เปิดใช้ระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร

 
 
 
 
 
 
           พาณิชย์ เปิดใช้งานระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจทางอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร รองรับการปฏิบัติงานด้านทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจเต็มรูปแบบ พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลแบบเรียลไทม์ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับหลักประกันทางธุรกิจทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ทุกภารกิจด้านหลักประกันทางธุรกิจมีความคล่องตัว จดทะเบียนสัญญาฯ ง่าย ตรวจค้นและบริการข้อมูลรวดเร็ว ชำระค่าธรรมเนียมสะดวกสบาย หวัง!! อำนวยความสะดวกประชาชนเต็มที่ ฉลองครบรอบ 1 ปี กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ  
 
 
          สำหรับกฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ คือ กฎหมายที่ออกมาเพื่อรองรับให้ผู้ประกอบการสามารถนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมาเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินได้ โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองให้แก่เจ้าหนี้ โดยทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้ ได้แก่ กิจการ สิทธิเรียกร้อง ทรัพย์สินทางปัญญา สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ และทรัพย์สินอื่นๆตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เป็นต้น เพื่อเป็นการขยายการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบขนาดกลางและรายย่อย ทั้งนี้ สัญญาหลักประกันทางธุรกิจต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
 
 
           นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในฐานะที่ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลและบังคับใช้กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจ ได้ดำเนินการให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจมาอย่างต่อเนื่องในลักษณะเรียลไทม์ (Real Time) และได้ให้บริการฯ ครบ 1 ปี เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ล่าสุด กรมฯ ได้พัฒนาระบบการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมเปิดให้บริการระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูป ลดขั้นตอนการจดทะเบียนฯ ทำให้การจดทะเบียนรวดเร็วขึ้น ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2560 นี้เป็นต้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไปอย่างเต็มที่
 
 
           ทั้งนี้ ระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับการดำเนินการ ดังนี้ 
 
           1) ระบบลงทะเบียนสำหรับผู้ใช้งาน เช่น ผู้ให้หลักประกัน ผู้รับหลักประกัน ผู้บังคับหลักประกัน นายทะเบียน ทรัพย์ที่มีทะเบียน  และหน่วยงานพันธมิตร โดยผู้ใช้งานดังกล่าวสามารถลงทะเบียนผ่านระบบได้ทันที 
 
 
           2) ระบบจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ รองรับการยื่นคำขอจดทะเบียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน Web Application และ Web Services แบบ Host to Host และเจ้าพนักงานทะเบียนสามารถลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วย Digital Signature ได้ทันที 
 
 
           3) ระบบทะเบียนผู้บังคับหลักประกัน รองรับการบริหารจัดการเกี่ยวกับการรับสมัคร การอบรม การชำระค่าธรรมเนียม การออกใบอนุญาตเป็นผู้บังคับหลักประกัน การต่อใบอนุญาตฯ และการตรวจค้นข้อมูลผู้บังคับ
 
หลักประกัน 
 
           4) ระบบ Web Service/API รับ-ส่งข้อมูล สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานผู้รับหลักประกัน หน่วยงานทรัพย์มีทะเบียน และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ 
 
 
           5) ระบบตรวจดูข้อมูลและบริการข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจ สามารถตรวจค้นข้อมูลได้ตามสิทธิของผู้ใช้ เช่น ตรวจดูรายการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ ตรวจค้นข้อมูลทรัพย์สินที่ได้จดทะเบียนเป็นหลักประกัน ตรวจค้นข้อมูลผู้ให้หลักประกัน ค้นข้อมูลผู้รับหลักประกัน 
 
 
           6) ระบบค่าธรรมเนียม สามารถรับชำระค่าธรรมเนียม จัดทำใบสั่ง และใบเสร็จรับเงินทุกประเภทแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
 
 
           ซึ่งขณะนี้มีธนาคารที่ให้บริการรับชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบ e-Payment ให้แก่หน่วยงานอื่นได้ จำนวน 6 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารธนชาต ธนาคารออมสิน และมีธนาคารที่ให้บริการรับชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบ e-Payment ได้เฉพาะลูกค้าของธนาคารเอง จำนวน 4 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารเกียรตินาคิน ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารทหารไทย
 
 
           อธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ข้อมูลการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา (ตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2559 - 4 กรกฎาคม 2560) มีธุรกิจเอสเอ็มอียื่นคำขอจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ รวม 145,205 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน 2,671,146 ล้านบาท โดยสิทธิเรียกร้องประเภทบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกันมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.00 (มูลค่า 1,602,681 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น สินค้าคงคลัง วัตถุดิบ เครื่องจักร รถยนต์ เรือ คิดเป็นร้อยละ 19.65 (มูลค่า 524,905 ล้านบาท) และสิทธิเรียกร้องประเภทอื่นๆ เช่น ลูกหนี้การค้า สัญญาจ้าง สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อ คิดเป็นร้อยละ 20.28 (มูลค่า 541,585 ล้านบาท) ทรัพย์สินทางปัญญา คิดเป็นร้อยละ 0.07 (มูลค่า 1,975 ล้านบาท)”
 
 
           อย่างไรก็ตามจากสถิติการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจดังกล่าว พบว่า ทรัพย์สินประเภทกิจการและทรัพย์สินทางปัญญา ยังไม่ได้นำมาจดทะเบียนหรือนำมาจดทะเบียนจำนวนไม่มาก เนื่องจากเป็นเรื่อง
 
ใหม่อีกทั้งหลักเกณฑ์วิธีการในด้านการประเมินราคายังไม่ชัดเจน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงกำหนดจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การนำกิจการมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ” เพื่อผลักดันให้เกิดต้นแบบของการนำกิจการมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ
 
 
           โดยกำหนดจัดอบรม ในวันที่ 7, 9, 11 สิงหาคม 2560 ณ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า อีกทั้งได้ดำเนินการจัดอบรมพัฒนาความรู้ผู้บังคับหลักประกัน เรื่อง การประเมินมูลค่ากิจการสำหรับ พรบ. หลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ไปแล้วเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน