Local Alike เปิดชุมชนแด่นักล่าประสบการณ์

    ในวันนี้ กระแสของ “Travelism” กำลังหลั่งไหลเข้ามาสู่เมืองไทย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่จะเห็นนักเดินทางฉายเดี่ยว เป็นคู่ หรือกลุ่มเล็กๆ เริ่มมีมากขึ้น ซึ่งถ้าเราลองมาไขถึงพฤติกรรมของ Travelism อย่างละเอียด จะพบว่า พฤติกรรมโดยพื้นฐานของพวกเขา ไม่นิยมเดินทางโดยผ่านกรุ๊ปทัวร์ใดๆ ทั้งสิ้น 

    นั่นเพราะพวกเขามองว่าการเที่ยวแบบอาศัยการซื้อแพ็กเกจต่างๆ นั้น จะทำให้มนต์เสน่ห์ของการเดินทางที่คาดหวังต้องผิดเพี้ยนไป

    และ ณ ขณะนี้ ในด้านธุรกิจก็เองก็เริ่มมีบริการที่เข้ามาตอบโจทย์กลุ่มนักเดินทางเหล่านี้มากขึ้น  โดยสมศักดิ์ บุญคำ” ชายหนุ่มผู้เห็นถึงเทรนด์ของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนก่อนใคร ได้ผุดธุรกิจ Local Alikeหรือแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเป็นแห่งแรกของประเทศไทย 

    ซึ่งลักษณะของการท่องเที่ยวที่เขาตั้งใจทำขึ้นมานั้น หัวใจสำคัญก็อยู่ที่ความตั้งใจให้ชาวบ้านได้รับเงินโดยตรงจากนักท่องเที่ยว โดยที่ไม่ต้องผ่านบริษัททัวร์อย่างที่แล้วมา ซึ่งเงินที่ชาวบ้านได้รับไปก็จะมีส่วนนำไปพัฒนาชุมชนเพื่อให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ตอบโจทย์เหล่า Travelism ยิ่งขึ้น

 


    “ก่อนผมจะเริ่มต้นธุรกิจนี้ขึ้นมา เรามองเห็นโอกาสจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเมืองไทยเฉลี่ยปีละ 22 ล้านคน ซึ่งจะมีนักเดินทางกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ที่ตั้งใจเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวแบบยั่งยืน โดยไม่เน้นเที่ยวในลักษณะช้อป ชิม แชะ อย่างที่แล้วมา”

    “ผมจึงผลักดันธุรกิจ Local Alike โดยมีคอนเซ็ปต์ที่เน้นซึมซับวิถีชีวิตของคนไทย ไม่ว่าจะเป็นการจับปลา เก็บใบชา หรือแม้แต่การเดินและนอนในป่าร่วมกับชุมชนนั้นอย่างแท้จริง ซึ่งถือว่า Unseen และตอบโจทย์ความต้องการของ Travelism เป็นอย่างมาก”

    “ยกตัวอย่างเช่น ชุมชนบ้านสวนป่า จังหวัดเชียงราย ดำเนินการโดยชาวเขาเผ่าอาข่า ซึ่งจะมีกิจกรรมพานักท่องเที่ยวไปเดินป่า ปีนเขา ช่วยกันหาปลาเพื่อมาทำเป็นอาหารกลางวันกินกันในป่า พอตกเย็นก็จะมีกิจกรรมเต้นรำกับน้องอาข่า และเช้าวันต่อมาชาวบ้านก็จะพาไปเรียนรู้วิธีปลูกชา เก็บชา พอตกดึกก็กลางเต็นท์นอนบนไร่ชา ซึ่งนักท่องเที่ยวจะสามารถมองเห็นวิวเชียงรายได้ทั้งเมือง เป็นต้น”

    “ที่สำคัญสุดคือ พวกเขาสามารถมั่นใจได้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่จ่ายไปนั้น จะถึงชุมชนและชาวบ้านมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์เพื่อนำไปพัฒนาชุมชนต่อไป ซึ่งจะไม่เหมือนกับการเดินทางผ่านบริษัททัวร์บางแห่ง ที่ชาวบ้านจะได้รับส่วนแบ่งไม่ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ”
 

    ปัจจุบัน รูปแบบแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวของ Local Alike จะเป็นในลักษณะ Social Enterprise โดยชุมชนที่ต้องการเข้าร่วมจะต้องเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ซึ่งทีมงานของสมศักดิ์จะเป็นเสมือนโค้ชผู้ช่วยฝึกสอน และผลักดันแต่ละหมู่บ้านให้ได้ตามมาตรฐานของสถานที่ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน หากชุมชนไหนที่พร้อมรับนักท่องเที่ยวแล้ว ก็จะนำแพ็กเกจทัวร์ขึ้นแพลตฟอร์มเว็บไซต์ LocalAlike.com

    ถึงแม้การท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะดูเป็นตลาดที่ Niche พอสมควร แต่ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา Local Alike ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ และได้รับ Feedback ที่ดีตลอดมา 

    โดยในท้ายที่สุด สมศักดิ์ยังได้ฝากถึงผู้ประกอบการที่เล็งเห็นโอกาสจากนักท่องเที่ยวกลุ่มดังกล่าว ถ้าหากสนใจที่จะเจาะตลาดกลุ่มนี้ แนวทางการทำธุรกิจในลักษณะ Sharing Economy ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ตอบโจทย์พวกเขาได้เช่นกัน

    แต่สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีคือ ความรักและความชื่นชอบในตัวธุรกิจ เมื่อมีแรงบันดาลใจคอยเป็นกำลังขับเคลื่อนแล้ว การควานหาจุดเด่นเพื่อตอบโจทย์นักเดินทางรุ่นใหม่ ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายที่สร้างรายได้อย่างมหาศาล

www.smethailandclub.com
ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี (SME)

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

tISI แบรนด์แฟชั่นย้อมสีธรรมชาติ ส่วนผสมลงตัวงานคราฟต์ไทยกับดีไซน์ร่วมสมัย ที่ฝันว่าวันหนึ่งจะไปตั้งขายอยู่กลางกรุงปารีส

ปัญหาหนึ่งของงานคราฟต์ไทย ที่ทำให้ไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร แม้จะเป็นงานทรงคุณค่า ก็คือ ไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จริงอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แต่อาจไม่ใช่กับ tISI (ธิซายด์) แบรนด์แฟชั่นไทยน้องใหม่ที่มองว่าไม่จำเป็นต้องอนุรักษ์ หากสิ่งนั้นเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว

สานต่อตำนาน 70 ปี ทายาทรุ่น 3 ปัดฝุ่น รร.แสงทองเฮอริเทจ สู่แลนด์มาร์คใหม่แห่งนครพนม

เพราะความฝันที่จะสานต่อโรงแรมเก่าแก่ "แสงทอง" ที่บรรพบุรุษสร้างขึ้น กรรณิการ์ หนูห่วง ทายาทรุ่นที่ 3 จึงตัดสินใจกลับ จ.นครพนม เพื่อหวังฟื้นฟูโรงแรมที่มีสถาปัตยกรรมโบราณให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของครอบครัว และโจทย์หินมากมาย

วิธีเปลี่ยนไอเดีย “ตัน” เป็น “มันส์” แบบ Matty Benedetto ยอดนักประดิษฐ์จอมกวน  

เพราะคำว่า “ไม่จำเป็น” ≠ “ไม่มีประโยชน์” ชิ้นงานแสนฮาของ Matty Benedetto “อัจฉริยะผู้ชั่วร้าย” จึงเป็นตัวอย่างชั้นดีให้กับผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในอาการไอเดียตัน คิดอยากทำผลิตภัณฑ์ใหม่หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์เดิมได้ลองมาเรียนรู้กัน