​เปิดกลยุทธ์เด็ด UberEats ปาดหน้าเจ้าตลาด มัดใจลูกค้าชาวออสซี่



TEXT : วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์



    จากประสบการณ์ที่เคยทำงานพาร์ทไทม์ที่ร้านอาหารออสเตรเลีย การสั่งอาหารตามร้านแล้วมีบริการส่งอาหารถึงบ้านลูกค้าไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ ร้านอาหารจำนวนมากจะจ้างพนักงานคนหนึ่งทำหน้าที่ส่งอาหารโดยเฉพาะ เราเรียกงานนี้ว่า “ส่งโฮม” ซึ่งย่อมาจาก home delivery ถ้าเป็นร้านไทย บริการนี้มักมีเฉพาะตอนเย็น คนส่งโฮมจะได้ค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือเหมาจ่ายแล้วแต่ตกลง และจะได้รายได้เพิ่มจากออร์เดอร์ที่ไปส่ง ออร์เดอร์ละประมาณ 2 เหรียญ ยังไม่รวมค่าทิปที่ได้จากลูกค้าอีกต่างหาก  


     ธุรกิจ food home delivery ในออสเตรเลียมีผู้เล่นอยู่แล้วหลายราย เช่น Foodora และ Deliveroo ซึ่งเน้นร้านประเภท take away เมื่อลูกค้าสั่งอาหาร Foodora และ Deliveroo จะไปรับอาหารและนำส่งให้ลูกค้าเอง ขณะที่ Menulog และ DeliveryHero ไม่ได้บริการส่งอาหารเองแต่ทำหน้าที่เหมือนเป็นแหล่งรวมร้านอาหารที่เวลาลูกค้าเข้าไปเลือกสั่ง Menulog และ DeliveryHero จะเป็นตัวกลางส่งต่อออร์เดอร์ไปยังร้านอีกที และทางร้านจะจัดส่งเอง


    Menulog เคยทำสำรวจความเห็นของผู้บริโภคในออสเตรเลียพบว่าร้อยละ 51 ของคนออสซี่นิยมสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านเพราะไม่อยากออกจากบ้าน ขณะที่ร้อยละ 54 ขี้เกียจเก็บกวาดล้างอุปกรณ์ในครัว รวมถึงจานชามเมื่อรับประทานเสร็จ การสั่งอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดี ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่นิยมทานอาหารจากร้าน บวกกับการเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมทำให้มีร้านอาหารนานาชาติให้บริการอยู่ทั่วไป ธุรกิจ food home delivery สร้างรายได้ถึง 12,000 ล้านเหรียญเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะเติบโตปีละ 2.3 เปอร์เซ็นต์ ไปอีก 5 ปีข้างหน้า จึงไม่แปลกที่ UberEats จะขอเข้ามามีเอี่ยวในตลาดแห่งนี้ด้วย


     UberEats เปิดให้บริการที่ออสเตรเลียครั้งแรกเมื่อเดือนเม.ย.ปีที่แล้ว โดยมุ่งไปที่เมลเบิร์นก่อนเนื่องจากได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงแห่งอาหารของโลก เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องเพราะดีมานด์ร้านอาหารดังนั้นสูงมาก ขณะที่ชาวเมลเบิร์นเองก็มีวัฒนธรรมและไลฟ์สไตล์แบบชอบทานอาหารนอกบ้าน แต่ปัญหาคือบางร้านลูกค้าล้นหลามทำให้ต้องเสียเวลารอที่นั่งนาน หลายคนจึงเลือกสั่งอาหารมาทานที่บ้าน ทำให้โอกาสทางธุรกิจจัดส่งอาหารเปิดกว้างขึ้น 


     นอกจากนั้น การสั่งอาหารผ่าน UberEats ยังสะดวกเพราะสามารถสั่งผ่านแอพพลิเคชั่น และจ่ายเงินออนไลน์ได้ เรียกว่าบริการ UberEats ได้รับการตอบรับดี ภายในเวลาไม่ถึงปีก็ขยายบริการไปยังเมืองอื่นในออสเตรเลีย รวมถึง ซิดนีย์ เพิร์ธ โกลด์โคสต์ บริสเบรน แอดเลด สงสัยไหมว่า ออสเตรเลียเองก็มี food delivery เจ้าอื่นยึดหัวหากอยู่แล้ว อะไรที่ทำให้ UberEats สามารถเจาะเข้าไปจนชิงส่วนแบ่งตลาดได้ ว่ากันว่า 3 กลยุทธ์ที่มัดใจลูกค้าประกอบด้วย


     การรับรู้/การจดจำแบรนด์ หรือ brand awareness แม้สินค้าของ UberEats จะไม่ใช่อาหาร แต่เมื่อพูดถึงอาหาร ลูกค้าจะนึกถึงบริการของ UberEats เนื่องจากมีเครือข่ายคนขับรถจำนวนหนึ่งทำให้สามารถกระจายไปรับอาหารตามร้านและส่งถึงมือลูกค้าอย่างรวดเร็วภายในไม่เกินครึ่งชั่วโมง เทียบกับเจ้าอื่นที่ระยะเวลาในการส่งอาจคาดการณ์ไม่ได้โดยเฉพาะบางคืนที่ร้านยุ่งมากแล้วมีคนส่งอาหารไม่เพียงพอ ด้วยเหตุนี้ ลูกค้าจึงประทับใจ  เมื่อนึกถึงการสั่งอาหารนอกบ้าน จะนึกถึง UberEats เป็นการตอกย้ำแบรนด์อย่างดี

    
    ความเอนเอียงที่จะเชื่อในแบรนด์ เนื่องจากชื่อของ UberEats ผูกติดกับ Uber ที่ให้บริการแท็กซี่ผ่านแอพแบบพรีเมี่ยมทำให้ผู้บริโภคเชื่อว่าบริการของ UberEats ย่อมยอดเยี่ยมไม่แตกต่างกัน ทางจิตวิทยาเรียกพฤติการณ์แบบนี้ว่า Halo Effect ซึ่งหมายถึงกระบวนการคิดเชิงลำเอียงทำให้เกิดความเอนเอียง นั่นคือคุณภาพและบริการที่ดีของ Uber ได้เผื่อแผ่มาถึง UberEats ด้วย ผู้บริโภคมีแนวโน้มฝังใจว่าดีทั้งที่ในความเป็นจริงอาจดีจริงหรือไม่ดีก็ได้


     เทคนิคการเลือกร้านอาหาร คอนเซปต์ของ UberEats คือการรวบรวม ร้านอาหารที่ดีที่สุดมาไว้ที่เดียว วิธีเลือกร้านคือมีความหลากหลาย ตรงใจและถูกจริตกับผู้บริโภคทุกกลุ่มทุกวัย เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการเข้ามาที่เดียว ก็มีร้านอาหารให้เลือกละลานตา 



อ้างอิง
www.forbes.com/sites/nguyenjames/2017/03/16/why-ubereats-is-changing-australias-food-scene/#4dd401715103
www.theaustralian.com.au/business/ubereats-turning-food-delivery-business-upside-down/news-story/c596a7f48df28a34db8e38fd4d175061



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เจาะกระบวนท่าท้าดวล ส่ง “อบอวล” สู้ศึกตลาดยาดม ปรุงกลิ่นหอมแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจากมือแพทย์แผนไทยประยุกต์สุดล้ำ!

“อบอวล” แบรนด์ยาดมสุดชิค ที่กำเนิดจากความคิดของแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ ไม่ใช่แค่สดชื่น แต่ต้องถึงกับร้องว่า “มีกลิ่นนี้ด้วยหรือฟะ!” อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้ “อบอวล” ที่มีอายุกว่า 3 ปี โดดเด่นไม่แพ้ใคร..ลองไปกะเทาะดูเนื้อในของธุรกิจกัน

ทำไม Live Exchange จึงเป็นตลาดทุนที่ SME อยากโตต้องรู้จัก ฟัง ประพันธ์ เจริญประวัติ

พูดคุยกับบ "ประพันธ์ เจริญประวัติ" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ MAI และ Live Exchange ที่จะบอกเล่าว่าทำไม การระดมทุนคือกลไกสำคัญที่จะพา SME ไปสู่ความสำเร็จ และ Live Exchange คือบันไดขั้นแรกที่ SME ทุกขนาดต้องรู้จัก

 The 3rd daughter วาดฝันให้เป็นจริง จากสติกเกอร์สู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ครองใจคนกว่า 10 ปี

ชวนไปดูเส้นทางการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากความหลงใหลในศิลปะจนพัฒนาแบรนด์ The 3rd daughter เข้าไปอยู่ในชีวิตของใครหลายคนผ่านสารพัดของกระจุกกระจิกที่แสนน่ารักมาได้มากกว่า 10 ปี! ของตาต้า-ลดาพร ทรัพย์ภคกุล