เปิดผลบ่มเพาะ สสว. ปั้นนักรบเศรษฐกิจใหม่รุ่นแรกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์

 


 
             
     สสว.แถลงผลการบ่มเพาะ SME รายใหม่ปี 2559 สมัครเข้าโครงการ 11,065 ราย ขั้นทำแผนธุรกิจ 5,527 ราย ตั้งเป้าหมายปี 2560 สร้างผู้ประกอบการใหม่ อีก 3,000 ราย  
 
 
     นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่  โดยตั้งเป้าหมายสร้าง SME รายใหม่ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย ระหว่างปี พ.ศ.2559-2561 

 
 
        สำหรับในปี 2559 สสว. ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) 9 แห่งทั่วประเทศ ดำเนินโครงการบ่มเพาะ มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 11,065 ราย  เป็น 1) บุคคลทั่วไปและนักศึกษาที่ยังไม่เคยทำธุรกิจ 5,563 ราย 2) บุคคลทั่วไปที่ทำธุรกิจอยู่แล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียน 3,785 ราย 3) ธุรกิจที่จดทะเบียนไม่เกิน 3 ปี 1,095 ราย และ 4) วิสาหกิจชุมชน 622 ราย  ผ่านเข้าสู่ขั้นทำแผนธุรกิจร่วมกับ มทร. และพี่เลี้ยงซึ่งเป็นนักธุรกิจในท้องถิ่นจำนวน 5,527 ราย 
 
 
      ทั้งนี้ พบว่าแผนธุรกิจมีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ 2,143 ราย เป็นภาคการผลิต 1,498 ราย และบริการ 645  ราย  SME ใหม่มีความต้องการด้านเงินทุนและช่องทางการตลาด สสว. จึงได้ประสานกับธนาคารรัฐ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และธนาคารออมสิน เพื่อให้การสนับสนุนด้านสินเชื่อ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาอนุมัติ


  นอกจากนี้ สสว. ยังมีกองทุนให้กู้ยืมรายละไม่เกิน 1 ล้านบาทโดยไม่คิดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนตามนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจท้องถิ่นของรัฐบาล และได้ร่วมมือกับหอการค้าไทย เตรียมจัดงานแสดงสินค้าภายในประเทศ เพื่อนำ SME ใหม่จำนวน 1,500 ราย ในภาคธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม เสื้อผ้า เครื่องสำอาง และบริการ ร่วมกิจกรรมทดสอบตลาดในศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซ่า พร้อมกันทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้
 
 
 
     จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่าผู้ที่ผ่านเข้าสู่ขั้นทำแผนธุรกิจในปี 2559 ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรถึง 1,470 ราย ในปี 2560 สสว. จึงมีโครงการบ่มเพาะ SME เกษตร โดยขอให้กรมส่งเสริมการเกษตรและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) คัดเลือกเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีศักยภาพ หรือ  Smart Farmer เข้าร่วมโครงการฯ 5,489 ราย  และผู้สนใจทำธุรกิจทางด้านอื่นอีก 5,190 ราย รวมเป็นจำนวนที่เข้ารับการบ่มเพาะ ในปี 2560 ทั้งสิ้น 10,679 ราย ส่วนใหญ่อายุ 20-40 ปี สสว. ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัย 8 แห่งในทุกภูมิภาคของประเทศและสภาอุตสาหกรรมทำหน้าที่บ่มเพาะ โดยจะเน้นการผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดเป็นสำคัญ
 
 
 
     ทั้งนี้ สสว. จะดำเนินโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2561 ตั้งเป้าจะสามารถสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ได้ไม่ต่ำกว่า 10,000 ราย โดยผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมโครงการแต่ไม่สามารถผ่านเข้าสู่ขั้นทำแผนธุรกิจที่เป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการในปีต่อไปได้ โดยติดตามรายละเอียดได้ทาง www.sme.go.th หรือ สสว. Call Center 1301
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

พลิกตำรายา 150 ปี สู่อาณาจักรสุขภาพแห่งอนาคต ทายาทขุนอภิบาลบ่อพลับ ร่วมสร้างธุรกิจครอบครัว

เป้าหมายการทำธุรกิจของหลายคนอาจเป็นเรื่องรายได้ แต่สำหรับ ต๊อก-ปีรัชด์ อนันตพันธ์ และ แต๊ก-ปานชาติ มิตรกูล มีเป้าหมายสร้างแบรนด์ "อภิบาลบ่อพลับ" เพื่อให้ทุกคนได้ระลึกถึงตำรายาไทย 150 ปี จากบรรพบุรุษของเขาที่ชื่อ ขุนอภิบาลบ่อพลับ

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย