“อิจิรัน ราเมง”ขายที่ความแปลก

 




เรื่อง วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

    กฏเหล็กอย่างหนึ่งของการขายไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการคือ differentiation หรือการสร้างความแตกต่าง เชื่อว่าหลายคนที่ชอบท่องเที่ยวญี่ปุ่น คงจะเคยได้ยินชื่อร้านราเมงที่ชื่อ “Ichiran Ramen” กันมาบ้าง เนื่องจากเป็นหนึ่งในร้านราเมงที่มีชื่อเสียงที่สุดของญี่ปุ่น เรียกว่าเป็นปรากฏการณ์ขนาดที่ลูกค้าต้องต่อคิวยาวกว่าจะได้เข้าไปลิ้มรสราเมงในตำนาน คนไทยที่คุ้นเคยราเมงเจ้านี้จะเรียก “ร้านราเมงข้อสอบ”ฉายานี้มีที่มา


    ร้านนี้เปิดบริการเมื่อปี 2503 หรือ 56 ปีก่อนที่เมืองฮากาตะ จังหวัดฟุกุโอกะ ได้รับความนิยมอย่างมาก จนขยายสาขาไปทั่วญี่ปุ่นกว่า 50 สาขา และในต่างประเทศ อาทิ ฮ่องกง นิวยอร์ก หากถามความเห็นคนญี่ปุ่น อิจิรันอาจจะไม่ใช่ร้านดีที่สุด แต่สำหรับนักท่องเที่ยวหรือชาวต่างชาติ ถือเป็นร้านที่ต้องแวะชิม ถ้าไม่ชิมถือว่าพลาด ร้านราเมงในญี่ปุ่นมีนับพันนับหมื่นแห่ง แต่อะไรที่ที่ทำให้ราเมงร้านนี้เป็นที่ถูกอกถูกใจลูกค้ายิ่งนัก ทั้งที่สินค้าที่จำหน่ายก็มีแค่ราเมงเพียงอย่างเดียว


    มาดูกันถึงวิธีการสั่ง ก่อนอื่นคือกดใบสั่งซื้อพร้อมจ่ายเงินที่ตู้หน้าร้าน เดินเข้ามานั่งที่โต๊ะที่มีลักษณะคล้ายคอกเล็ก ๆ เรียงต่อกันยาว ในแต่ละช่องจะมีกระดาษให้เราวงรสชาติและส่วนผสมที่ต้องการ มีให้เลือก 7 ข้อ และมีให้เลือกพิเศษ เช่น เพิ่มไข่ต้ม เพิ่มหมู เพิ่มเส้น เป็นต้น เมื่อวงเสร็จ วางกระดาษไว้ พนักงานจะมาเก็บและปรุงตามรายการที่สั่ง พร้อมนำมาเสิร์ฟ


    จุดขายของอิจิรัน ราเมงคือความพิเศษไม่เหมือนใคร สิ่งแรกที่เห็นคือโต๊ะที่ให้ลูกค้านั่งมีลักษณะช่องของใครช่องของมัน แยกเป็นส่วนตัว เหมือนนั่งทำข้อสอบ จึงเป็นที่มาของคำว่าราเมงข้อสอบ ถ้ามาเป็นกลุ่ม ก็จะไม่สามารถคุยกันได้ เหตุผลที่ทางร้านเลือกใช้โต๊ะแบบนี้ให้ลูกค้าได้มีสมาธิและดื่มด่ำกับรสชาติอาหาร 


    จุดขายที่สองคือการนำระบบ customization มาใช้ ความจริงระบบแบบนี้บ้านเราก็มี ใช้กันเกร่อตามร้านก๋วยเตี๋ยว และร้านอาหารตามสั่ง เหมือนที่เราตะโกนสั่ง เล็ก น้ำ ชิ้น สด ไม่งอก นี่คือการ customize อย่างหนึ่ง แต่ที่ร้านอิจิรัน ราเมงordering sheet หรือกระดาษให้ลูกค้าเลือกสั่งตามที่ชอบนั้นมีความละเอียดละเมียดละไมมากกว่าเยอะ ตั้งแต่ชนิดของเส้น (เด้งมาก เด้ง ปกติ นุ่ม นุ่มมาก) ความเข้มข้นของซุป (อ่อน ปกติ เข้มข้น) ความชุ่มของน้ำมัน ปริมาณกระเทียมที่ต้องการ ความเผ็ดของซ้อส ไปจนถึงต้นหอมว่าใส่หรือไม่ใส่ ถ้าใส่ต้องการแบบซอยหนาหรือบาง


    จุดขายสุดท้ายคือรสชาติของอาหาร อิจิรันราเมงจะมีซ้อสแดงที่ผสมเครื่องเทศ 30 ชนิด เคี่ยวทั้งวันทั้งคืนจนได้ที่ เป็นเครื่องชูรส ส่วนเส้นเป็นเส้นสดทำเองจากแป้งชนิดพิเศษที่ใช้เทคนิคเฉพาะให้ได้เส้นราเมงที่ลื่นคล่องคอ น้ำซุปเป็นซุปทงโคะสึหรือซุปจากกระดูกหมูที่มีเคล็ดลับในการเคี่ยวแล้วไม่คาว เมื่อนำมารวมกันจึงเกิดความอร่อยลงตัวในราเมงชามหนึ่ง


    แต่จะว่าไป อันเรื่องของรสชาตินั้น เป็น personal preference แต่ละคนอาจชอบไม่เหมือนกัน แต่คิดว่าระบบการให้บริการของร้าน (จัดโต๊ะเป็นคอก อารมณ์คล้าย ๆ กำลังทำข้อสอบ คุยกันไม่ได้) เป็นความต่างที่ทำให้เกิดการบอกกันปากต่อปาก เมื่อบวกกับรสชาติได้มาตรฐานระดับหนึ่ง จึงทำให้ใครก็อยากไปชิม ไปถ่ายรูปเก๋ ๆ มาโพสต์ลงโซเชี่ยลมีเดีย ประกาศให้รู้ว่าไปลองมาแล้ว ไม่ตกกระแสนะจ๊ะ

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

เจาะกระบวนท่าท้าดวล ส่ง “อบอวล” สู้ศึกตลาดยาดม ปรุงกลิ่นหอมแปลกใหม่ ไม่เหมือนใครจากมือแพทย์แผนไทยประยุกต์สุดล้ำ!

“อบอวล” แบรนด์ยาดมสุดชิค ที่กำเนิดจากความคิดของแพทย์แผนไทยประยุกต์ ที่ ไม่ใช่แค่สดชื่น แต่ต้องถึงกับร้องว่า “มีกลิ่นนี้ด้วยหรือฟะ!” อะไรคือเบื้องหลังที่ทำให้ “อบอวล” ที่มีอายุกว่า 3 ปี โดดเด่นไม่แพ้ใคร..ลองไปกะเทาะดูเนื้อในของธุรกิจกัน

ทำไม Live Exchange จึงเป็นตลาดทุนที่ SME อยากโตต้องรู้จัก ฟัง ประพันธ์ เจริญประวัติ

พูดคุยกับบ "ประพันธ์ เจริญประวัติ" ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ MAI และ Live Exchange ที่จะบอกเล่าว่าทำไม การระดมทุนคือกลไกสำคัญที่จะพา SME ไปสู่ความสำเร็จ และ Live Exchange คือบันไดขั้นแรกที่ SME ทุกขนาดต้องรู้จัก

 The 3rd daughter วาดฝันให้เป็นจริง จากสติกเกอร์สู่แบรนด์ไลฟ์สไตล์ที่ครองใจคนกว่า 10 ปี

ชวนไปดูเส้นทางการทำธุรกิจที่เริ่มต้นจากความหลงใหลในศิลปะจนพัฒนาแบรนด์ The 3rd daughter เข้าไปอยู่ในชีวิตของใครหลายคนผ่านสารพัดของกระจุกกระจิกที่แสนน่ารักมาได้มากกว่า 10 ปี! ของตาต้า-ลดาพร ทรัพย์ภคกุล