MOC Biz Club รู้จักสร้างเครือข่าย...ธุรกิจก็โตง่ายขึ้น

 
 
 
         สำหรับผู้ประกอบการแล้ว การหาเครือข่ายธุรกิจเพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าของตัวเองพบเจอตลาดมากขึ้น ถือเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งฝั่งผู้ประกอบการเองหากนิ่งเฉยก้มหน้าก้มตาขายสินค้าของตัวเองไป แม้จะโตได้ด้วยลำแข็งของตัวเอง แต่จะดีกว่าไหม ถ้าหากมีเครือข่ายธุรกิจเข้ามาช่วยผลักดันให้ธุรกิจสามารถโตได้แบบก้าวกระโดด
 
 
         MOC Biz Club ถือเป็นเครือข่ายธุรกิจที่น่าสนใจ ซึ่งสร้างขึ้นจากภาครัฐโดยมีเจ้าภาพคือกระทรวงพาณิชย์ มีเป้าหมายเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ
รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจ และจับคู่พันธมิตรธุรกิจ พร้อมประสานให้เกิดการพัฒนาธุรกิจในพื้นที่อย่างครบวงจร
 
 
           ในเรื่องนี้ "อภิรดี ตันตราภรณ์" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เล่าให้ฟังว่า กระทรวงพาณิชย์ได้สนับสนุนและส่งเสริมให้เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นหรือภูมิภาค (Local Economy) ในแต่ละพื้นที่ โดยจะใช้กลไกเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ ในการเชื่อมโยงการค้า     ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการค้า และสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้ประกอบการฐานราก ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศมีเสถียรภาพและเกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
 
 
            ซึ่งแน่นอนว่ากระทรวงพาณิชย์ได้สนับสนุนเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club อย่างเต็มที่ จนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและผู้ประกอบการรายย่อยที่อยู่ในท้องถิ่นมีความมั่นคงแข็งแกร่งมากขึ้น โดยได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ อย่างการจัดกิจกรรมจำหน่ายสินค้า การร่วมออกบูธงานแสดงสินค้า การเข้าร่วมเจรจาธุรกิจ (Business Matching) กับผู้ประกอบการทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมกว่า 600 ครั้ง โดยมีผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกเครือข่าย MOC Biz Club เข้าร่วมกว่า 4,000 ราย ทำให้มีการเชื่อมโยงสินค้า บริการ การตลาด และทรัพยากรทางธุรกิจระหว่างกัน อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาธุรกิจสู่มาตรฐานสากล สร้างสัมพันธ์อันดีและกิจกรรมทางการตลาดกับเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
 
 
           โดยเฉพาะการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยกับต่างประเทศ อย่างงานแสดงและจำหน่ายสินค้าตลาดนัดชายแดนเชื่อมโยงการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน Amnatcharoen Asean Trade Link 2017 ก็เกิดการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) คิดเป็นมูลค่กว่า 175, ล้านบาท หรือ หรือการเชื่อมโยงการค้าผลไม้ไทยภาคตะวันออก ผ่านเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club จันทบุรี ที่กระทรวงพาณิชย์ขับเคลื่อนให้เป็น “มหานครแห่งผลไม้” ไปยังต่างประเทศ ก็ได้มีการลงนามในสัญญาซื้อขายผลไม้กับผู้ประกอบการกัมพูชาและเวียดนาม จำนวน 5,000 ตัน มูลค่ารวมกว่า 150 ล้านบาท 



              และขณะนี้กำลังให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนมังคุดในช่วงที่ราคาตกต่ำ โดยการเปิดจุดรับซื้อมังคุดเพื่อส่งออกไปกัมพูชาและเวียดนาม เพิ่มกว่าวันละ 300 ตัน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวสวนมังคุด และกระทรวงฯ จะมีการขยายผลและดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ผู้ประกอบการฐานรากในพื้นที่ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลไม้ไทย ทั้งสดและแปรรูปไปยังต่างประเทศ และเน้นการจัดกิจกรรมการค้าชายแดนในภาคต่างๆ เพิ่มมากขึ้น คาดว่าภายใน 1 ปี จะสามารถสร้างมูลค่าทางการค้าได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และมีมูลค่าทางการค้าเพิ่มขึ้นในทุกปี โดยในครึ่งปีแรกนี้ สามารถสร้างมูลค่าทางการค้าผ่านทางเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ได้แล้วกว่า 470 ล้านบาท
 
 
                รมว.พณ. ทิ้งท้ายว่า  ปัจจุบันเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club มีสมาชิกทั้งสิ้นรวม 9,215 ราย โดยกลุ่มธุรกิจที่เป็นสมาชิกใน 5 อันดับแรกคือ อาหารและเครื่องดื่ม สุขภาพและความงาม เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ อสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง และกลุ่มวิชาชีพเฉพาะด้าน โดยมีพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัดจะเป็นแกนกลางในการเชื่อมโยง ประสานงาน อำนวยความสะดวก ให้คำปรึกษาแก่เครือข่ายธุรกิจฯ รวมถึงผลักดันให้ผู้ประกอบการในเครือข่ายฯ เป็น ‘ผู้ประกอบการ ๔.๐’ ในรูปแบบของ Smart Enterprise โดยใช้นวัตกรรมพัฒนาต่อยอดสินค้าให้ตรงใจผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นกลไกหลักในการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ผู้ประกอบการฐานราก และความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศต่อไป
 
 
          สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจสมัครเป็นสมาชิกเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจในพื้นที่ สามารถสมัครได้ที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด หรือ www.bizclubdbd.com
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน