พาณิชย์ยกระดับมาตรฐาน OTOP จากภูมิปัญญาไทยเชื่อมท่องเที่ยวเพิ่มรายได้สู่ชุมชน



     กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เตรียมยกระดับมาตรฐานสินค้าจากภูมิปัญญาไทยให้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ลงพื้นที่สำรวจปัจจัยการตลาดและความคิดเห็นผู้บริโภคต่อสินค้าโอทอป ที่สะท้อนเอกลักษณ์ประจำถิ่น จนเกิดเป็นภาพลักษณ์ที่สร้างเสน่ห์และมูลค่าเพิ่มให้สินค้า สร้างโอกาสในการเข้าถึงช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศตลอดจนเร่งพัฒนาศักยภาพด้านการตลาดโอทอปไทยให้มีมาตรฐานในระดับสากล 

     นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ปัจจุบันสินค้าและผลิตภัณฑ์โอทอปถือเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้จำนวนมากให้กับประเทศไทย จึงทำให้รัฐบาลและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งผลักดันให้ผู้ประกอบการโอทอปและเอสเอ็มอีได้เห็นถึงช่องทางในการพัฒนายกระดับสินค้าให้มีคุณภาพ และอรรถประโยชน์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค โดยการใช้จุดแข็งของชุมชนทางด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา เพื่อเชื่อมโยงสู่ภาคการผลิตและบริการในการสร้างสัญลักษณ์และขยายโอกาสทางการตลาด รวมถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค เพิ่มรายได้แก่ชุมชน ส่งเสริมการอนุรักษ์และสืบสาน
ภูมิปัญญาไทยให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
 
     เนื่องจากสินค้าโอทอปเป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป การพัฒนาคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานจึงต้องมีการวางแผน และกำหนดกลยุทธ์การตลาดในการขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับสินค้าโอทอป โดยกรมฯ กำหนดแนวทางการพัฒนาที่ต้องเร่งดำเนินการ ในด้านการพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการจำเป็นต้องใส่ใจในรายละเอียดของผู้บริโภค และศึกษาแนวทางใหม่ๆ ในการพัฒนาสินค้าให้มีความน่าสนใจ ดึงดูดลูกค้า เพื่อนำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ หรืออาจจะเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจ รวมถึงการสร้างจุดเด่นให้ผลิตภัณฑ์มีความน่าเชื่อถือด้วยแนวความคิดแปลกใหม่ ที่ช่วยทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์นั้นๆ 

     สำหรับประเทศไทยมีจุดแข็ง คือ เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเชียที่มีความโดดเด่น ด้านวัฒนธรรม ทำให้อัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมาสู่ไทยสูงขึ้น สินค้าเชิงสัญลักษณ์หรือสินค้าเอกลักษณ์ของไทยจึงเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ปัจจัยด้านการตลาดจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาตลาดสินค้าโอทอปไทย 

     โดยกรมฯ ได้ทำการสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยด้านการตลาดสินค้าโอทอปไทย พบว่าภาพลักษณ์เด่นของสินค้าโอทอปที่ผู้บริโภคนึกถึงมากที่สุด ได้แก่ 1.เป็นของดีประจำถิ่น 2.เป็นสินค้าจากภูมิปัญญาดั้งเดิม 3.เป็นสินค้าโดยกลุ่มชาวบ้าน 4.เป็นสินค้าที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และ 5.สินค้าที่สะท้อนความรุ่มรวยทางวัฒนธรรมของชาติไทย

     นอกจากปัจจัยด้านการตลาดแล้ว หากต้องการยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าโอทอปไทยให้ประสบความสำเร็จควรมีแนวทางการดำเนินงานและกลยุทธ์ที่ชัดเจน เช่น การสร้างแบรนด์ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อช่องทางต่างๆ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นตลาดเฉพาะหรือ Niche Market การพัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับรองมาตรฐานด้านการผลิต การพัฒนาความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเชื่อมโยงและบูรณาการด้านการตลาด การสร้างเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยน แบ่งปันทักษะ และประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ

     ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พบว่าในปี 2559 ยอดจำหน่ายสินค้าโอทอปไทยสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึง 1.252 แสนล้านบาท และคาดว่าในปี 2560 ยอดจำหน่ายสินค้าโอทอปจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 หรือคิดเป็น 1.377 แสนล้านบาท ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพตลาดโอทอปไทยจะประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายของรัฐบาล ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จะทำให้สินค้าโอทอปไทยเติบโตได้อย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน