จากตู้ กาชาปอง ถึง กล่องสุ่ม ขายแบบไหนถึงมีรายได้ปังในพริบตา

Text: ภัทร เถื่อนศิริ

 

     เป็นกระแสอย่างมากกับกลยุทธ์กล่องสุ่มในปัจจุบัน โดยเฉพาะ กล่องสุ่มของพิมรี่พายที่เป็นกระแสอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กล่องสุ่มราคา 100,000 บาท ที่ไม่ได้บอกสินค้าที่อยู่ข้างใน ไปจนถึงกล่องสุ่มราคา 10,000 บาท ที่ทำยอดขายในเวลาไม่ถึงครึ่งชั่วโมงเป็นหลักหลายสิบล้านถึงร้อยล้านบาทเลยทีเดียว วันนี้เรามาวิเคราะห์กลยุทธ์กล่องสุ่มว่ามีที่มาอย่างไร และ SME อย่างเราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง

    กล่องสุ่ม ก็คือ “ การเสี่ยงดวง” เหล่าเกมเมอร์ทั้งหลายย่อมคุ้นเคยดีกับคำยอดฮิตติดปากที่เรียกกันว่า “กาชา” ซึ่งมาจากคำว่า กาชาปอง (Gachapon) ถ้าใครเคยไปญี่ปุ่นก็จะเห็นตู้กาชาปองอยู่เต็มไปหมด หรือในประเทศไทยเองก็สามารถเห็นตู้นี้ได้เช่นกัน

     จริงๆ แล้วกาชาปอง คือ ตู้หยอดเหรียญชนิดหนึ่ง เมื่อเราหยอดเหรียญเข้าไปในตู้แล้ว ก็จะสุ่มได้ของที่อยู่ในตู้ออกมา ในแต่ละตู้ก็จะมีตัวละคร หรือสิ่งของที่หายาก จะเรียกกันว่า “ของแรร์” Rare  และได้ถูกนำมาใส่เป็นโมเดลเกมในยุคปัจจุบัน ระบบการทำงานของมันจะคล้าย ๆ กันก็คือ เราจะใช้จ่ายเงินจริง เพื่อเปิดกล่องสุ่มไอเทม และได้รับไอเทม ตัวละคร หรือของขวัญ ซึ่งในนั้นก็จะมีไอเทมหายาก ตัวละครหายากอยู่

     โดยที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่ากาชาปองนั้นมีต้นกำเนิดในอเมริกา ปี 1907 บริษัท Adams Gum ที่เป็นบริษัททำตู้หมากฝรั่งหยอดเหรียญ ได้ลองเปลี่ยนจากหมากฝรั่งเป็นกาชาปอง และในปี 1965 ตู้กาชาปองตู้แรกก็ถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่น ณ อาซากุซะ!!

     โดยผู้นำเข้าคือบริษัท PENNY ในช่วงแรกกลุ่มเป้าหมายคือเด็ก กาชาปองมีราคาเพียง 10 เยน เป็นตู้ที่ทำให้เด็กๆ รู้สึกตื่นเต้นทุกครั้งที่ได้หยอด ต่อมาในปี 1977 บริษัทของเล่นญี่ปุ่นชื่อดัง BANDAI ประเทศญี่ปุ่นได้นำเข้ามาสู่ตลาดญี่ปุ่น และขยายกลุ่มตลาดกว้างขึ้นจนมาถึงปัจจุบัน

     ในต่างประเทศเองนั้นก็มีขอกำหนดเรื่องความโปร่งใสของ “กาชา” อยู่ด้วย โดยให้ผู้ให้บริการหรือแบรนด์นั้นจะต้องบอก ความน่าจะเป็นหรือโอกาสความเป็นไปได้ที่จะได้ของแต่ละอย่าง รวมถึงโอกาสที่จะได้ของหายากนั้นๆ ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคว่าจะเสี่ยงสุ่มกับกาชานี้ไหม แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้นโยบายเช่นนี้แต่อย่างใด

     ในประเทศไทยกระแสกล่องสุ่มมีมาซักระยะนึงแล้ว ทั้งกล่องสุ่มที่สั่งของจากต่างประเทศ, กล่องสุ่มอาหารทะเล, กล่องสุ่มหมูกระทะ, กล่องสุ่มผลไม้ กล่องสุ่มหลากหลายอย่างมากมายแต่ยังไม่เป็น Majority หรือเป็นที่พูดถึงในวงกว้างเหมือนกันกล่องสุ่มหนึ่งแสนบาทที่พิมรี่พายทำ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจให้มาตกผลึกกันว่าสิ่งที่ SME สามารถเรียนรู้จากกลยุทธ์กล่องสุ่มได้ นั้นก็คือ

  • Brand Trust ตัวแบรนด์ของเรานั้นจะต้องมีเครดิต มีความน่าเชื่อถือมากเพียงพอ เพราะลูกค้าจะไม่ทราบว่าของในกล่องสุ่มที่ได้ไปนั้น มีสินค้าอะไรบ้างจำนวนเท่าไหร่ การที่ SME จะใช้กลยุทธ์กล่องสุ่มจะต้องมั่นใจว่าตัวแบรนด์มีความน่าเชื่อถือมากพอให้คนตัดสินใจซื้อได้ มิเช่นนั้น กลยุทธ์กล่องสุ่ม อาจไม่สัมฤทธิ์ผล
  • Value Pricing กล่องสุ่มนั้นจะมีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าแบบคุณค่า เนื่องจากลูกค้าไม่ได้ทราบของที่เค้าจะได้รับ ดังนั้นจะไม่สามารถเปรียบเทียบราคา หรือต้นทุนของเราได้เลย ดังนั้น สิ่งที่เราจำเป็นที่ต้องดำเนินการอย่างยิ่งกับกลยุทธ์กล่องสุ่มก็คือ “เราต้องนำเสนอมูลค่าของกล่องสุ่มให้มากกว่าความคาดหวังของลูกค้าให้ได้”
  • Lucky Draw โดยเฉพาะลูกค้าคนไทย มีการเสี่ยงโชคอยู่ในสายเลือดอยู่โดยตลอด ทั้งการลุ้นโชคทุกวันที่ 1 และ 16 ของทุกเดือน และยืนยืนด้วย Top Search ของ Google ที่จะมีการค้นหาเรื่องสลากกินแบ่งอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น กลยุทธ์กล่องสุ่มจะค่อนข้างตรงจริตกับลูกค้าคนไทยค่อนข้างมาก เพราะ คนไทยใช้ชีวิตอยู่กับความหวังมากกว่า
  • FOMO (Fear of Missing Out) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่ใช้หลักจิตวิทยาเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อน และใช้ได้กับทุกตลาดเลยทีเดียว โดยเฉพาะช่วงนี้มีหลายตลาดที่คนจะ FOMO กัน เช่น กลัวที่จะตกเทรนด์กล่องสุ่มพิมรี่พาย ทำให้จะต้องสั่งกล่องสุ่มมาทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วอาจจะไม่ต้องการจริงๆ หรือจะเป็นตลาดคริปโตที่กลัวจะตกเทรนด์กับเหรียญไทยจนปัจจุบันอาจจะติดดอยกันเป็นทิวแถว ดังนั้น เราสามารถประยุกต์การสร้างกระแสให้คนรู้สึก FOMO เข้ากับกลยุทธ์กล่องสุ่มเราได้
  • Content Creator สิ่งสำคัญที่ผมวิเคราะห์จากกรณีศึกษานี้คือ การที่พิมรี่พายเป็นคนสร้างคอนเทนต์ที่เก่ง มีการจัดวางเรื่องราวการถ่ายทอดที่ดี เข้าถึงใจของกลุ่มคนหมู่มาก ทำให้เป็นที่สนใจและเป็นกระแสได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นหาก SME ที่จะนำกลยุทธ์กล่องสุ่มไปใช้ต้องฝึกการเล่าเรื่องให้กลุ่มลูกค้าเกิดปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์อยู่เสมอๆ จะเป็นปัจจัยส่งเสริมให้กลยุทธ์กล่องสุ่มประสบความสำเร็จได้อย่างดี
  • Inventory Management กลยุทธ์กล่องสุ่ม เป็นตัวช่วยการจัดการสต๊อกสินค้าของแบรนด์ได้อย่างนี้ เพราะไม่ใช่สินค้าทุกตัวของเราจะขายได้ดีตลอดเวลา SME จะต้องเผชิญกับสินค้าที่เริ่มไม่หมุน เริ่มค้างสต๊อก กลยุทธ์กล่องสุ่มก็เป็นตัวช่วยชั้นดีที่เราจะเคลียสต๊อกสินค้าที่หมุนช้าไปพร้อมกับสินค้าขายดีเป็นที่ต้องการของตลาดไปพร้อมๆ กัน

 

Ref :

https://www.marumura.com/gachapon/

https://today.line.me/th/v2/article/k3y2eM

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

บทความสมาชิก

4 ความท้าทาย ของธุรกิจโรงแรมรักษ์โลก เมื่อผู้บริโภคยังยึดติดกับความสบาย

เมื่อเทรนด์รักษ์โลกยังคงได้รับความนิยมและเกิดการตื่นตัวในทุกมุมโลก แต่ไม่ใช่ทุกอย่างจะเอื้อให้ธุรกิจก้าวสู่ถนนสีเขียว นี่คือความท้าทายในการปรับตัวรับเทรนด์รักษ์โลกของธุรกิจโรงแรม

ทำไมธุรกิจ Online Travel Agency ในไทย ถึงไม่ประสบความสำเร็จ?

เคยสงสัยกันไหม? ว่าประเทศไทยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามมากมาย มีโรงแรมทั้ง International Hotel Chain และแม้แต่ Local Chain ที่เติบโตไปในระดับโลก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในการสร้าง Platform รับจองห้องพักในรูปแบบ OTA (Online Travel Agency) ของตนเอง

ลูกค้าขอสถานะ Confidential Guest ธุรกิจโรงแรมทำอย่างไร? ปกป้องความลับแขกได้ ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว

โดยปกติแล้วโรงแรมเราจะมีแขกประเภทหนึ่งที่ขอสถานะ Confidential Guest (CFG) ต้องการปกปิดการเข้าพักเป็นความลับทั้งเรื่องห้องพัก กิจกรรมต่างๆ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยและ Privacy ซึ่งหลักๆ เลยก็จะเป็นแขกระดับ VIP หรือ VVIP ในความเป็น CFG ก็มีข้อยกเว้นเหมือนกัน เช่น หมายจับ หมายศาล อันนี้โรงแรมก็ไม่สามารถฝ่าฝืนได้ แต่ก็ต้องตรวจสอบให้ดี