หุ่นยนต์มือปรุงสลัดผัก 1,000 เมนูพร้อมทานในนาทีเดียว

Text : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์







     ยุคนี้เป็นยุคของการนำหุ่นยนต์มาใช้งานในรูปแบบต่างๆ อย่างแพร่หลาย แม้กระทั่งในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม หุ่นยนต์ยังแฝงตัวมาในรูปคนทำครัว เช่น หุ่นยนต์ปรุงราเมน  หุ่นยนต์ทำพิซซ่า หุ่นยนต์บาริสต้าที่ชงกาแฟ หรือหุ่นยนต์พนักงานเสิร์ฟที่พร้อมยกอาหารไปเสิร์ฟตามโต๊ะ ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวกันไปในอเมริกาที่นครซานฟรานซิสโกคือ Sally the Salad Robot หุ่นยนต์ที่สามารถปรุงสลัดผักได้มากกว่า 1,000 ชนิด โดยแต่ละเมนูใช้เวลาทำแค่นาทีเดียว  


     ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมชิ้นนี้คือ ดีพัค เซการ์ ซีอีโอบริษัท Chowbotics เจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์กว่า 100 รายการ เขาและทีมใช้เวลา 2 ปีในการผลิต Sally the Salad Robot โดยพัฒนามาจากหุ่นยนต์ผสมเครื่องเทศสำหรับปรุงแกงให้เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถผสมสลัดผักมากมายหลายเมนู Sally the Salad Robot เป็นหุ่นยนต์กึ่งตู้กดอัตโนมัติ (vending machine) ก่อนใช้งาน มนุษย์ต้องเตรียมวัตถุดิบ ได้แก่ ผักต่าง ๆ ที่หั่นขนาดพอคำ น้ำสลัด และเครื่องเคียงใส่จัดวางเครื่องที่แบ่งเป็นช่อง ๆ จากนั้นก็พร้อมที่จะรับออร์เดอร์


     ในการสั่งสลัดลูกค้าเพียงแต่กดปุ่มเลือกวัตถุดิบที่ต้องการ อาทิ ผักกาดหอม มะเขือเทศเชอร์รี่ พริกหวาน แตงกวา ผลมะกอก แล้วระบุน้ำสลัดและเครื่องเคียง เช่น ชีส ขนมปังกรอบ ลูกค้าจะได้สลัดผักตามที่ต้องการภายในเวลาอันรวดเร็ว วัตถุดิบจะมีการเติมทุกวันให้สดใหม่อยู่เสมอ สนนราคาค่าสลัดเฉลี่ยอยู่ที่เสิร์ฟละ 8 เหรียญ บริษัทผู้ผลิตระบุกำลังอยู่ระหว่างเจรจากับหลายบริษัทรวมถึงอเมซอนยักษ์ใหญ่ด้านอี-คอมเมิร์ซเพื่อนำ Sally the Salad Robot ไปติดตั้งเพื่อให้บริการพนักงานในออฟฟิศ โดยคาดหวังภายในปีนี้จะสามารถติดตั้ง 125 เครื่อง   


ที่มา  : www.money.cnn.com

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน