Text : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์
ขนมหวานอย่าง “เค้ก” กลายเป็นสัญลักษณ์ในการส่งความสุขถึงกันในเทศกาลต่าง ๆ ที่คนทั่วโลกต่างยอมรับ แต่ที่นิวยอร์กมีธุรกิจใหม่ล่าสุดเพิ่งจะแจ้งเกิด เป็นธุรกิจเบเกอรีโฮมเมดที่รับทำเค้กเพื่อส่งไปให้คนที่ลูกค้าไม่ชอบ แคท เธค สาวนิวยอร์กที่อาศัยในย่านบรูคลินได้แรงบันดาลใจจากการเห็นบรรดาเกรียนคีย์บอร์ดแสดงความเห็นแย่ๆ เกี่ยวกับดอลลี่ พาร์ตัน นักร้องนักแสดงชื่อดังรุ่นเก่าของอเมริกา โดยใช้คำพูดหยาบคาย แคทรู้สึกไม่ชอบใจอย่างมาก
ท่ามกลางความหงุดหงิดนี้ ไอเดียธุรกิจกลับบรรเจิด เธอคิดว่าต้องมีคนรู้สึกแบบเธอและอยากแสดงออกให้เจ้าของคอมเมนต์เหล่านั้นรู้ว่ามันไม่โอเค ด้วยเหตุนี้เธอจึงเปิดเว็บไซต์ www.trollcakes.com ขึ้นมาเพื่อทำเค้ก และตกแต่งหน้าเค้กด้วยคำพูดแย่ ๆ ที่เลือกมาจากการแสดงความเห็นบนอินเตอร์เน็ตหรือโซเชี่ยลมีเดีย แล้วส่งกลับไปให้เจ้าของคอมเมนต์ จุดประสงค์เพื่อให้คน ๆ นั้นเข้าใจว่าจะรู้สึกยังไงเมื่อมีคนพ่นถ้อยคำหยาบคายใส่ หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นการโยนคำพูดที่ไม่ดีกลับไปยังเจ้าตัว
สำหรับขั้นตอนการส่งเค้ก เริ่มจากเข้าไปที่เว็บไซต์ กอปปี้ถ้อยคำที่ต้องการแล้วสั่งซื้อ สนนราคาเค้กอยู่ที่ก้อนละ 35 เหรียญสำหรับลูกค้าที่มีที่อยู่สำหรับจัดส่งเรียบร้อย แต่ถ้าไม่ทราบที่อยู่ ทาง Troll Cakes สามารถสืบหาที่อยู่คนๆ นั้นให้ แต่ราคาก็จะเพิ่มเป็นก้อนละ 60 เหรียญ ด้านในกล่อง นอกจากเค้กแล้ว จะมีกระดาษแปะถ้อยคำจากต้นฉบับแนบมาด้วย พร้อมข้อความจากผู้ส่งคือประมาณว่า "ขอแสดงความยินดี ความเห็นของคุณบนอินเตอร์เน็ตได้ถูกถ่ายทอดบนเค้กเกรียนๆ ... (ระบุชนิดของเค้ก)"
เค้กที่จัดส่งด้วยความไม่เป็นมิตร ส่วนใหญ่เป็นช้อคโกแลตชิปบราวนี่รสชาติอร่อย และรับส่งทั่วอเมริกา ในนิวยอร์กสามารถส่งถึงผู้รับทันที 1 วันหลังการสั่งซื้อ นอกจากนั้น ทาง Troll Cakes ยังรับทำเค้กแต่งหน้าด้วยทวีตของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แล้วส่งไปทำเนียบขาวอีกด้วย หลังจากเปิดตัวไม่นาน แคท เธคก็มีลูกค้ามาใช้บริการจำนวนหนึ่ง ไม่เพียงเค้กที่รับออร์เดอร์มาจะส่งไปยังเหล่าเกรียนคีบอร์ด ช่วงหลังลูกค้ายังนิยมสั่งเค้กพร้อมข้อความกวนๆ เพื่อส่งให้มิตรสหาย เจ้าของเบเกอรีโฮมเมดแนวๆ เจ้านี้บอกธุรกิจของเธออาจจะไม่ได้ทำรายได้เป็นกอบเป็นกำแต่ก็ถือว่าเป็นการนำเสนอทางเลือกในตลาดเฉพาะกลุ่ม
ที่มา www.trollcakes.com
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
RECCOMMEND: ENTREPRENEUR
ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว
เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย
เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน