กรมพัฒน์ฯ เดินหน้าปั้นต้นแบบนักธุรกิจรุ่นใหม่ให้เป็นมืออาชีพ



             กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เดินหน้าพัฒนาและปั้นต้นแบบนักธุรกิจรุ่นใหม่ให้มีความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการธุรกิจ คัดเลือก 6 นักธุรกิจต้นแบบที่ดี ในการเป็นแบบอย่างให้กับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) โดยนำแนวคิดไปปรับใช้กับธุรกิจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งต่อไป


             นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เผยถึง การดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันจะอยู่รอดได้อย่างเข้มแข็ง ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง การตลาด การเงิน กฎหมาย         ทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการเชื่อมโยงพันธมิตรทางธุรกิจที่ขยายโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้น แบ่งปันฐานลูกค้าของกันและกัน เพื่อลดแรงกดดันจากภาวะแข่งขันที่ซับซ้อนขึ้น การสร้างเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญมากของคนทำธุรกิจในปัจจุบันที่พันธมิตรทางธุรกิจจำเป็นต้องเกื้อหนุนระหว่างกัน



             การผลักดันให้ผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ของไทยให้มีความเข้มแข็ง สามารถแข่งขันได้ในทุกตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ควรมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก พัฒนาทักษะ และสร้างนักธุรกิจมืออาชีพ  ที่มีศักยภาพด้านการบริหารจัดการธุรกิจ


             ซึ่งที่ผ่านมา กรมฯ ได้มีการจัดกิจกรรมสร้างนักธุรกิจมืออาชีพ หรือ Smart Professional Entrepreneur : DBD-SPE และกิจกรรมนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Advance Creative Marketeer : DBD-ACM) มาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมธุรกิจตั้งแต่ในระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง พร้อมทั้งนำองค์ความรู้   ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมเชิงพาณิชย์รูปแบบใหม่ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ จนนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจของประเทศต่อไป



             และเพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่มีความมุ่งมั่นพัฒนาตนเองสู่ความเป็นมืออาชีพ กรมฯ จึงได้จัดพิธีมอบวุฒิบัตรพร้อมโล่รางวัลสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ผ่านการอบรมและได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักธุรกิจต้นแบบนี้ขึ้น โดยในปี 2560 มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านการพัฒนาและคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดี ดังนี้ 1) กิจกรรมสร้างนักธุรกิจมืออาชีพ (Smart Professional Entrepreneur : DBD-SPE) รุ่นที่ 6 มีผู้ผ่านการพัฒนา จำนวน 78 ราย และมีผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็น The Best Practice จำนวน 3 ราย คือ



             ระดับดีเด่น นายปรีชา คุ้นวานิช บริษัท ฮิวแมนเทค คอนซัลติ้ง จำกัด (Application จัดหางาน)

             ระดับดีมาก นางณัชนันท์ สรรค์วิวัฒน์ บริษัท นาซ่าโปรดักส์แอนด์เซฟตี้ จำกัด (จำหน่ายอุปกรณ์ดับเพลิง)

             ระดับดีมาก นายนิพิฐภัทร องค์ธนกุลพิสิษ บริษัท สยาม ฌีฑะวัน จำกัด (ผลิตภัณฑ์สบู่ สมุนไพร ธรรมชาติ)

 
             2) กิจกรรมสร้างนักการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Advance Creative Marketeer : DBD-AMC) รุ่นที่ 4 มีผู้ผ่านการพัฒนาจำนวน 24 ราย และมีผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นต้นแบบที่ดีจำนวน 3 ราย คือ

             ระดับดีเด่น นางสิทธินี ทองใบ ร้านผดุงฉัตร I-POT (ผลิตและจำหน่ายกระถางต้นไม้ I-POT และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านและสวน)

             ระดับดีมาก นายชัยณรงค์ เชื้อชูชาติ บริษัท คอฟฟี่บอยรีเทล จำกัด (ร้านกาแฟคอฟฟี่แบรนด์ Grand Coffee Boy)

             ระดับดี นายธนาวุฒิ ศรีนิรัตน์ บริษัท อินเตอร์เฟส ซิสเทค จำกัด (ผลิตและจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรม)


             ทั้งนี้ การพัฒนาเอสเอ็มอี ให้เป็นนักธุรกิจมืออาชีพ ไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาให้ทำธุรกิจอย่างมืออาชีพ      ยังสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเอสเอ็มอี เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้สังคมผู้ประกอบการ พร้อมทั้งยกระดับผู้ประกอบธุรกิจสู่ความเป็นมืออาชีพ และมีศักยภาพในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นระบบตามมาตรฐานสากล



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน