ความชมชอบในเครื่องดื่มชนิดนี้ทำให้เกิดนวัตกรรมอันนำไปสู่การกำเนิดกาแฟกระป๋องรุ่นแรกๆ ของโลก และกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ข้อมูลระบุตลาดกาแฟพร้อมดื่มญี่ปุ่นปี 2019 มีมูลค่าสูงถึง 905,000 ล้านเยนหรือราว 2.75 แสนล้านบาท
หากย้อนไปดูปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกของการแพร่ะระบาด ตัวเลขผลประกอบการของ SME มีอัตราลดลงถึง -9.1 เปอร์เซ็นต์ คำถามก็คือ แล้วสถานการณ์ปีนี้ล่ะ จะเป็นอย่างไร? นี่คือความเสี่ยงที่ SME ต้องเผชิญอย่างต่อเนื่องหลังจากนี้ 3 เรื่องหลักๆ
ธุรกิจหนึ่งที่เสียหายจากการแพร่ของไวรัสคือร้านตัดผมและร้านเสริมสวยที่โดยมากเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เรียกง่ายๆ คือ SME นั่นเอง ไปดูสถานการณ์ที่อินเดียกันว่าเจ้าของร้านซาลอนทั้งหลายรับมืออย่างไร
แม้จะเกิดในครอบครัวที่ยากจน ลูกชาวนาที่ชื่อว่า “จาง กงหยวน” ดิ้นรนก่อตั้งธุรกิจผลิตรองเท้าของตัวเอง จนกระทั่งในเวลานี้เขาได้กลายบุคคลที่รวยเป็นอันดับ 1 ของไต้หวันไปแล้ว
"โชนัน" ร้านข้าวหน้าเนื้อสไตล์ญี่ปุ่นที่เดิมเปิดให้บริการอยู่ในศูนย์การค้าเกือบ 100 % แต่เมื่อเจอวิกฤตโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัวออกผลิตภัณฑ์มากมาย ล่าสุดได้เปิดตัวแบรนด์ตู้ขายอาหารอัตโนมัติของตัวเองขึ้นมาในชื่อ “ตู้กับข้าว Cloud Kitchen”
นับเป็นเวลาเกือบ 2 ปีที่ธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะขนาดเล็กกลางใหญ่ล้วนโดนพิษโควิด-19 เล่นงาน มีธุรกิจจำนวนไม่น้อยที่ต้องปิดตัว แต่ก็ยังมี ‘เหล่าผู้รอดชีวิต’ จากวิกฤตครั้งนี้ได้ แล้วกลยุทธ์อะไรที่พาให้พวกเขารอด!
ทำไมบางบริษัทถึงโตได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่บางธุรกิจดูเหมือนจะอยู่กับที่ มีสินค้าเหมือนเดิม สาขาเท่าเดิม ไม่ได้แตกต่างไปจากหลายปีที่แล้ว และรู้สึกว่ามันถึงขีดจำกัดของความเป็นไปได้แล้ว ลองมาหาวิธีโตกันดีกว่า
ในตลาดลูกอมลูกกวาดมีการแข่งขันสูงมาก Nicko Jeep จึงเริ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะมากขึ้น เป็นที่มาของการสร้างลูกอมสำหรับนักเดินป่า นักกีฬา ผู้ชอบออกกำลังกาย กลายเป็นลูกอมแปลกใหม่ไม่ซ้ำใครและส่งขายไปทั่วโลก
เปลี่ยนของดีใกล้ตัวเป็นธุรกิจทำเงิน “กาแฟวิเชียรมาศ” อาราบิก้าพันธุ์ไทย ทำให้คอกาแฟกลับมาซื้อซ้ำ 90%
เส้นทางการปลุกปั้น “กาแฟวิเชียรมาศ” อาราบิก้า พันธุ์ไทย ของดีจากภูมิลำเนาในเชียงใหม่ที่ได้ทั้งเครื่องหมาย GI และมีรางวัลระดับประเทศการันตี เพื่อให้คอกาแฟทั่วโลกต้องรู้จัก ไม่ต่างจากแมววิเชียรมาศที่เคยประกาศศักดามาแล้ว
ตั้งแต่ปี 2563 สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการเติบโตขึ้นมากเพราะความต้องการของผู้บริโภคในช่วงโควิด-19 แต่เอาเข้าจริงบริษัทเหล่านี้กลับไม่สามารถสร้างรายได้หรือทำกำไรได้มากเท่าที่คิดเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น
อะไรที่ทำให้รถอีแต๋นยังสามารถครองใจผู้บริโภคได้มาอย่างยาวนานไม่น้อยกว่า 50 ปี นี่คือไอเดียจาก ธนะธัช ตังคะประเสริฐ ทายาทรุ่นที่ 3 ของบริษัท ปราจีนบุรีประเสริฐพานิช ที่เหมือนฮีโร่กลับมาปลดล็อกธุรกิจครอบครัวที่กำลังเงียบเหงาให้กลับมามียอดขายคึกคักอีกครั้ง
ด้วยสูตรไส้และแป้งที่มีเอกลักษณ์เฉพาะไม่เหมือนใคร เปลี่ยนประสบการณ์กินเครปจากรูปแบบเดิมๆ จึงไม่แปลกที่แต่ละวันจะมีลูกค้ารอต่อคิวซื้อ แม้จะต้องขับรถมาไกลๆ หรือจ่ายในราคาชิ้นละเกือบร้อยบาท อะไรคือกลยุทธ์ที่เอาชนะใจลูกค้าได้ของเครปสุดแปลกนี้