ความต่างของอาลีบาบากับอเมซอน...ในสายตาแจ็ค หม่า

 
เรื่อง  วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์
 
                รูดม่านปิดฉากกันไปแล้วเมื่อสัปดาห์ก่อนกับการประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ เป็นการประชุมระดับโลกที่มีผู้นำประเทศและนักธุรกิจกว่า 2,500 คนจาก 90 ประเทศเข้าร่วม แน่นอนว่าแจ็ค หม่า ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอาลีบาบา  ยักษ์ใหญ่อี-คอมเมิร์ซของจีนเก็ได้รับเชิญด้วย ผู้บริหารอาลีบาบาเพิ่งตกเป็นข่าวกระแสหลักหลังจากเข้าพบโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯเพื่อหารือเรื่องทั่วไปและแจ็ค หม่าได้รับปากว่าจะช่วยสร้างงาน 1 ล้านตำแหน่งในสหรัฐฯ

                ในการประชุมที่ดาวอส แจ็คหม่าให้สัมภาษณ์สถานีข่าวซีเอ็นบีซี เขาแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการสร้างธุรกิจ มีตอนหนึ่งประธานอาลีบาบาพูดถึงคนชอบเรียกอาลีบาบาว่าเป็นอเมซอนเวอร์ชั่นจีน แต่จริงแล้วบริษัทอี-คอมเมิร์ซทั้งสองแห่งนี้แตกต่างกัน อเมซอนเปรียบดังอาณาจักรใหญ่ที่ควบคุมทุกกิจกรรมไว้ในมือ แต่ปรัชญาของอาลีบาบาคือความมุ่งมั่นที่จะสร้างนิเวศน์ทางธุรกิจ (Business ecosystem-การเชื่อมโยงและบูรณาการผลิตภัณฑ์ บริการและระบบต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกันโดยที่ลูกค้าไม่ต้องจากระบบนิเวศน์ของบริษัทก็จะได้รับทุกอย่างตามต้องการ)



                สิ่งที่อาลีบาบาเน้นคือการมอบอำนาจผู้ประกอบการให้เข้ามาจำหน่าย เข้ามาให้บริการผ่านเว็บไซต์อาลีบาบา แจ็ค หม่าเชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่มีอยู่ หุ้นส่วนของอาลีบาบาซึ่งก็คือผู้ค้ารายย่อยกว่า 10 ล้านรายจะสามารถแข่งกับไมโครซอฟต์หรือไอบีเอ็ม เพราะเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตสามารถทำให้ทุกบริษัทกลายเป็นอเมซอนได้ ปัจจุบัน อาลีบาบามีพนักงานประจำราว 45,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในจีน ขณะที่อเมซอนมีพนักงานเกือบ 2.4 แสนคน แจ็ค หม่าบอกว่าถ้าจะจ้างคนมาส่งของให้อาลีบาบา ต้องใช้มากถึง 5 ล้านคน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่อาลีบาบาจะจ้างคนมากขนาดนั้น ทางเดียวที่จะทำได้คือการดึงบริษัทโลจิสติกเข้ามาเสริมทัพ เมื่อเข้ามาแล้วต้องมั่นใจว่าบริษัทเหล่านั้นทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถทำเงิน และจ้างคนเพิ่มได้

                เมื่อถูกถามว่าระหว่างอเมซอนกับอาลีบาบาใครดำเนินกลยุทธ์ได้ถูกทิศทางกว่ากัน แจ็ค หม่าให้คำตอบเขาคาดหวังว่าจะถูกทั้งสองทาง การที่อาลีบาบาไม่ได้ดำเนินรอยตามอเมซอนหรืออีเบย์ก็ไม่ใช่เรื่องผิด โลกนี้ไม่ควรมีรูปแบบที่ถูกต้องเพียงรูปแบบเดียว ไม่อย่างนั้นก็คงจะน่าเบื่อเกินไป ส่วนผู้ประกอบการที่ดำเนินรอยตามรูปแบบไหนก็ควรเชื่อมั่นในรูปแบบนั้น ตัวแจ็ค หม่านั้นมั่นใจในสิ่งที่ทำอยู่แล้ว

                เมื่อคราวที่เข้าพบโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ แจ็ค หม่าพูดถึงการสนับสนุนการสร้างงาน 1 ล้านตำแหน่งในสหรัฐฯ ลำพังเขาตัวคนเดียวคงทำไม่ได้ แต่การสร้างงานที่ว่าเกิดขึ้นได้โดยการเปิดให้ผู้ประกอบการสหรัฐฯเข้ามาใช้พื้นที่บนเว็บอาลีบาบาเพื่อจำหน่ายสินค้า และการเปิดกว้างให้ผู้ค้ารายย่อยจากสหรัฐฯจะเป็นเรื่องง่าย นั่นหมายถึงสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯต้องไม่มี กำแพงภาษีต้องไม่เป็นอุปสรรค ว่าแต่สหรัฐฯจะยอมรับเงื่อนไขนี้หรือไม่ ต้องรอดูต่อไป 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน