ฟูลเฮาส์ พลัส ฉีกกรอบฐานลูกค้าเพื่อเป้าหมายที่ก้าวกระโดด





    จากกิจการโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับสืบทอดมาจากครอบครัว สู่แบรนด์ ฟูลเฮาส์ พลัส ที่โลดแล่นในแวดวง built in เฟอร์นิเจอร์ที่เน้นงานฝีมือมานานกว่า 10 ปี และเห็นถึงช่องทางที่จะกลายเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจจากจุดที่คนส่วนใหญ่มองข้าม จนเกิดนวัตกรรมบานประตูพร้อมวงกบสำเร็จรูปออกสู่ตลาดที่พร้อมจะเติบโตต่อไปอีกเรื่อยๆ


    รุ่งโรจน์ ตั้งเศรณีกุล เล่าถึงเส้นทางของเขาว่า ฟูลเฮาส์ พลัส เริ่มต้นจากการฉีกกรอบฐานลูกค้าเดิมซึ่งเป็นหน่วยงานราชการมาเป็นลูกค้าภาคเอกชน โดยขณะนั้นได้ตั้งร้านอยู่ที่ Crystal Design Centerหรือ CDC และเป็นจังหวะเหมาะกับที่บริษัท เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG ริเริ่มโครงการบ้านประหยัดพลังงานขึ้นมา ทำให้ฟูลเฮาส์ พลัส ได้แสดงฝีมือจนถูกเลือกเป็นขาประจำกับ SCG 


    อย่างไรก็ดี เขามองว่าการจะทำธุรกิจให้ยืนได้ด้วยลำแข้งโดยไม่ต้องพึ่งใคร จำเป็นต้องมีช่องทางมากกว่าหนึ่ง ดังนั้นฟูลเฮาส์ พลัส จึงหันมามองตลาด mass และเริ่มคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และคำตอบที่ออกมาคือ “ประตู” เพราะทุกบ้านไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต้องมีประตู 


    แต่จะทำอย่างไรให้ประตูนี้มีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดได้ และประสบการณ์การทำ built in ที่ผ่านมาก็บอกเสมอว่าการจะทำประตูสักบานไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากต้องมีข้อควรระวังและขั้นตอนต่างๆ มากมาย จึงมองเห็นโอกาสว่า ทำไมเราจึงไม่ทำประตูพร้อมวงกบสำเร็จรูปที่ติดตั้งได้ง่ายๆ ล่ะ? ด้วยเหตุนี้ นวัตกรรมประตูพร้อมวงกบจึงเกิดขึ้นและผ่านการรับรองจากคูปองนวัตกรรม โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ 


    รุ่งโรจน์ กล่าวถึงการเข้าร่วมหลักสูตรอบรม Next Step NEC 2017 ว่า สื่อโซเชียลมีเดียต้องมีการพัฒนาอีกมาก อีกทั้งฟูลเฮาส์ พลัส เองก็มีสื่อโซเชียลมีเดียครบทุกแพลทฟอร์ม แต่ปัญหาคือการขาดความชำนาญในด้านการตลาดบนเฟสบุ๊ค หลักสูตรอบรมนี้จึงเป็นคำตอบ นอกจากนี้การเข้าร่วม Next Step NEC 2017 ยังทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของการทำการตลาดบนวีดีโอและคำว่า Native Present ที่เป็นเทคนิคว่าเราจะขายของอย่างไรให้เหมือนไม่ขาย และหากเขาไม่ได้มาเข้าร่วมในวันนี้ เขาก็คงไม่มีทางสลัดแนวคิดเดิมๆ เพื่อหาทางพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้ 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี



 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน