TCDC เปิด 3 บริการ "คิด ผลิต ขาย" ช่วย SME เพิ่มรายได้

 
 
 
 
 
         นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า   ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบในฐานะหนึ่งในหน่วยงานของภาครัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เร่งคิดค้นและพัฒนาแนวทางในการสนับสนุนเอสเอ็มอีทั้งรายเก่าและรายใหม่ ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก และสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงได้สร้างสรรค์บริการที่มีความทันสมัยมาเพื่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะ   โดยประกอบด้วย 3 บริการหลัก ได้แก่ “คิด”  “ผลิต” “ขาย” โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
 
     1. กลุ่มบริการช่วยคิด – กระบวนการแรกเริ่มของการสร้างธุรกิจ โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบจะเน้นที่การสร้างแรงบันดาลใจ การค้นคว้าข้อมูล การวางแผนกลยุทธ์ วางแผนธุรกิจ และการค้นหาไอเดียต้นแบบและทดสอบไอเดีย ซึ่งตัวอย่างบริการที่รองรับ ได้แก่ ศูนย์รวมวัสดุและนวัตกรรมด้านการออกแบบ (MDIC: Material & Design Innovation Center), บริการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ (Business Consulting Program), ฐานข้อมูลนักออกแบบผู้ประกอบการและผู้ผลิตไทย (TCDC Connect) , ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ (Resource Center), การจัดแสดงผลงานและนิทรรศการต่างๆ (Showcase & Exhibition) เป็นต้น
 
 
     2. กลุ่มบริการช่วยผลิต – กระบวนการเปลี่ยนไอเดียสู่ชิ้นงาน ซึ่งในกระบวนการนี้จะมุ่งเน้นที่ การวางแผนการผลิต การสรรหาวัสดุและผู้ผลิต และการผลิตต้นแบบ อาทิ ห้องปฏิบัติการ (Makerspace) ที่มาพร้อมบริการเช่าอุปกรณ์ เครื่องมือทันสมัยต่างๆ เพื่อผลิตผลงานต้นแบบและผลงานเชิงพาณิชย์ (Prototype Production) อาทิ เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) เครื่องตัดเลเซอร์ (Laser Cutter), เวิร์คช็อปพัฒนาศักยภาพผู้ ประกอบการ (Workshop & Activity) ฯลฯ เป็นต้น
 
 
     3. กลุ่มบริการช่วยขาย – กระบวนการนำเสนอผลงานสู่กลุ่มลูกค้า  ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบสามารถสนับสนุนผู้ ประกอบการในเรื่องการตลาดและประชาสัมพันธ์ การขยายช่องทางการจำหน่าย และการสร้างเครือข่าย ผ่านบริการต่างๆ อาทิ พื้นที่แสดงผลงานและเวทีทอล์ คสำหรับผู้ประกอบการ (Debut Wall & Debut Talk), โครงการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ (Training Program), โครงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching), และเทศกาลงานออกแบบ (Design Week) เป็นต้น
 
 
     อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ตลอดจนผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว สามารถเข้าร่วมใช้บริการต่างๆ ของทางศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ตั้งแต่ระดับการคิดหาไอเดียสร้างสรรค์ (Idea Generation) เพื่อช่วยผู้สนใจประกอบธุรกิจตั้งแต่ขั้นตอนแรกเริ่มของการสร้างธุรกิจ  ระดับสร้างธุรกิจ (Business Startup) ต่อยอดผู้ประกอบการด้วยการให้ คำปรึกษา และข้อมูลต่างๆเพื่อเป็นเครื่องมือให้ธุรกิจเกิดขึ้นได้จริง ระดับพลิกธุรกิจ (Business Transformation) เปลี่ยนวิธีคิดของผู้ประกอบการด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การออกแบบบริการ (Service Design) และนวัตกรรมการออกแบบ (Design Innovation) เพื่อหาทางออกใหม่ให้กับธุรกิจ

 
 
     ทั้งนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้พัฒนาองค์ความรู้และสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการกว่า 100,000 ราย ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการในภาคการผลิตและธุรกิจสร้างสรรค์ที่ผ่านการใช้บริการของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ พบว่า ธุรกิจต่างๆ เหล่านั้น มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 26 เปอร์เซ็นต์จากรายได้เดิม นายกิตติรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

 
     สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน