“ช้อนกินได้” จากอินเดียบูม ผลิตกว่าหมื่นชิ้นต่อวัน

เรื่อง  วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

    การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโลกเป็นกระแสที่มีมานานแล้วและถูกนำมาใช้ในการตลาด หรือที่รู้จักกันว่า green marketing วิธีการถนอมโลกมีหลายทาง วิธีหนึ่งคือการลดปริมาณขยะบนในพื้นที่ของตัวเอง Narayana Peesapaty นักวิจัยในอินเดียมองเห็นปัญหาอย่างหนึ่งในอินเดีย ประเทศที่แม้ประชากรจำนวนมากเปิบข้าวด้วยมือ แต่ก็มีการใช้ช้อนพลาสติกมากถึงปีละ 1.2 แสนคัน และพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้นี้ใช้เวลาย่อยสลายนับร้อยปีเลยทีเดียว


Cr.Bakeys.com

    ความพยายามจะสร้างการเปลี่ยนแปลงและลดการใช้ขยะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Narayana ผันตัวจากนักวิชาการมาเป็นนักธุรกิจโดยบังเอิญหลังประสบความสำเร็จในการสรรค์นวัตกรรมเกี่ยวกับอุปกรณ์ใช้บนโต๊ะอาหาร อาทิ ช้อน ส้อม ตะเกียบที่กินได้ เขาจึงตั้งบริษัท Bakeys เพื่อผลิตอย่างจริงจัง ช่วงแรก ๆ ยังไม่เป็นที่รู้จัก แต่เมื่อทำคลิปนำเสนอ วัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนผ่าน crowd-funding บริษัทของเขาก็ได้รับความสนใจ รวมถึงยอดสั่งซื้อก็เพิ่มขึ้น นอกจากในประเทศแล้ว ยังมีออร์เดอร์จากต่างประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย บัลแกเรีย แคนาดา เอสโทเนีย เยอรมนี ฮ่องกง สหรัฐฯ อังกฤษ และสหรัฐอาหรับเอมิเร็ตส์

    ช้อนและอุปกรณ์กินได้ของ Bakeys ผลิตจากข้าวฟ่างผสมข้าวและแป้งสาลี นำไปอบในพิมพ์รูปช้อนหรือพิมพ์รูปอื่นจนแห้งสนิท เหตุผลที่ใช้ข้างฟ่างเนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยในการปลูก เมื่อเทียบกับการปลูกข้าว 1 กก.ที่ต้องใช้น้ำ 500 ลิตร ข้าวฟ่างจะใช้น้ำน้อยกว่า 60 เท่า สำหรับคนที่แพ้กลูเต็นหรือโปรตีนในแป้งสาลี ทางบริษัทก็รับผลิต
ตามสั่งโดยตัดแป้งสาลีออกไปแล้วเพิ่มแป้งอื่นเข้าไปแทน

Cr.Bakeys.com

    สำหรับรสสัมผัสคือมีความกรอบสูง ไม่เปื่อยยุ่ยง่าย เว้นเสียแต่จะแช่ในของเหลวนานเกิน 10 นาที รสชาติมีให้เลือก 3 รสคือรสธรรมชาติ รสหวาน และรสเครื่องเทศ ลูกค้าที่ได้ชิมต่างบอกว่าอร่อย ปัจจุบัน บริษัทมีกำลังการผลิต
3.5 หมื่นชิ้นต่อวัน ลูกค้าสามารถสั่งซื้อตรงจจากเว็บไซต์บริษัท โดยจะบรรจุแพ็คละ 100 ชิ้น ราคาประมาณ 300 รูปี 
(ราว 150 บาท) อายุของสินค้าอยู่ได้นานปีครึ่งถึงสองปีหากไม่แกะห่อ แต่ถ้าแกะแล้ว อาจทำให้ความกรอบลดลง
และหลังการใช้งาน หากผู้ใช้ไม่ทานเข้าไป ทิ้งไว้ 4-5 วันก็จะย่อยสลายตามธรรมชาติ การเปิดตัวช้อนกินได้เข้าสู่ตลาดดูเป็นการรับกระแสห้ามใช้ถุงพลาสติกในหลายรัฐของอินเดีย รวมถึงในเนปาล และบางเมืองในมาเลเซีย
เช่น มะละกา Narayana 

   เจ้าของนวัตกรรมช้อนกินได้คาดหวัง นี่จะเป็นก้าวเล็ก ๆ ที่นำไปสู่สังคมไร้พลาสติกในอนาคต   



ที่มา
www.bakeys.com
www.forbes.com

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย