Wink ไม่ใช่เครื่องผลิตน้ำดื่ม…แต่ขายธุรกิจน้ำดื่ม

 

 
 
 
 
ในภาวะที่อะไรๆ ก็แข่งขันกันสูงไปเสียหมด แต่มีธุรกิจประเภทหนึ่งที่ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยยังคงไปได้เรื่อยๆ นั่นคือ ธุรกิจอาหาร เพราะปากท้องเป็นสิ่งจำเป็นยังไงคนก็ต้องกินต้องใช้ น้ำดื่มเองเป็นหนึ่งในธุรกิจดังกล่าว แม้ปัจจุบันจะมีการแข่งขันผลิตออกมามากมายหลายยี่ห้อจนนับไม่ถ้วน แต่ยังเป็นสินค้าที่ขายได้ตลอดเวลา และมีช่องทางให้เล่นอีกมาก
 
นี่เองที่เป็นเหตุผลทำให้ ธวัชชัย สุมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท วิ้งค์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการผลิตเครื่องบรรจุน้ำดื่มในรูปแบบต่างๆ มานานกว่าสิบปี คิดปรับเปลี่ยนแนวทางธุรกิจ จากผู้รับจ้างผลิต มาสร้างแบรนด์ของตัวเอง ‘Wink’ พร้อมให้คำปรึกษาสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นธุรกิจน้ำดื่ม ตั้งแต่การวางระบบ จนสามารถประกอบกิจการผลิตน้ำดื่มของตัวเองได้
 
 
 
 
“เราอยู่ในวงการนี้มานาน รับจ้างผลิตมาตลอด จนวันหนึ่งคิดว่าเรามีความพร้อม มีทุกอย่างครบวงจร เราจึงอยากเชตเป็นรูปแบบธุรกิจน้ำดื่มขึ้นมา ไม่ใช่แค่ขายเครื่องจักร แต่ขายธุรกิจผลิตน้ำดื่มเลย ตั้งแต่การออกแบบจัดวางระบบและพื้นที่การใช้งาน มองหาช่องทางการตลาด ให้คำปรึกษาต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถทำธุรกิจผลิตน้ำดื่มของตัวเองขายได้เลย”
 
ธวัชชัยอธิบายขั้นตอนการทำธุรกิจคร่าวๆ ว่ามีอยู่ 2 ส่วน คือ 1. การแปลงน้ำดิบมาเป็นน้ำสะอาด เพื่อดื่ม ซึ่งมีที่มา 2 แหล่ง คือ น้ำประปา บาดาล และ2.การบรรจุด้วยเครื่องจักรในรูปลักษณ์ต่างๆ ทั้งแบบแก้วพลาสติกใส ขวดใส และแบบถัง ซึ่งทางบริษัทสามารถช่วยในเรื่องการออกแบบ ทั้งฉลาก สี และขวดให้ด้วย โดยผู้ที่สนใจนอกจากต้องมีเงินทุนแล้ว ยังต้องมีพื้นที่สำหรับดำเนินกิจการด้วย และที่สำคัญ คือ มุมมองการมองเห็นโอกาสจากธุรกิจนี้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ ยังไงก็ไม่ขาดทุนและไปได้อีกไกล โดยเฉพาะตลาดในชุมชนตามท้องถิ่นต่างๆ สำหรับลูกค้าที่สนใจ ขั้นแรกต้องมาคุยกันก่อน เพื่อหาเป้าหมายและขอบเขตของธุรกิจ 
 
 
 
“ในความเห็นผม ธุรกิจน้ำดื่มเติบโตขึ้นค่อนข้างสูง เวลาไปตามจังหวัดต่างๆ จะมีแบรนด์พื้นที่เยอะ ไปที่ไหนก็มีแต่ละยี่ห้อ แต่ละพื้นที่สามารถทำได้เองเพื่อใช้ในส่วนของอำเภอ ตำบล จังหวัด แทนที่จะรับน้ำจากกรุงเทพฯ ไปอย่างเดียว ไม่ต้องมีค่าขนส่ง ไม่เป็นการลงทุนที่สูงเกินไป ลงได้ตั้งแต่สเกลเล็กๆ ซึ่งขั้นแรกต้องดูก่อนว่าลูกค้ามีความสนใจว่าอยากผลิตน้ำอะไรบ้าง อยากทำน้ำผลิตใส่แก้วใสๆ ที่ใช้งานบวช งานแต่ง งานศพ ตามวัดง่ายๆ หรือผลิตใส่แก้วเป็นยี่ห้อเราเอง เพื่อจำหน่ายในบริเวณถิ่นที่เราอยู่ แล้วเราค่อยมาคำนวณว่าต้องใช้ต้นทุนอะไรเท่าไหร่ยังไง สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับไม่ใช่แค่เครื่องจักรหรือระบบ แต่ได้ที่ปรึกษาช่วยคิดตั้งแต่เริ่มต้น ควรเริ่มธุรกิจยังไง”
 
 
 
 
 
ซึ่งนอกจากจะผลิตขายในยี่ห้อตัวเองเพื่อขายเองแล้ว ยังสามารถหาลูกค้าและรับจ้างผลิตให้กับร้านอาหาร รีสอร์ต และหน่วยงานต่างๆ ในชุมชนได้ด้วย 
 
“นอกจากจะได้ราคาที่ประหยัดกว่าแล้ว เพราะไม่ต้องมีค่าโฆษณา และค่าขนส่งในชุมชนก็ถูก ลูกค้าร้านอาหาร รีสอร์ต หรือหน่วยงานต่างๆ เหล่านั้น ยังได้สิ่งที่เฉพาะสำหรับเขาด้วย แทนที่จะเหมือนกันทุกที่ มีลูกเล่นมากกว่า สามารถสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ของตัวเองได้ โดยเราเองเป็นผู้รับปรึกษา ช่วยออกแบบให้ลูกค้า ซึ่งเป็นเหมือนโรงงานผลิตน้ำเล็กๆ ของเราได้อีกที จุดประสงค์ของเรา คือ เราอยากทำด้วยกันไปนานๆ เริ่มต้นเขาอาจทำยี่ห้อเดียวก่อนเพื่อขาย แต่หลังจากนั้นโอกาสธุรกิจตรงนั้นมา มีคนอยากให้ทำยี่ห้อของตัวเอง เราต้องพัฒนาไปกับเขา ว่าพื้นที่ตรงนั้นต้องการน้ำดื่มในลักษณะไหน ถ้าเขาโต เราก็โตไปด้วย”
 
ขอบคุณภาพจาก www.winkintergroup.com
 
สนใจสามารถเข้าดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.winkintergroup.com
หรือโทรสอบถามได้ที่ 083-096-2168, 083-424-7180 (ผึ้ง)
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน