที่ต้องการได้ ซึ่งจำนวน SME เข้าร่วมทั้งสิ้น 112 ราย นอกจากนี้ ยังมีผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกอีก 32 ราย ได้ต่อยอดการพัฒนาการพัฒนาจนสามารถสร้างเป็นบรรภัณฑ์ต้นแบบไปใช้ ได้ในธุรกิจจริง
โครงการที่สาม คือ โครงการเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการเพื่อรองรับ AEC ซึ่งประกอบด้วย 2 กิจกรรม โดยกิจกรรมแรก “AEC and SMEs Challenges: Next Steps–Business Matching มุ่งเน้นพัฒนาและสร้างเครือข่ายธุรกิจให้กับผู้ประกอบการ SME ของไทย โดยนำคณะผู้ประกอบการจำนวน 95 บริษัท เดินทางร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ กับผู้ประกอบการกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านที่มีศักยภาพ 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว และ เมียนมา ทำให้เกิดการเจรจาธุรกิจทั้งสิ้น 575 คู่ และสร้างรายได้ให้กับ SME ไทย 575.6 ล้านบาท
กิจกรรมที่สอง เป็นการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเพื่อมุ่งสู่ AEC (Big Brother 50) กิจกรรมนี้มีรูปแบบกิจกรรมเป็นแบบบริษัทพี่ช่วยบริษัทน้อง โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเพิ่มทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจและสร้างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเชื่อมโยงในการดำเนินธุรกิจระหว่างธุรกิจขนาดย่อม (บริษัทน้อง) จำนวน 57 ราย และธุรกิจขนาดใหญ่ (บริษัทพี่) จำนวน 14 ราย โดยบริษัทน้องได้รับ Coaching กระบวนการธุรกิจตลอด Value Chain จากบริษัทพี่ จนสามารถนำไปสู่การขยายตลาดจากท้องถิ่นสู่อาเซียนและสู่ตลาดโลก โดยตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่บริษัทน้องเข้าร่วมบ่มเพราะธุรกิจภายใต้โครงการ สามารถพัฒนาตัวเองและสร้างรายได้ ให้แก่ SME เข้าร่วมได้กว่า 500 ล้านบาท
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี