พาณิชย์เปิดเสรีต่างชาติลงทุนธุรกิจเกี่ยวข้องธนาคาร-โครงสร้างพื้นฐาน





     กระทรวงพาณิชย์ปลดล็อค 19 ธุรกิจออกจากบัญชีสามท้ายพ.ร.บต่างด้าวฯ มีผลให้นักธุรกิจต่างชาติไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจอีกต่อไป ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2560 คาดดึงทุนต่างชาติเข้าไทยเพิ่มขึ้น และช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่น่าลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร และธุรกิจพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศให้เติบโต พร้อมปักหมุดไทยเป็นศูนย์กลางการค้าการลงทุนของอาเซียนตามนโยบายรัฐบาล

     นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ปลดล็อค19 ธุรกิจ โดยถอดออกออกจากบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับใหม่ สำหรับนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร และธุรกิจพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้นักลงทุนต่างชาติลดภาระค่าใช้จ่าย ระยะเวลา และลดความยุ่งยากซ้ำซ้อนในการขออนุญาตจากหน่วยงานรัฐ ก่อให้เกิดความรวดเร็วและความคล่องตัวด้านการประกอบธุรกิจในประเทศไทย สร้างสภาพแวดล้อมการประกอบธุรกิจช่วยดึงดูดเงินทุนและผู้มีความสามารถจากต่างประเทศให้สนใจเข้ามาลงทุนส่งเสริมในการพัฒนาประเทศมากขึ้น 

     โดยธุรกิจที่ได้ถอดออกทั้ง 19 รายการแบ่งเป็น 6 กลุ่มธุรกิจ ดังนี้ 1) ธุรกิจสถาบันการเงิน ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องหรือจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน (14 ธุรกิจ) เช่น การเป็นตัวแทนของสถาบันการเงิน การนำอสังหาริมทรัพย์ออกให้เช่า เป็นต้น 2) ธุรกิจการบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ 3) ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทนของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 4) ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลต่างประเทศในธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ 5) ธุรกิจบริการที่มีส่วนราชการเป็นคู่สัญญา และ 6) ธุรกิจบริการที่มีรัฐวิสาหกิจเป็นคู่สัญญา
 
     สำหรับ ‘ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการเงิน’ ที่ถอดออกจากบัญชีในครั้งนี้เป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อการส่งเสริมการแข่งขันในภาคธุรกิจบริการธนาคารพาณิชย์ และเป็นกิจกรรมที่ธนาคารพาณิชย์ต้องดำเนินการอยู่แล้ว ส่งผลให้เกิดการแข่งขันด้านการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพในการให้บริการมากยิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อภาคการลงทุนของประเทศในระยะยาว 

     ส่วน ‘ธุรกิจบริการเป็นสำนักงานผู้แทนและสำนักงานภูมิภาคของนิติบุคคลต่างประเทศ’ เป็นการให้บริการแก่สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในต่างประเทศ ในการหาแหล่งจัดซื้อสินค้าหรือบริการในประเทศไทย จึงเป็นโอกาสให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ และสำหรับ ‘ธุรกิจที่คนต่างด้าวเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ’ เป็นการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเช่น ทางรถไฟ รถไฟฟ้า สนามบิน โรงไฟฟ้า และการขุดเจาะปิโตรเลียม เป็นต้น

     ทั้งนี้ เห็นได้ชัดเจนว่าการปรับปรุงบัญชีท้าย 3 พ.ร.บ ต่างด้าวฯ ในธุรกิจดังกล่าว จะเกิดโอกาสสำคัญที่ดึงดูดการลงทุนจากผู้ประกอบการต่างชาติให้เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนานวัตกรรมการบริการ เสริมให้ไทยก้าวไปเป็นศูนย์กลางของอาเซียนด้วยลักษณะของชัยภูมิที่เหนือกว่าประเทศอื่น ประกอบกับมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพของไทยทั้งทางบก น้ำ และอากาศ ที่พร้อมสำหรับการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงการค้าของตลาดอาเซียนรองรับประชากรที่มีมากกว่า  600 ล้านคน


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน